โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ห่วงกำลังใจ นวตกรรมดีเด่นปี 2550


                ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550 ในวันที่ 29-31 สิงหาคม 2550 ที่ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  โรงพยาบาลบ้านหมี่ของเราก็เป็น 1 หน่วยงานที่ส่งนวตกรรมเข้าร่วมประกวดด้วย  ซึ่งในวันนั้นมีผู้ส่งนวตกรรมเข้าประกวดมากมายหลายหน่วยงาน   นวตกรรมของโรงพยาบาลบ้านหมี่  คือ  ห่วงกำลังใจ  ได้รับรางวัลนวตกรรมดีเด่น  ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของเรา  <div style="text-align: center"></div> <p align="center">ห่วงกำลังใจ <div style="text-align: center"></div></p><p align="center">ห่วงกำลังใจ</p><p align="right">จรูญ  จันทร์ทาโล สงฆ์- ศัลยกรรมกระดูก</p><p align="center">บทนำ                </p><p>ผู้ป่วยสงฆ์-ศัลยกรรมกระดูก จำนวนกว่า ร้อยละ 80 ที่ต้องนอนอยู่บนเตียงด้วยโรคกระดูกแขนขาหัก พยาบาลในหอผู้ป่วยต้องยกแขนขาผู้ป่วยเพื่อทำแผลหรือขยับแขนขาให้ และกระตุ้นให้ออกกำลังกาย ซึ่งถ้าผู้ป่วยที่มีร่างกายใหญ่โต พยาบาลที่ยกแขนขาต้องออกแรงมากบางครั้งมีอาการปวดหลังได้ ประกอบกับผู้ป่วยมักนอนนิ่งๆไม่ออกกำลังกาย ถึงแม้จะมีการกระตุ้นให้กำลังใจ เปิดเทปให้ฟัง หรือแม้แต่ส่งไปหน่วยกายภาพบำบัดก็ตาม ซึ่งการส่งไปหน่วยกายภาพบำบัดวันละ 1 2 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียง  22- 23 ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น สนุกกับการออกกำลังกาย และสามารถได้ผ่อนแรงพยาบาลในการยกแขนขาผู้ป่วย ทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานสงฆ์- ศัลยกรรมกระดูกจึงได้ประดิษฐ์ ห่วงกำลังใจขึ้น                </p><p>วัตถุประสงค์  ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ ลดอาการปวดหลังของเจ้าหน้าที่ และเป็นผู้ช่วยทำแผล                </p><p>วิธีดำเนินการ  ประดิษฐ์ห่วงกำลังใจจากไม้แบตบินตันที่ชำรุดแล้ว นำมาพันด้วย Elastic bandage ที่ใช้แล้ว จำนวน 2 อัน นำเชือกยาว 2 เมตร มาผูกกับห่วง 2 อันและใส่ลูกลอกแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย                </p><p>ผลการดำเนินงาน  ผู้ป่วยพึงพอใจในการใช้ห่วงกำลังใจ พยาบาลสามารถใช้ห่วงในการช่วยยกแขนขาผู้ป่วยขณะทำแผล                </p><p>สรุปประโยชน์ที่ได้รับ </p><p>1.        ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายโดยมีทั้งหมด 5 ท่า ท่าที่1. ปั่นจักรยาน ท่าที่2. แกว่างขา ท่าที่3. มือช่วยดึง  ท่าที่4. ชักกะเย่อ ท่าที่5.ยกหลัง</p><p>2.        เป็นผู้ช่วยทำแผล</p><p>3.        ผ่อนแรงให้พยาบาลในการยกแขนขาผู้ป่วย</p><p>งบประมาณที่ใช้ในการทำ 55 บาท   </p>

หมายเลขบันทึก: 125911เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอปรบมือดังๆ ให้กับความตั้งใจใจการสร้างนวตกรรม เพื่อประโยชน์แก่วงการแพทย์ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท