การเกษตรผสมผสาน


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

                 "ภูมิปัญญา" เป็นคำที่ใช้กันในหมู่นักการศึกษามานานแล้ว ส่วนคำว่า "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" หรือ "ภูมิปัญญาไทย" มีผู้สนใจพูดถึงกันมากขึ้นเมื่อทศวรรษที่ผ่านมานี้ ทั้งองค์กรภาครัฐ (GO) และองค์กรภาคเอกชน (NGO) การเข้าใจเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของชาวบ้าน และ ทำให้เข้าใจภาพรวมวัฒนธรรมของชาติได้ดังนั้น เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อนว่าภูมิปัญญาชาวบ้านคืออะไร สำคัญอย่างไร และมีแนวทางวิธีการศึกษาและส่งเสริมเผยแพร่อย่างไร

ภูมิปัญญาคืออะไร

                  ภูมิปัญญา (Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular wisdom) หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หมายถึงพื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมา ทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือความรุ้สะสมที่สืบต่อกันมา
                  กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตได้ในท้องถิ่นอย่างสมสมัย
                  ภูมิปัญญาเกิดจากการสะสมการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเชื่อมโยงกันไปหมดในทุกสาขาวิทยา ไม่แยกเป็นวิชาๆ แบบที่เราเรียนฉะนั้น วิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจอาชีพ ความเป็นอยู่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมนั้นจะผสมกลมกลื่นเชื่อมโยงกันหมด

หมายเลขบันทึก: 122593เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท