ผู้เขียนตั้งใจไว้นานแล้ว ว่าจะเขียนเรื่องนี้เมื่อใกล้วันที่ ๑ กันยายน อันเป็นวันคล้ายครบรอบวันจากไปของสืบ... แต่เพราะประเด็นเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่เป็นเรื่องใหม่และยังมีผู้สนใจน้อย ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่อง การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ควบคู่กันไปด้วย ผู้สนใจสามารถนำมาวิเคราะห์ซ้ำและผสมผสานเป็นประเด็นเดียวกันได้...
ชีวประวัติและรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับสืบ ผู้สนใจอาจค้นหาอ่านในอินเทอร์เน็ตได้ไม่ยาก ดังนั้น ผู้เขียนจะไม่นำมาเล่าโดยละเอียด จะนำเพียงเนื้อหาของเพลง สืบทอดเจตนา ของวงคาราบาวที่ได้บรรยายไว้เท่านั้น... โดยในท่อนแรก ได้บรรยายถึงบุคลิกภาพและตำแหน่งหน้าที่ของเขาไว้ดังนี้....
- ดวงตาของเจ้าลุกโชน เสียงตะโกนของเจ้าก้องไพร
- บัดนี้เจ้านอนทอดกาย จากป่าไปด้วยดวงใจกังวล
- วาจาของเจ้าจริงจัง มีพลังเหมือนดังมีมนต์
- นักสู้ของประชาชน จะมีกี่คนทำได้ดั่งเจ้า
- สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนของกรมป่าไม้
- หัวหน้ารักษาพงไพร จังหวัดอุทัย ณ.ห้วยขาแข้ง
ท่อนต่อมา ได้บรรยายถึงคุณธรรมในด้านการเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานดังต่อไปนี้....
- สองมือเจ้าเคยฟันฝ่า อีกสองขาเจ้าย่างย่ำไป
- ลัดเลาะสุมทุมพุ่มไม้ ตระเวนไพรให้ความคุ้มครอง
- ดูแลสารทุกข์สารสัตว์ ในป่ารกชัดหลังห้วยลำคลอง
- ขาแข้งเหมือนดังขาน่อง สองขาเจ้าย่ำนำความร่มเย็น
- สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนข้าราชการไทย
- ถือประโยชน์ของชาติเป็นใหญ่ ถึงตัวจะตายไม่เสียดายชีวา
เมื่อภาระหน้าที่เกินกว่าที่จะปฏิบัติให้ลุล่วงไปได้ เขาจึงได้ปลิดชีวิตตัวเองเพื่อประกาศให้สังคมได้รับรู้ และต้องการให้สังคมร่วมกันรับผิดชอบภาระกิจด้านนี้ ดังเนื้อหาของบทเพลงดังนี้.....
- สืบ นาคะเสถียร เป็นบทเรียนของกรมป่าไม้
- หัวหน้ารักษาพงไพร จังหวัดอุทัย ณ.ห้วยขาแข้ง
- เช้าวันที่หนึ่งกันยา ในราวป่าเสียงปืนกึกก้อง
- หยาดนี้เพื่อนน้ำตานอง จากข่าวร้ายกลางป่าอุทัย
- วิญญานเจ้าจงรับรู้ คนที่ยังอยู่ยังยืนหยัดต่อไป
- เพื่อนเอ๋ยหลับให้สบาย เจ้าจากโลกไปมิให้สูญเปล่า
และท่อนสุดท้าย เป็นการ ย้ำ ! ว่าควรจะ สืบทอดเจตนา ตามชื่อของเพลงเพื่อมิให้การเสียสละอันใหญ่หลวงของเขาในครั้งนี้สูญเปล่า ดังต่อไปนี้...
- สืบเอ๋ย... เจ้าจากไป ไม่สูญเปล่า
- สืบเอ๋ย... เจ้าจากไป ไม่สูญเปล่า
- สืบเอ๋ย... เจ้าจากไป ไม่สูญเปล่า
- สืบเอ๋ย... เจ้าจากไป ไม่สูญเปล่า
..........
การรักษาป่าห้วยขาแข้ง อาจกล่าวได้ว่าเป็น หน้าีที่ของสืบ ... แต่ถ้าถามว่า การยอมเสียสละชีวิตของตัวเองเพื่อเรียกร้องให้สังคมมาสนใจดูแลผืนป่าแห่งนี้จัดเป็น หน้าที่ของสืบหรือไม่? .... หลายๆ คนอาจบอกว่า เหนือหน้าที่ หรือ เกินหน้าที่
ถ้าจะถามต่อไปว่า จะประเมินค่าและตัดสินคุณค่าการกระทำกรณีนี้ของเขาอย่างไร ?
นั่นคือ เรื่องราวที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...