สอนอย่างไรให้ถึงขั้นวิเคราะห์


ขั้นสังเคราะห์ โดยให้นักเรียนเสนอรูปแบบการทำขนมจากของตนเอง ที่ประยุกต์หรือสร้างสรรค์ขึ้นเองในองค์ประกอบต่างๆ

               การคิดวิเคราะห์เป็นการคิดระดับสูง ถ้าโรงเรียนหรือผู้สอนไม่ได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นพื้นฐานให้เด็กได้ฝึกคิดก่อน โอกาสที่จะพัฒนาให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้เห็นทีจะอยาก แม้แต่ความคิดสร้างสรรค์เด็กไทยยังไม่กล้าคิดทั้งๆ ที่ในตัวเด็กมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่ไม่ได้ฝึกและไม่ได้แสดงออกเนื่องจากถูกปิดกันจากผู้ใหญ่ จากครู เพราะฉะนั้นการที่จะให้เด็กคิดเป็นครูต้องปฏิรูป รูปแบบการสอนของตัวเอง ผู้ปกครองต้องปรับตัวให้ทันกับโลกปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกัน แล้วค่อยๆ ฝึกเด็กไปเรื่อยๆ ตั้งแต่การคิดระดับพื้นฐาน แล้วค่อยๆพัฒนาขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆ จะให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้ในทันทีทันใดนั้น เป็นไปได้ยาก ถ้าบรรดาครูกับผู้ปกครองไม่ร่วมมือกัน

                  ขอเสนอตัวอย่างการสอนที่บูรณาการโดยนำเรื่อง การส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น มาเป็นแกนว่า  ครูอาจจะใช้รูปแบบ การสอนแบบโครงงานหรือโครงการที่เคยคุ้นชินก็ได้ อาจให้นักเรียนทำเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคล ขึ้นอยู่กับบริบทนั้นๆ ซึ่งอาจมีขั้นดำเนินการดังนี้

            1. ขั้นวางแผนและการเตรียมการ

               1.1 ให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องโครงงานหรือโครงการที่ครบวงจร

               1.2 กำหนดประเด็นให้นักเรียนเขียนโครงงานหรือโครงการเกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่น โดยกำหนด เป็น

                     หมวดใหญ่ๆ เช่น  ขนม  อาหาร  บริการ  เพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

               1.3 ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่สนใจจากเอกสาร สื่อ และผู้รู้ จนเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี 

               1.4 ครูคอยให้คำปรึกษาในการเขียนโครงงาน/โครงการให้ครบวงจรที่สามารถบูรณาการความรู้จากกลุ่ม

                      สาระต่างๆ จนถึงขั้นวิเคราะห์ /วิจัย ได้

 

            2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

                กรณีตัวอย่างนักเรียนสนใจทำโครงงานเรื่อง ขนมจาก นักเรียนอาจออกแบบสัมภาษณ์(เพราะสำรวจคงทำได้ยาก)และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งประกอบการหลายๆร้าน(กลุ่มตัวอย่าง)ในประเด็นต่างๆดังนี้ 

               2.1 ส่วนผสม เช่น มีส่วนผสมอะไรบ้าง   มีสัดส่วนเท่าไร ส่วนผสมแต่ละอย่างมาจากพืชหรือสารเคมีอะไร ได้สิ่งเหล่านั้นมาจากที่ไหน  เหตุผลที่ใส่ส่วนผสมนั้น คุณค่าทางอาหาร/ทางสมุนไพร ฯลฯ

               2.2 การบรรจุ/การห่อ เช่น มีเทคนิคในการบรรจุ/การห่ออย่างไร ใช้ใบจากขนาดเท่าไร ใบแก่หรือใบอ่อน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แหล่งใบจากอยู่ที่ไหน ฤดูใดที่ใบจากเจริญเต็มที่ วิธีตัดใบจากทำอย่างไร ใช้วัสดุอื่นแทนใบจากได้หรือไม่  ฯลฯ

               2.3 ขั้นตอนการปรุง เช่น มีขั้นตอนอย่างไร ทำไมจึงมีขั้นตอนเช่นนั้น ใช้ความร้อนกี่องศา เตาที่ใช้เป็นลักษณะใด ฯลฯ

               2.4 ต้นทุน/ตลาดและราคาจำหน่าย เช่น ต้นทุนวัสดุ  ต้นทุนด้านแรงงาน  ต้นทุนค่าเสียโอกาส  เวลาทีใช้  ตลาดที่จำหน่าย  รายได้เป็นอย่างไร ราคานี้คิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ฯลฯ 

               2.5 ปัญหาและข้อเสนอแนะ เช่น มีปัญหาอะไร การทำอาชีพนี้คุ้มไหม   ถ้าจะปรับปรุงการทำขนมจากให้ดีขึ้นคิดว่าควรทำอย่างไร ฯลฯ 

 

3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์  มาออกแบบตารางแจกแจงข้อมูล และเฟ้นจำแนกข้อมูลที่ศึกษา แยกเป็นหมวดหมู่ เช่น ส่วนที่เหมือนกัน ส่วนที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ     คุณธรรมด้านอาชีพ ฯลฯ หากข้อมูลใดต้องคำนวณหาค่าสถิติอาจใช้ Program คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น

            4. ขั้นสังเคราะห์ โดยให้นักเรียนเสนอรูปแบบการทำขนมจากของตนเอง ที่ประยุกต์หรือสร้างสรรค์ขึ้นเองในองค์ประกอบต่างๆเช่น  ส่วนผสม  ขั้นตอนการปรุง  การบรรจุหีบห่อ  แหล่งวัสดุ  ต้นทุน  การจำหน่าย ราคา  ตลาด  คุณธรรมจริยธรรมในอาชีพ  เป็นต้น  พร้อมเหตุผลที่เสนอรูปแบบนี้ โดยปรึกษาครู

ผู้สอนด้านอาหาร หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้

            5. ขั้นทดลอง/ลงมือปฏิบัติ โดยให้นักเรียนลงมือทดลอง/ปฎิบัติตามรูปแบบที่สังเคราะห์ไว้ และเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

            6. ขั้นสรุป/ประเมินผลและรายงานผล  โดย นักเรียน

                6.1 ประเมินผลการทดลอง

                6.2 รายงานผลโครงงาน/โครงการและข้อเสนอแนะ

                6.3 ปรับปรุงพัฒนาการทำขนมจากอย่างต่อเนื่อง

            จะเห็นได้ว่าถ้าครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนลงลึกจริงๆเพียงเรื่องเดียว นักเรียนจะได้ฝึกฝนการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ตั้งแต่เด็กโดยไม่รู้ตัว จะได้ทั้งการบูรณาการความรู้จากกลุ่มสาระต่างๆ  ได้ทั้งการคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์ ซึ่งโครงงาน/โครงการนี้นักเรียนอาจใช้เวลาทำ 1 - 2 ปีก็ได้  ดังนั้นหลักสูตรของสถานศึกษาก็ต้องยืดหยุ่น เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาสูงสุดด้วย และถ้าส่งเสริมเช่นนี้ อย่างกว้างขวาง โรงเรียนก็จะมีผลิตภัณฑ์จากนักเรียนเกิดขึ้นมากมาย  ยังมีเรื่องหรือกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมนักเรียนให้สามารถพัฒนาจนถึงขั้นวิจัยทำนองนี้ได้อีกมากมาย  แม้แต่กิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำที่กำลังเป็นที่นิยมขณะนี้ ก็สามารถบูรณาการได้หลายกลุ่มสาระ  ปัจจุบันทราบว่านักเรียนสามารถทำวิจัยทดลองเรื่องนี้จนพบว่า  การทำครีบจรวดขวดน้ำจากบัตรโทรศัพท์วันทูคอลทำให้จรวดพุ่งได้ดีที่สุด  เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนการคิด
หมายเลขบันทึก: 125415เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท