archarn_thanika
นาง ฐานิกา ชาญนุวงศ์ บุษมงคล

ตกผลึกแห่งความคิด


กระจกสะท้อนตัวเอง

หลังจากกลับจากหมู่บ้านคำปลาหลายแล้ว พวกเราได้แบ่งกลุ่มกันเพื่อย่อและย่อย สิ่งที่เราได้ไปเรียนรู้มาจากหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละกลุ่มได้เขียนออกมาเป็แผนภาพ และสะท้อนได้อย่างน่าฟัง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

" หมู่บ้านคำปลาหลาย   มีปัญหาความแห้งแล้ง  ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ราคาผลผลิตไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ขาดอำนาจการต่อรอง ทำให้เกิดความยากจน  คนอพยพไปกรุงเทพ   เหลือแต่คนแก่และเด็ก  คนแก่หาอาหารให้เด็กกินตามยถากรรม เด็กขาดอาหาร  สมองไม่ดี "

"ผู้นำในหมู่บ้านจึงคิดแก้ปัญหาโดยหาทีมพัฒนาหมู่บ้าน เริ่มที่ 10 ครัวเรือน ขุดสระ รอน้ำฝนจนเต็มสระ ปล่อยปลา เลี้ยงโค ปลูกพืชสวนผสม อยากกินอะไร ในชีวิตประจำวันต้องกินอะไรที่ไม่มีในธรรมชาติก็ปลูกอันนั้น เริ่มมีกิน  เริ่มเหลือแบ่ง เริ่มมีไว้แลกกันกิน บเงก็เหลือพอขาย ชีวิตก็ดีขึ้นมีของดีๆกินโดยไม่ต้องซื้อ คนอื่นๆเริ่มเห็นว่าทำได้จริงเพราะ ผู้นำทำให้ดู จึงทำตามคนแก่ทำไม่ไหวจึงชักชวนคนหนุ่มสาวให้กลับจากกรุงเทพมาช่วยกันทำ เริ่มจากน้อยไปหามาก คนที่กลับมาเยี่ยมบ้านเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลง ความอุดมสมบูรณ์ทมี่มากขึ้น เริ่มมีความหวัง โหยหาอิสรภาพในบ้านเกิดจึงทยอยกลับบ้าน จนเกือบหมด นี่แหละภูมิปัญญาชาวบ้านที่แท้จริง "

 

" แล้วมาร์ติน เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร  กลุ่มมีความคิดเห็นว่า มาร์ตินเปรียบเสมือนกับกระจกสะท้อน ที่ทำให้หมู่บ้านคำปลาหลายเห็นตัวตนของตัวเองชัดเจนขึ้น เปรียบเสมือนที่โบราณกล่าวว่า คนเรามักมองไม่เห็นตัวเอง เหมือนเส้นผมบังภูเขา มาร์ตินมาช่วยสะท้อนให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นว่าหมู่บ้านของตัวเองนั้นดี มีของกิน ไม่ต้องซื้อหา การเป็นชาวนานั้นอิสระ และมีความสุขได้  "

"เมื่อผนวกรวมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน เราจึงได้เห็นภาพหมู่บ้านคำปลาหลายในวันนี้"

คำสำคัญ (Tags): #ย่อและย่อย
หมายเลขบันทึก: 120805เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท