เมื่อลืม Password ของ Root ต้องทำอย่างไร


เมื่อลืม Password ของ Root ต้องทำอย่างไร

เมื่อลืม Password ของ Root ต้องทำอย่างไร

เป็นที่ทราบกันนะครับว่าเมื่อลืม password ของ root หรือ เปลี่ยน password ของ root ผิดผลาดไป จะเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะไม่สามารถที่จะเข้ามาทำการแก้ไขเครื่องได้ ดังนั้นถ้าไม่สามารถเข้า root  อาจจำเป็นต้องล้างลงใหม่กันที่เดียวนะครับ Tip ที่ผมจะบอกนะครับเป็นการ login เข้า root เพื่อเข้าไปเปลี่ยน password นะครับ
 วิธีการง่ายๆ ในการ login เข้า root สามารถทำได้โดยที่ระบบจะไม่ถาม password นั้นง่ายๆ เพียงแต่ส่งค่า parameter single ให้ kernel ก่อนที่จะทำการ  boot kernel เองเท่านั้นละครับ ส่วนวิธีการเป็นอย่างไร จะต้องดูวิธีการส่งค่าของ program  boot loader ที่ใช้อยู่ในเครื่องนั้น ซึ่งผมจะแสดงให้ดูแค่ lilo กับ grub เท่านั้นนะครับ
 สำหรับ lilo นั้นง่ายมากครับเมื่อ  boot เครื่องเราสามารถกด TAB เพื่อดูรายการเมนูที่ใช้ boot ได้นะครับ แล้วเลือกตัวที่เป็น linux ผมสมมุติว่าตั้งไว้ชื่อ linux-2.4.19 นะครับ แล้วส่งค่า parameter ต่อท้ายด้วย single ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วครับดังตัวอย่างข้างล่าง
 linux-2.4.19 single
 ซึ่งจะเห็นว่าถ้าอย่างนี้แล้วบุคคลที่ไม่พึงประสงค์เมื่อเขานั่งอยู่หน้า terminal เขาก็สามารถเปลี่ยน password root ได้นะซิครับ คำตอบคือใช่ครับ ตอนหลังจึงมี  boot loader ออกมาอีกเช่น grub ซึ่งนิยมใช้ในตระกูล redhat ที่สามารถถาม password ก่อนที่จะสามารถส่งค่า parameter ได้นะครับ โดย password จะถูกเข้ารหัส md5 ไว้ใน grub.conf
 ดังนั้นสำหรับ grub แล้วจะต้องกด p เพื่อใส่ password (สำหรับท่านที่ลืม password ตรงนี้ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากมี user อื่นที่มีสิทธิเท่า root เข้าไปแก้ config ของ grub) สำหรับท่านที่ไม่ได้ตั้ง password ของ grub ก็สามารถข้ามไปได้นะครับ เลือก menu ที่ต้องการ กดปุ่ม e เพื่อ edit นะครับ แล้วเลือกไปที่ kernel นะครับกดปุ่ม e อีกครั้งเพื่อ edit ให้เติมข้างหลัง kernel ที่  boot ด้วย parameter single แล้วกำหนด part root ไปยัง partition  harddisk ที่ถูกต้อง ดูตัวอย่างนะครับ
 kernel /boot/linux-2.4.19 single root=/dev/hdb1
 ในตัวอย่างเป็นการบอกว่า root partition อยู่ที่ parttion 2 ของ  HD ตัวที่ 2 แต่ถ้าเป็น HD ตัวที่ 1 partition แรก ก็จะเป็น root=/dev/hda0 เป็นต้นนะครับ สำหรับ HD แบบ SCSI จะใช้เป็น sda sdb sdc คือ HD scsi ตัวที่ 1,2,3 ตัวลำดับอักษรนะครับ
 เมือแก้เสร็จแล้ว ก็สามารถกด ESC เพื่อกลับไปที่ menu edit เพื่อ  boot ต่อได้ การ boot สามารถใช้กด b เพื่อได้ทันทีนะครับ

หมายเลขบันทึก: 123547เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท