กรณีศึกษา:การดูแลผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจิต


การดูแลผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการ Conferrence case

จากการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และได้มีการ Conferrence case มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยและได้ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนกลับบ้านคือ

1. ทำแบบบันทึกการส่งต่อให้สำนักงานคุมประพฤติติดตามการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตหลังการจำหน่ายโดยการส่งต่อให้ติดตามดูแลเรื่องอาการทางจิตของผู้ป่วย ให้ได้พบจิตแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้าน และรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งต่อญาติให้รับทราบเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปติดซ้ำ

2. ใบส่งต่อการรักษาของแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปให้แพทย์เพื่อการรักษาต่อไป

3. แนบเอกสารจากเภสัชเรื่องการแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน คือ

- ต้องให้คนไข้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ตามแพทย์สั่ง

- ไม่ควรรับประทานยาจิตเวชร่วมกับเหล้า

- ไม่ควรตากแดด หรือถูกแดดจัด เพราะอาจทำให้มีผื่นแพ้ตามผิวหนัง

- ควรรับประทานน้ำมาก ๆและเพิ่มอาหารที่มีกาก ผัก ผลไม้ เพื่อป้องกัน ท้องผูก

- ถ้ามีอาการตาพร่า เห็นภาพซ้อน ปัสสาวะลำบากควรปรึกษาแพทย์

- ถ้ามีอาการผิดปกติหลังรับประทานยาเช่น คอแข็ง เดินตัวเกร็ง ลิ้นแข็ง ให้รีบไปพบแพทย์

- การรับประทานยาจะทำให้มีอาการง่วงซึม ควรระวังเรื่องของการขับรถยนต์ และทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลต่าง ๆอาจจะได้รับอันตราย

หมายเลขบันทึก: 126500เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท