การพัฒนาเครือข่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน


เครือข่ายการเรียนรู้อำเภอสนามชัยเขต

การพัฒนาเครือข่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน

สรุปบทเรียน เครือข่ายการเรียนรู้อำเภอสนามชัยเขต

วันที่    25      มีนาคม   2549

ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสนามชัยเขต

แนวทางในการทำเครือข่ายการเรียนรู้อำเภอสนามชัยเขต โดยให้แต่ละPCU ที่มีกิจกรรมที่อยากให้ที่อื่นได้เรียนรู้ได้นำเสนอดังนี้

PCU ลาดกระทิง

                มีการเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังโดยใช้ทีมสหวิชาชีพ ลงไปดำเนินงาน โดยทีม PCU ลาดกระทิงมีเภสัชกรหญิง ศิริพร เป็นหัวหน้าทีม ได้มีการพูดคุยและเตรียมCaseในการจะไปเยี่ยม โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละบุคคล ที่จะไปเยี่ยม โดยไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เดือนละ 3-4 ราย ตามแผนการเยี่ยม

PCU ชำป่างาม

                มีการดำเนินงานป่าชุมชน โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินงานในการปลูกป่า และดูแลป่า โดยมีการจัดตั้งกลุ่ม ซึ่งกลุ่มเกิดจากผู้มีความรู้ทางด้านสมุนไพร มีการอบรม ให้ความรู้แก่สมาชิกภายในกลุ่ม  มีการจัดทำป้ายชื่อสมุนไพร และสรรพคุณ ในป่าชุมชน

PCU ทุ่งพระยา

                มีการดำเนินงานไข้เลือดออกที่ดี ที่บ้านภูเขาทอง  ตำบล ทุ่งพระยา  โดยใช้กลวิธีทำให้บ้านสะอาด  โดยขอความร่วมมือจากชาวบ้านในหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน และมีการตัดตั้งทีมงานสุ่มลูกน้ำยุงลาย ซึ่งคัดมาจาก อสม. ดำเนินการออกตรวจในหมู่บ้าน มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกบ้านเก็บขยะที่จะเป็นบ่อเกิดของลูกน้ำยุงลายได้  มีการเลียงลูกปลาบู่ ในตุ่มน้ำใช้  ซึ่งหมู่บ้านหนี้ได้ผ่านการตรวจจากทีมงาน อสม. จากหมู่บ้านอื่นๆมาตรวจดูลูกน้ำทุกหลังคาเรือน

                จากการทำงานที่ประสบความสำเร็จของทั้ง 3 PCU ซื่งทุกกลุ่มที่มานำเสนอประสบการณ์ มีความคิดเห็นร่วมกันว่า การดำเนินงานเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังของอำเภอสนามชัยเขต มีแนวทางการทำงานที่น่าจะนำมาใช้กับงานในปัจจุบันได้ และส่งผลดีในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคในผู้ป่วย    จึงมีมติร่วมกันที่จะเรียนรู้ในเรื่องของผู้ป่วยโรคเรื้อรังร่วมกัน ซึ่งผู้ป่วยโรงเรื้อรังในอำเภอสนามชัยเขตมีหลายโรค  กลุ่มมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  ซื่งในการประชุมครั้งต่อไปขอให้ทางผู้ประสานงานกลุ่มหาข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในอำเภอสนามชัยเขต มาเพื่อมาสรุปว่าโรคใดที่กลุ่มน่าจะเรียนรู้กันมากที่สุด และให้ทุกพื้นที่นำเสนอแนวการทำงานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

    

สรุปบทเรียน เครื่อข่ายการเรียนรู้อำเภอสนามชัยเขต

วันที่    25      พฤษภาคม  2549

ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสนามชัยเขต

                จากการประชุมในครั้งที่ 1 โดยให้กลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง คือเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เครือข่ายอำเภอสนามชัยเขต จึงมีมติร่วมกันว่าจะดำเนินการในเรื่องของเบาหวาน ซึ่งในการประชุมครั้งก่อน ที่ประชุมมีแนวคิดว่าจะทำเรื่องเบาหวานโดยใช้การคูณธาตุ เป็นการกำหนดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในเรื่องการกิน  แต่เนื่องจากผู้รับผิดชอบในเรื่องการคูณธาตุ มีภารกิจในการศึกษาต่อทำให้ไม่มีเวลาในการมาร่วมในเครือข่าย จึงมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำโครงการ โดยนำโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้กระบวนการกลุ่มซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่คลินิกพิเศษในโรงพยาบาลสนามชัยเขตได้ทำกลุ่มการเรียนรู้ในผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในเขตPCU คู้ยายหมี  กลุ่มเครือข่ายจึงมีความสนใจนำกระบวนการทำกลุ่มในผู้ป่วยเบาหวานมาปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุดทั้งในเครือข่ายเจ้าหน้าที่ และในผู้ป่วย  โดยมีพื้นที่ตัวอย่างในอำเภอสนามชัยเขตหลายพื้นที่ เช่น ตำบลลาดกระทิง ตำบลคู้ยายหมี  ซึ่งมีแนวทางการทำงานที่ต่างกัน และเมื่อพื้นที่ที่คัดเลือกได้มีการทำงานในเครือข่ายการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการ

กลุ่มในผู้ป่วยเบาหวานเป็นไปตามเป้าประสงค์  ก็จะขับเคลื่อนไปทั้งอำเภอให้เป็นเป้าหมายสูงสุด                 โดยกลุ่มเรียนรู้ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายของอำเภอสนามชัยเขต ว่าจะดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลาดกระทิงทั้งหมด และ พื้นที่บ้านหนองยาง  ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ PCU คู้ยายหมี โดยจัดทำคำสั่งแบ่งหน้าที่ในการทำเครือข่ายให้ชัดเจน เนื่องจากมีข้อเกี่ยวพันในเรื่องของการปฏิบัติงานประจำ เมื่อมีคำสั่งก็จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่และการทำงาน หรือการจัดตั้งผู้รับผิดชอบที่มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งต้องทราบสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันของอำเภอสนามชัยเขต จากผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ โดยหาข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย เช่นขาดยามีกี่ราย น้ำตาลคุมไม่ได้กี่ราย โดยคำนิยามว่าคุมไม่ได้ให้ดูจาก การเจาะเลือดว่าเกินมาตราฐาน 120  ในการเจาะ 3 เดือนติดต่อกัน  และนำข้อมูลมาประชุมกันในการพูดคุยในครั้งต่อไป  รวมถึงการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม ให้ตั้งโมเดลขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการทำกลุ่ม โดยขอความร่วมมือจากสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล  เภสัชกร  แพทย์แผนไทย  กายภาพ ร่วมกันคิดว่าควรจะมีกิจกรรมกลุ่มอะไรบ้างโดยขอให้แต่ละคนไปคิดกิจกรรมกลุ่มซึ่งตนเองจะต้องรับผิดชอบมา ซึ่งถ้าไปทำในพื้นที่ของสถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยถือว่าเป็นสหวิชาชีพ  ต้องทำได้ทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นงานที่หนักสำหรับสถานีอนามัย จึงอาจจะต้องขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของ รพ.ผ่านทางเลขาในแต่ละ PCU ให้ไปช่วยTraining เจ้าหน้าที่ซึ่งจะนำมาเป็นประเด็นเรียนรู้ในการประชุมครั้งต่อไป    

สรุปบทเรียน เครือข่ายการเรียนรู้อำเภอสนามชัยเขต

วันที่ 18 กรกฎาคม 2549

ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสนามชัยเขต

 

จากการประชุมครั้งที่ 2 กลุ่มเรียนรู้ได้มีประเด็นที่ต้องค้นหาร่วมกันดังนี้

การค้นหาข้อมูลการรักษา / อาการแทรกซ้อนของผู้ป่วย

การตั้งเกณฑ์ชี้วัดในเครือข่ายการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้กลุ่มทั้งในเจ้าหน้าที่ และในผู้ป่วย

ซึ่งกลุ่มเรียนรู้ได้จัดหาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่เป้าหมายดังนี้

                จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาในPCU คู้ยายหมี 97    ราย

              จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาในPCU ลาดกระทิง   23     ราย

จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยเบาหวานทำให้มองเห็นชัดเจนในเรื่องภาวะ Hypoglycemia  / Hyperglycemia ที่เป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยในการAdmit และถึงขั้นComa จากการทบทวนสถิติการAdmit ด้วยภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานของอำเภอสนามชัยเขตพบว่า ภาวะ Hypoglycemia มีสถิติAdmit  จำนวน  39 ครั้งต่อปี และAdmit ด้วย Hyperglycemia จำนวน 14 ครั้งต่อปี และมีอาการ Coma จำนวน 3  ครั้งต่อปี และมีภาวะ DM with  Ketoacidosis จำนวน 1 ราย จากสถิติดังกล่าวกลุ่มเรียนรู้พบว่าภาวะ Hypoglycemia  เป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มเรียนรู้จึงนำปัญหามาตั้งเป็นเกณฑ์ชี้วัด โดยวัดได้จาก

1. การมาAdmit ด้วยภาวะ Hypoglycemia ลดลง

2. เมื่อเกิดภาวะ Hypoglycemia ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ ทำให้ไม่เกิดภาวะที่รุนแรงมากขึ้น

เกณฑ์

1.วัดจาก สถิติที่มา Admit ด้วยภาวะ Hypoglycemia ลดลง

2. จากการประเมินการเกิดภาวะ Hypoglycemia ในช่วงที่ทำกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ในผู้ป่วย

สมาชิกกลุ่มเรียนรู้ได้มีคำถาม ในเรื่องเกณฑ์ชี้วัดในการทำกลุ่มแต่ละครั้งควรจะได้อะไร และวัดได้จากอะไร  ระยะเวลาในการประเมินเป็นอย่างไร

ข้อสรุปของกลุ่ม  ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ในผู้ป่วยจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของสมาชิกกลุ่ม   และจากการให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน  ระยะเวลาประเมินทุก 6 เดือนตามเกณฑ์ชี้วัด

 

กลุ่มเรียนรู้มองเห็นว่ารูปแบบกระบวนการทำงานของแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน  กลุ่มจึงหาแนวทางในการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย

จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยทีมสหวิชาชีพ

มีการConference case ร่วมกัน

มีการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความรู้/ทักษะการปฏิบัติงาน

จัดหาสื่อ อุปกรณ์ในการทำกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ

เพื่อให้กระบวนการทำงานสำเร็จ และสามารถปฏิบัติได้จริง  กลุ่มจึงวางแผนจัดทำโครงการ โดยขอให้สมาชิกกลุ่มกลับไปหาแนวทางและวิธีในการทำโครงการ  และนัดประชุมกลุ่มสหวิชาชีพ เพื่อหาแนวทางในการจัดทำคู่มือปฏิบัติ

 ผลลัพธ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย

ทีมมีการปรับกระบวนความคิด ทัศนคติในการเรียนรู้ร่วมกันจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน การค้นหาข้อมูลพื้นฐาน/ ข้อมูลวิชาการ ให้เกิดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม

ทีมเครือข่ายเรียนรู้มีแนวทางชัดเจนในการเรียนรู้ วางแผนกระบวนการทำงานโดยมี

       เป้าหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เกิดการเรียนรู้เรื่องการบริหารเวลาเพื่อให้งานที่เป็นงานประจำ และงานเครือข่ายการเรียนรู้มีความสอดคล้อง และเกิดผลสำเร็จของงาน

เกิดการเรียนรู้ในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ การแสดงความคิดเห็นซึ่งบางครั้งไม่ตรงกัน หรือการผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการทำงานร่วมกัน

กลุ่มมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันในการทำงานเพื่อให้ก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

 

หมายเลขบันทึก: 120895เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท