10 สุดยอดเมืองรีบร้อน


ผู้เขียนมีประสบการณ์ไปสิงคโปร์ช่วงสั้นๆ 2 ครั้ง เรื่องที่ประทับใจมากคือ แท็กซี่ที่นั่น(จำไม่ได้ว่า เป็นคนเดียวกันหรือเปล่า)จะบ่นเรื่องคนไทยให้ฟังเกือบจะเหมือนกัน...

ผู้เขียนมีประสบการณ์ไปสิงคโปร์ช่วงสั้นๆ 2 ครั้ง เรื่องที่ประทับใจมากคือ แท็กซี่ที่นั่น(จำไม่ได้ว่า เป็นคนเดียวกันหรือเปล่า)จะบ่นเรื่องคนไทยให้ฟังเกือบจะเหมือนกัน... <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ท่าน(คนขับแท็กซี่)บ่นว่า คนไทยที่ไปทำงาน(ก่อสร้าง หรือใช้แรงงาน)ที่นั่นมักจะนัดไปพบปะกันที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในวันหยุด บางทีก็เมา และลงท้ายด้วยการทะเลาะวิวาทกัน</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

 

ผู้เขียนคิดว่า คนไทยที่ไปทำงานต่างบ้านต่างเมืองมีส่วนช่วยชาติ หาเงินตราต่างประเทศเข้าบ้านเข้าเมือง นับเป็นคนดีของบ้านของเมือง ที่ทำผิดพลาดไปบ้างน่าจะเป็นส่วนน้อยเท่านั้น...

ผู้เขียนไม่อยากฟังต่อ เลยชวนคุยเรื่องที่ชาวสิงคโปร์ชื่นชอบแทน นั่นคือ เรื่อง ความเร็ว”...

คนสิงคโปร์ชอบทำอะไรเร็วๆ เช่น ชอบรถขนส่งมวลชนความเร็วสูง ชอบเดินเร็ว ชอบทำอะไรที่ดูดีและมีสาระมากกว่าชอบบันเทิง ชอบคำสอนของขงจื้อ(เน้นขยัน ซื่อสัตย์ กตัญญู) ฯลฯ <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">คราวนี้ท่าน(คนขับแท็กซี่)พอใจกล่าวไปยิ้มไปบอกว่า ที่สิงคโปร์อะไรๆ ก็ต้องเร็วทั้งนั้น</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

 

นิตยสารสรรสาระ ฉบับเดือนกันยายน 2550 ตีพิมพ์ผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญบริทิช เคาน์ซิลว่า คนในเมืองทั่วโลกเดินเร็วขึ้น รีบร้อนขึ้น 10%

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ พบว่า คนที่เคลื่อนไหวเร็วมีแนวโน้มจะเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันสูงกว่าค่าเฉลี่ย

 

ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดเชียร์แอบบันทึกระยะเวลาที่คน 70 คนเดินทางบนทางเท้าที่กว้าง เรียบ โล่ง 18 เมตรในเมือง 32 เมือง

ผลการศึกษาพบว่า สิงคโปร์เป็นเมืองที่คนรีบร้อนเดินมากที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 10.55 วินาที เร็วกว่าเมื่อต้นทศวรรษ 1990 (.. 2533-2538) 30%

 

ท่านอาจารย์ไวส์แมนกล่าวว่า คนที่รีบเร่งมีแนวโน้มจะใช้เวลากับเพื่อนฝูงน้อยลง ไม่ค่อยออกกำลัง กินอาหารไม่มีประโยชน์ ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ทำให้ความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1: แสดงสุดยอด 10 เมืองติดอันดับความรีบเร่ง คิดจากระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางเท้าพื้นราบ 18 เมตร (ข้อมูลจากนิตยสารสรรสาระ ฉบับกันยายน 2550 หน้า 148)

เมือง ประเทศ วินาที
สิงคโปร์ สิงคโปร์ 10.55
โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก 10.82
มาดริด สเปน 10.89
กว่าวโจว จีน 10.94
ดับลิน ไอร์แลนด์ 11.03
คูริติบา บราซิล 11.13
เบอร์ลิน เยอรมนี 11.16
นิวยอร์ก สหรัฐฯ 12.00
อูเทรคท์ เนเธอร์แลนด์ 12.04
เวียนนา ออสเตรีย 12.06

 

ขอแสดงความยินดีกับพวกเราคนไทยที่ไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของเมืองที่ติดอันดับรีบเร่ง <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">อาจารย์ไวส์แมนแนะนำว่า  คนเราน่าจะลองลดความเครียดได้ด้วยการฟังเพลง พูดคุย ใช้เวลากับเพื่อนฝูง หรือครอบครัวบ้างตามสมควร</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

 

ผู้เขียนขอแนะนำว่า การออกกำลังเป็นประจำ โดยเฉพาะการออกกำลังแบบตะวันออก เช่น ชี่กง(ไทเกก ไทชิ) รำกระบอง(ชีวจิต) โยคะ ฯลฯ การฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจ(ให้ช้าลง)มีส่วนช่วยลดความเครียดได้ครับ

ไม่ว่าผลการศึกษาวิจัยจะเป็นอย่างไร... คนเราก็ปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ คนเรามักจะทำดีได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • ผู้เขียนจำเป็นต้องปิดส่วนแสดงความคิดเห็นไปพลางก่อน เนื่องจากไม่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้
  • ตอนนี้ผู้เขียนต้องขับรถไปขอใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำที่โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ADSL เหมือนกัน แต่เส้นเดียวแบ่งใช้ทั้งโรงพยาบาล) ห่างออกไปคราวละ 7 กิโลเมตร
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                      

</span><ul>

  • ขอขอบพระคุณ > กำหนดก้าวให้ตัวเอง > สุขภาพ > สรรสาระ Reader’s Digest. กันยายน 2550. 09/07. หน้า 148.
  • <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค </li>

  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับการเอื้อเฟื้อทุกสิ่งทุกอย่างในการประชุม km เชียงใหม่ > 13-15 สิงหาคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 30 สิงหาคม 2550.
  • </span> </ul> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 18.0pt" class="MsoNormal">·        นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 28 สิงหาคม 2550.</p></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 123445เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท