คนตานี
saifuddeen Abu Ni-nasreen (سيف ألدين) ibn ni-umar ibn ni-kejik An-nuree

ติดตาม เกาะติด มหาวิทยาลัยที่กำลังออกนอกระบบ


นอกระบบ ดีแค่ไหน ใครกล้ารับประกัน

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ดีอย่างไร ใครได้ประโยชน์ ประชาชน นักศึกษา หรือนายทุน                                                    

 หรือว่า ความล้าช้าในการบริหาร กับความเสียหาย และชิบหาย ของการศึกษา ที่รัฐกำลังจะให้กับประชาชนผู้ยากไร้ที่ไม่มีโอกาส เหมือนคนอื่นๆ ที่โอกาส จะเข้ามาในระบบการศึกษา ส่งผลต่อ มาถึงการกู้เงิน การยิบยืม เงิน เพื่อให้เข้าได้การศึกษา นี้หรือการศึกษาที่จะให้โอกาส อย่างจริง (จัง) เราจะต้องติดตามความเคลื่อนไหว และสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 123272เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สนช.เห็นชอบ สจพ. ออกนอกระบบ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2550 16:16 น.
       ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติ 114 ต่อ 1 เสียงให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ม.นอกระบบ ว่าด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) ผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 ไปอย่างราบรื่น
        โดยนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันถึงความเป็นธรรม และการบริหารจัดการที่พร้อมให้สิทธิและโอกาสนักศึกษาอย่างเท่าเทียม
        สำหรับกฎหมายมหาวิทยาลัยนอกระบบในขณะนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังค้างการพิจารณาของ สนช. คือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000101830

 สำหรับกฎหมายมหาวิทยาลัยนอกระบบในขณะนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังค้างการพิจารณาของ สนช. คือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

****  ต่อไปก็อีหลายมหาวิทยาลัย****

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2550 18:15 น.
       ตัวแทนกลุ่มสหพันธ์นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย ปิดถนนสายอู่ทองใน หน้ารัฐสภา และถนนราชวิถี ต่อต้านการนำ ม.ออกนอกระบบ พร้อมกับเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถอนเรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ม.นอกระบบ
       
       วันนี้ (29 ส.ค.) มีการชุมนุมคัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยกลุ่มสหพันธ์นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประมาณ 200 คน มาทำงานปิดกั้นถนนสายอู่ทองในหน้ารัฐสภา และถนนราชวิถี เพื่อเรียกร้องให้ถอดถอนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในรัฐสภา
       
       จากการชุมนุมทำให้การจราจรติดขัดเป็นเวลานาน เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ดุสิต โดยการนำของ พ.ต.อ.ชโลธร ศรีธวัชวงศ์ ผกก.สน.ดุสิต นำกำลังเข้าเจรจากับกลุ่มนักศึกษาให้เปิดถนนเพราะการจราจรติดขัดอย่างมาก แต่นักศึกษาไม่ยอม จึงต้องใช้กำลังเข้าสลายการปิดกั้นถนน จนเกิดการปะทะกันเล็กน้อย พร้อมกับจับแกนนำนักศึกษาที่มาประท้วง ต่อรองขอให้ย้ายจุดชุมนุม เพื่อระบายการจราจรโดยเร็วที่สุด
       
       ส่วนผลการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติ 114 ต่อ 1 เสียงให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ม.นอกระบบ ว่าด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) ผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 ไปอย่างราบรื่น โดย นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันถึงความเป็นธรรม และการบริหารจัดการที่พร้อมให้สิทธิและโอกาสนักศึกษาอย่างเท่าเทียม
       
       สำหรับกฎหมายมหาวิทยาลัยนอกระบบในขณะนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังค้างการพิจารณาของ สนช.คือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10771


จุฬาฯ-ยูนิเซฟเพิ่มศักยภาพท้องถิ่น หนุน"อปท."จัดการศึกษาคุณภาพ



เมื่อวันที่ 5 กันยายน นายพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "สภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลผูกขาดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานถึง 90% ที่เหลือจัดโดยภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อรัฐบาลผูกขาดการจัดการศึกษาทำให้โรงเรียนต่างๆ ไม่เกิดการแข่งขัน ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไม่ดีขึ้น ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระบุชัดเจนว่า โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ขณะที่การจัดการศึกษาโดยเอกชนและ อปท.ส่วนใหญ่ผ่านการประเมิน ดังนั้น ควรจะเปิดให้ อปท.เข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น เพื่อลดการผูกขาดจากรัฐ จะได้เกิดการแข่งขันคุณภาพ ซึ่งตนเชื่อว่า อปท.สามารถจัดการศึกษาได้ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบ

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้บริหาร อปท.มีวิสัยทัศน์และมีทรัพยากร แต่ยังขาดองค์ความรู้ และหลักการจัดการศึกษา ดังนั้น คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมกับองค์กรยูนิเซฟเข้ามาช่วยดูศักยภาพของท้องถิ่นว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อน จุดแข็ง และมีจุดไหนช่วยเสริมได้ เพื่อให้ อปท.มีสิทธิจัดการศึกษามากขึ้น

ด้าน น.ส.เก็จกนก เอื้อวงศ์ คณะทำงานวิจัยเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า จากการวิจัยพบว่า อปท.ตื่นตัวและจัดการศึกษาบางส่วนอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการศึกษาที่ชัดเจน จึงอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมในส่วนนี้

หน้า 26

matichon

 
วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10771

ได้6ว่าที่กก.สภาการศึกษาชุดใหม่ ผู้แทนองค์กรเอกชน-วิชาชีพ-อปท.




เมื่อวันที่ 5 กันยายน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดดำเนินการให้ตัวแทนองค์กรต่างๆ คัดเลือกกันเอง เพื่อร่วมเป็นกรรมการสภาการศึกษาชุดใหม่ โดยในสัดส่วนของกรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน มีผู้ได้รับการเสนอชื่อและมีคุณสมบัติครบถ้วน 127 คน, ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 102 คน และผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 10 คน ซึ่งแต่ละประเภทจะคัดเลือกกันเองให้เหลือ 2 คน เพื่อทดแทนกรรมการเดิมที่หมดวาระลง โดยการดำเนินการคัดเลือกปรากฏว่า กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน ได้แก่ นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และนายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม ตัวแทนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม, กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายนุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายนภดล ทองนพเก้า รองนายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม และกรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ได้แก่ น.ส.พรจันทร์ สุวรรณชาต จากสภาการพยาบาล และ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา สำหรับกรรมการประเภทผู้ทรงคุณวุฒินั้น ผู้บริหารใน 5 องค์กรบริหารหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะสรรหาผู้เหมาะสมจาก 144 คน เหลือ 60 คน ในวันที่ 7 กันยายน เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการ ศธ.คัดเลือกเหลือ 30 คน จากนั้นนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบพร้อมกับรายชื่อกรรมการประเภทอื่นๆ รวม 59 คน ภายในวันที่ 25 กันยายนนี้

หน้า 26

matichon

http://www.cufst.org/

http://bunga.pn.psu.ac.th/news/faculty1.pdf

มหาวิทลัยนอกระบบใคร่เป็นได้ประโยชน์

มหาวิทยาลัยนอกระบบ = นักศึกษา  = อาจารย์ =ประชาชน หรือคนไทยทั้งประเทศ

มหาวิทยาลัยนอกระบบ = นักศึกษา  = อาจารย์ =ประชาชน หรือว่านายทุนทั้งประเทศ

*****น่าคิดและทบทวนบทบาทสำหรับการก้าวเดิน ที่จะเกิดขึ้น เพราะว่าคนที่จะได้รับประโยชน์ นั้น จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือใคร่ และคุ้มค่าที่สุด สำหรับประสบการณ์ของคนไทย ที่มีมาตลอดกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนไทยต้องรับรู้ และรู้สึกว่าเขานั้น ป็นแค่เพี่ยง คน คน หนึ่ง ที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนของผู้นำ ที่ไม่คำตอบ และคำอธิบาย สำหรับการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเลย*****

และนี้คืออีกประสบการณ์ หนึ่ง ของการศึกษาไทย

///****น่าสนใจ นะ และน่าติดตาม//***

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท