ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ พลังชุมชนร่วมร่างรัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยชุมชน


องค์กรแก้วิกฤต สุดท้ายตุลาการเองค่อนข้างจะมองมาตรานี้จะมีการแก้ไข
การประชุมสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนครั้งที่ ๒  ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ พลังชุมชนร่วมร่างรัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยชุมชนเพื่อชุมชนสังคมอยู่เย็นเป็นสุขวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐  เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร  การประชุมสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนครั้งที่ ๒  มีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้นกว่า ๑.๒๐๐ ท่าน เป็นตัวแทนชุมชนจาก ๕๐ เขตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม เพื่อ เชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน สร้างความเข้มแข็งเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อจัดตั้งเป็นสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร การจัดประชุม มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้  กล่าวรายงาน  โดย ประธานเครือข่ายพลังชุมชนพลังแผ่นดิน นางเพทาย ปทุมจันทร์รัตน์ นางเพทายได้กล่าวโดยสรุป ถึงกระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชน ๕๐ เขต ร่วมกันขับเคลื่อนพลังชุมชน ครั้งที่ ๑ ได้จัดเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๐ ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอการมีส่วนร่วมของประชาชน ๗๒๐ ชุมชน ประชุมร่วมกันตามประชาธิปไตย และได้กล่าวในนามของตัวแทนภาคประชาชน ขอบพระคุณประธานในพิธีและเชิญเปิดงาน   กล่าวเปิดงาน โดย  รัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์                ประธานในพิธีได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และได้กล่าวยินดีที่ได้มาเข้าร่วมงาน และยินดีที่ผู้นำชุมชนได้มาร่วมตัวกันสร้างความอยู่เย็นเป็นสุข การทำงานของผู้นำชุมชนทำกันอย่างเข้มแข็ง แม้จะไม่มีผลตอบแทนใดๆ  และขอให้ทุกชุมชนผนึกกำลังสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขเพื่อลูกหลานสืบได้ สุดท้ายได้อำนวยพรต่อผู้เข้าร่วมและกล่าวเปิดงาน
บรรยายพิเศษ เรื่อง กระบวนการดำเนินงานของสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร โดย  รัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์                ประธานในพิธีได้กล่าวบรรยายพิเศษ ต่อกระบวนการดำเนินงานของสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นสำคัญจากเวที ดังนี้ ·       ในระบอบประชาธิปไตย ชุมชนต้องร่วมกันเป็นองค์กรภาคีเครือข่าย สิ่งที่สำคัญคือการจัดทำแผนชุมชน ซึ่งเสมือนเป็นแผนที่ชุมชนได้รู้และช่วยกันคิดกันทำโดยชุมชนเพื่อวางแผน และแก้ปัญหาของชุมชน มีการจัดสภาพแวดล้อมด้วยตนเอง มีโรงเรียน กทม. จะทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือ แผนชุมชนจะมีการเชื่อมกับเขตโดยโครงการอยู่ดีมีสุข ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสาธารณสุข ขอให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมมากที่สุด·       สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่เก่าแก่ประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นการก่อตัวที่เริ่มขึ้นจากฐานรากสู่ระดับบน โดยภาคประชาชน ที่ต้องการคนมาคอยดูแล จึงได้มีนายอำเภอมาปกป้องชุมชน ซึ่งเป็นการปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชน·       การดำเนินชีวิตควรต้องมีแนวทางการใช้จ่ายที่รัดกุม โดยให้สูตรทองคำทำให้รวย ซึ่งแปลมาจากหนังสือ บุรุษผู้มั่งคั่งที่สุดในเมืองบาบิโลน โดย ๑. ท่านมีรายได้เท่าไหร่ให้เก็บไว้ร้อยละ ๑๐  ๒. มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่สร้างหนี้สิน ๓. เอาเงินออมมาลงทุนแต่เพียงบางส่วน ๔.  ลงทุนในงานที่ตนเองมีความถนัด และมีการปรึกษาหารือกับผู้รู้ และ ๕. อย่างหวังรวยทางลัด ซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง·       สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ผลักดันให้เกิดระบอบประชาธิปไตยใหม่ ให้หลุดพ้นจากการคอร์รัปชั่นต่างๆ อีกทั้งช่วยกันสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ·       วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นวันลงประชามติ เป็นวันที่จะทราบผลว่ารัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ ขออยากให้ทุกคนมาร่วมกันลงประชามติถ้าเห็นว่ารัฐธรรมนูญดี และสามารถให้ความเห็นได้ประธานในพิธี ได้กล่าวสรุป ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ประเทศชาติจะมีความราบรื่นความมั่นคงต่อไป และได้กล่าวอวยพรผู้เข้าร่วมประชุม และตัวแทนโซนแต่ละพื้นที่ ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรม และได้ฝากประเด็น และตอบคำถามจากเวที ดังนี้  โซนบูรพา             มี ๔๗ องค์กร การดำเนินงานเน้น§       การกระจายอำนาจให้เป็นจริง §       ผู้อำนวยการต้องมาจากการเลือกตั้ง §       การมีส่วนร่วม §       ตั้งสวัสดิการชุมชนให้ประธานชุมชน §       เป็นตัวอย่างองค์กรชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่โปร่งในตรวจสอบได้ โซนเจ้าพระยา§       ให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทุกเขตโซนธนบุรีใต้§       ผ.อ.เขตต้องมาจากการเลือกตั้ง  โซนรัตนโกสินทร์§       ก่อตั้งสวัสดิการให้แก่ชาวชุมชน§       ต้องมีอัยการชุมชน ศาลชุมชน โซนเจ้าพระยา (เด็ก เยาวชน) สิ่งที่ต้องการจากรัฐธรรมนูญนี้ คือ§       จัดสวัสดิการด้านการศึกษาฟรีจนถึงระดับปริญญาตรี§       จัดสรรงบประมาณลงชุมชนโดยไม่ผ่านสำนักงานเขต §       สิทธิเพื่อที่อยู่อาศัย                 จากการส่งข้อคำถามให้กับประธานในพิธี ได้มีคำถามที่น่าสนใจ ดังนี้-         การศึกษา จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงศึกษาธิการ-         แผนแม่บทชุมชน จะเสนอไปยังกรุงเทพมหานคร ให้ส่งเงินไปยังชุมชนโดยตรง แทนให้เขตจัดการเบิกจ่ายงบประมาณ-         ประเด็นแฟลตดินแดง และเรื่องสวัสดิการผู้นำ จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายหลังการรับฟังผลการดำเนินงาน ประธานในพิธีได้กล่าวถึงคำถามต่างๆ โดยรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ดี ขอให้ทุกท่านช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นให้ดำเนินการ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นให้ดำเนินการไปสู่ประโยชน์และมีความมั่งคั่งตลอดไป ในอนาคตนี้ขอให้ระบอบประชาธิปไตยจงเจริญ  
การเสวนา ร่วม เรื่อง สถานการณ์ปัจจุบัน ประชาธิปไตยชุมชน การทำงานร่วมกับสภาองค์กรชุมชนนายแพทย์ ปกรณ์  สุวรรณประภา  ตัวแทนรมช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดร.วีระพันธ์ พรหมมนตรี  คณะกรรมการการมีส่วนร่วม   นายวีระพันธ์  พรหมมนตรี                  กล่าวทักทายที่ประชุม และกล่าวชมสภาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการแสดงออกถึงความต้องการของประชาชน คณะรัฐศาสตร์สอนว่า ประชาธิปไตยคือ การมีส่วนร่วม การมีอำนาจของภาคประชาชน เป็นของประชาชน ดำเนินงานประชาชน เนื่องจากบ้านเราไม่เคยมีสภาแบบมี จึงทำให้ประชาธิปไตยของเราล้มลุกคลุกคลาน การเดินต้องมีเท้าที่แข็งแรง  ผมได้มีโอกาสได้ไปดูงานที่ประเทศสวิสต์เซอร์แลนซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง เขามีรูปการประชุมสภาครั้งที่ ๑ ก่อนการก่อตั้งประเทศ รูปนั้น คล้ายๆเป็นกลางป่าที่มีที่โล่ง ประชาชนมีทั้งม้า สุนัข เด็ก ทุกอย่าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สภาคือที่รวมของประชาชน สภาบ้านเขามักจะไม่มีรั้ว หน้าสภาบ้านเขาจะมีเหล็กกั้นเพื่อให้ประชาชนได้มาแสดงทางวัฒนธรรม ถ้าเราไม่มีสภาแบบนี้ มีรั้ว คนเข้าถึงได้ยากจึงไม่สามารถสะท้อนภาพของประชาชนได้จริง   นายแพทย์ปกรณ์  สุวรรณประภา                วันนี้ผมมาในนามของ พม. เพื่อมารับฟังเสียงของประชาชน เมื่อมาแล้ว ท่านเสนอมาแล้วขอให้ทุกคนร่วมกันทำด้วยกันได้ไหมครับ (เสียงปรบมือดังเต็มห้องประชุม) พลังของทุกคนในวันนี้ ผมเชื่อว่า ท่านอยากได้อะไรท่านบอกผม ท่านต้องการอะไรคุณภาพชีวิตของครอบครัวที่ดี หรือนักการเมืองที่ดี ท่านเห็นว่านักการเมืองที่ดีจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ท่านฟังสิ่งที่ผมคิด พม.คิด เมื่อสนใจท่านมาทำกับผม มีเรื่องเล่า  เด็กหนุ่มในประเทศสวิตคิดรูปแบบนาฬิกาแบบใหม่ ไม่มีลาน เมื่อนำไปเสนอกับสวิตถูกผลักตกโต๊ะ เขาจึงนำไปขายที่บริษัทไซโก้ และบริษัทอเมริกัน ท่านเห็นหรือไม่ นาฬิกาไม่ใช่การยึดติด มาวันนี้คุณภาพชีวิตท่านที่ดีกว่า ท่านต้องการกองทุนภาคพลเมือง ท่านต้องการสิทธิชุมชน พม. จะทำเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์จัดกลางเดือนถึงกรกฎาคม เวทีนี้เราต้องการคนที่ต้องการใช้สิทธิศักยภาพตนเอง แก้ปัญหาด้วยตนเอง สิทธิไม่ใช่การเรียกร้อง แต่สามารถใช้เพือตัวท่านเอง จัด ๕๐ เวที เวทีนี้จะประกาศให้เห็นว่าชุมชนต้องแก้ปัญหาตนเองได้ เมื่อจัดเวทีเสร็จจะมาบรรจบกับท่านวีรพันธ์พอดี คือการสร้างนักการเมืองที่เข้มแข็ง แต่พม. เรากำลังจะทำคือ การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ท้ายสุดเป็นการเมืองภาคตัวแทน มีประชาชนเป็นฐานราก คนที่คิดเวทีนี้คือ อ.พยนต์ป้าเพทาย อ.ชาญ เป็นคนคิด พม.จะเป็นคนออกเงินให้  ดร. วีระพันธ์  พรหมมนตรี            ผมรู้จักรัฐธรรมนูญตอนแรกๆ เป็นนักศึกษา ผมทำเป็นอยู่เรื่องเดียวคือการรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งช่วงปี ๑๖ ซึ่งผมได้เข้าร่วมด้วย วันที่ผมเปิดประชาธิปไตยไปทั่วประเทศ ผมถูกคำถามหนึ่งว่า ถ้าเรามีรัฐธรรมนูญแล้ว ชีวิตเราจะดีขึ้นไหม ผมตอบ ดีขึ้นแน่นอน ดีขึ้นอย่างไง เมื่อเรามีรัฐธรรมนูญแล้วจะมีการเลือกตั้ง จะได้ สส. แบบที่ท่านต้องการ และนำไปสู่รัฐบาลที่ดี ซึ่งจะดูแลชีวิตของท่าน ผมตอบเมื่อปี ๑๗ ปรากฏว่า ปัจจุบัน ผมพบว่า สิ่งที่ตอบถูกไม่เกิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี ๑๗ถึงปัจจุบัน ท่านดีขึ้นไหมครับท่าน บางท่านชีวิตล้มละลาย บ้านเขาอยู่ที่หนองคายมีบ้านหลังใหญ่ แต่เขาไม่สามารถอยู่บ้านได้เนื่องจากไม่มีงานทำ ต้องทำงานที่ กทม. บ้านเช่าหลังเล็ก สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เทียบไม่ได้เลยที่หนองคาย ผมคิดว่าเป็นปัญหาพื้นฐาน สภาหรือการเมืองภาคประชาชนต้องเกิดขึ้น จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ การเมืองขอให้ได้คนเลวน้อยที่สุดเข้าไป การแก้ปัญหาต้องแก้จากตัวเราเอง ชุมชนเราเอง ท้องถิ่นเราเอง และต้องแก้ที่รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่ดี คือ มีทั้งสิทธิ์ของชุมชน และสิทธิ์ของประชาชน และเอื้อให้กับชุมชนและองค์กรภาคประชาชนเอื้อให้ทำงานเพื่อให้ตนเอง ทุกรัฐธรรมนูญเขียนว่าเราสามารถรวมตัวกัน แต่ไม่เคยเขียนว่า ให้ประชาชนสามารถรวมกันแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ที่ไปไกลกว่านั้น เมื่อประชาชนรวมตัวกัน มักมองว่า เป็นการรวมตัวเพื่อทำในสิ่งที่ไม่ดี ผมอยากยืนหยัดเพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้น  นายพยนต์  จันทรวิฑูร                ผมขอเพิ่มว่า วันนี้ท่านท้าทายว่า ร่วมกันทำ ให้ไปจัดเวทีประชาธิปไตยชุมชนประชาธิปไตยชุมชน กับประชานิยมต่างกันหรือไม่ เรามาเรียนรู้กันนายแพทย์ปกรณ์  สุวรรณประภา          ประชาธิปไตยชุมชน คือ เกิดจากเนื้อใน การสำนึกอยากช่วยเหลือตนเอง และชุมชน แก้ปัญหาตัวเองก่อน ประชานิยมคือการแจก นายพยนต์  จันทรวิฑูรท่านคาดหวังอย่างไรกับประชาชน นายแพทย์ปกรณ์  สุวรรณประภาการเมืองบ้านดีขึ้น ปี ๔๐ เรามีการกระจายอำนาจ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ กทม. เป็นท้องถิ่นอยู่แล้ว จึงไม่มีการกระจายต่อ ในเวทีอยากให้มีการเลือก ผอ. เขต ปี ๕๐ มีการเพิ่มเติม มีการเมืองภาคพลเมืองเข้ามา ผมให้แง่คิดนิดหนึ่ง คือ เราไม่ได้เป็น สส. สธ. ทำงานเหมือนเขา ท้ายสุดจะเกิดความขัดแย้ง แต่การเมืองภาคพลเมือง ในมุมมองของผม ต้องทำอีกแบบ การเมืองในระบบตัวแทนดีอยู่แล้ว การเมืองแบบพลเมืองต้องคิดอีกแบบ แกะเงาะ มาใช้กับลองกองไม่ได้ การเมืองภาคพลเมืองต้องเกิดจากเนื้อใน ความเข้มแข็งของคนในชุมชนเป็นองค์กรทีเข้มแข็ง กระทรวงไม่ได้หวังแค่นี้ ตอนนี้ พอช. ได้การบ้านเพื่อจัดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง จำนวน ๔,๐๐๐ องค์กร คนที่ใช้สิทธิทำงานเพื่อตนเอง เมื่อเกิดการเมืองระบบตัวแทน ไปเสียบรับกันพอดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลายเป็นที่ว่าการอำเภอย่อขนาดลงไปเราไม่ต้องการแบบนี้ครับ  นายพยนต์  จันทรวิฑูร                ในชุมชนคนนำขยะมาแลกไข่ เป็นการเมือง นายแพทย์ปกรณ์  สุวรรณประภา เมื่อกลับไปบ้าน ใครหาข้าวให้ลูกเรากิน นั่นเป็นการเมืองระดับชุมชน เขาก็ทำของเขา เราก็ต้องทำหน้าที่ของเรา  ดร. วีระพันธ์  พรหมมนตรี            บ้านเราใช้ระบบตัวแทน สส. ไปเลือกฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ส่วน กทม.เป็นการเมืองระดับท้องถิ่นเป็นการเลือกตั้งโดยตรง กทม. คือการเลือกฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ที่ผมอยากชวนคุยคือ รัฐสภาคือการหาวิธีการ จัดสรรงบประมาณ รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม รัฐบาลจะใช้กลไกระบบราชการ การเมืองในอนาคตที่อยากเห็น คือไม่ได้ใช่แค่ระบบราชการ ประชาชนรวมตัวกันเพื่อการบริการประชาชน ฉะนั้น งานทั้งหมดที่เดินไปได้โดยภาคประชาชน ต้องเน้นการมีส่วนร่วมกับภาคราชการ ตามรัฐธรรมนูญที่จะมาถึง เปิดช่องไว้แล้ว เราจะทำอย่างไร นายพยนต์ จันทรวิฑูร                ใครต้องการออกความคิดเห็น สิทธิชุมชนเกี่ยวกับการศึกษา สภาองค์กรชุมชน ไม่ใช่สภาผู้แทนราษฎร ไม่มีใครบังคับ ขีดเส้นใต้ให้เดิน ตัวแทนประชาชน                 รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๘ ประชาชนที่สิทธิ์ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และไม่เสียค่าใช้จ่าย ความจริงคือ เสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากกว่าเสียค่าเทอมอีก  เราอยากให้เขียนเพิ่มไปว่า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น                 อีกประการหนึ่ง คือ สภาองค์กรชุมชนระดับท้องถิ่น จังหวัดและประเทศ  มีจำกัดจำนวนคน มีกฎระเบียบ นี่คือสภาประชาชน คือการทำงานโดยประชาชนเพื่อประชาชน เราจะเอาพลังที่ไหนมาทำงาน ไม่ต้องขีดเส้นให้เขาเดิน  ตัวแทนเขตจอมทอง                ในชุมชนมีเวทีอยู่แล้ว ในระบอบประชาธิปไตย ช่วยกันผลักดันให้รัฐธรรมนูญออกมาด้านดี เรามีสิทธิ์มีเสียง  สวัสดิการและสิทธิชุมชนอยากให้งบในประเทศมีหลายพันหมื่นล้าน ไม่มีใครรู้เรื่องเลยว่ามี แล้วเขาเอาไปใช้อะไรกันบ้าง ดีเป็นประโยชน์หรือไม่  ตัวแทนเขตกรุงธนบุรีเหนือ                             รัฐธรรมนูญมีการซ่อนเร้น การคัดสภา สว. ท่านเห็นว่าเป็นประชาธิปไตยหรือเปล่า ส่วนหนึ่งของชุมชนเสนอให้รัฐบาลเสนอนิรโทษกรรมเพื่อความสมานฉันท์ ตัวแทนด้านสื่อ                 อยากเสนอให้สภาองค์กรชุมชนเข้าไปบรรจุสื่อเข้าในยุทธศาสตร์ของกระทรวงพัฒนาสังคม และ อยากให้การทำงานของสภาฯ ควรมีการประชุมต่อเนื่อง ผ่านสื่อวิทยุชุมชน  สรุปภาพรวมและตอบคำถาม                องค์กรแก้วิกฤต สุดท้ายตุลาการเองค่อนข้างจะมองมาตรานี้จะมีการแก้ไขพรบ.คุณธรรมจริยธรรม สภาองค์กรชุมชน ประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนเชื่อมร้อยจะเข้าวันพรุ่งนี้เช่นเดียวกัน  
หมายเลขบันทึก: 121870เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่ชาญ ผมกับอาจารย์วีรพันธ์ เคยร่วมงานกันเมื่อนานมาแล้ว

ได้มาเห็นว่าแกทำอะไรก็ในบทความของพี่แหละ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท