KM สพท.ตากเขต 1


แนวปฏิบัติการจัดการความรู้ KM

สพท.ตากเขต 1  ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานด้วยกระบวนการ KM ให้กับบุคลากรในเขตพื้นที่  3 วัน  เป็นกระบวนการฝึกปฏิบัติการจัดการความรู้ของบุคลากรในองค์กร  แนวปฏิบัติในการทำ KM  ดังนี้

การจัดการความรู้   กับองค์กรแห่งการเรียนรู้   Knowledge Management  :  Learning Organization          การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณอายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป และมีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกา  ยังคงแข่งขันกันหาวิธีบริหารจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อให้อยู่ในโลกของการแข่งขันได้   สำหรับประเทศไทยนั้นคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารที่จะหายุทธวิธีในการดึงความรู้ออกมาจากตัวบุคคล และการกระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งการถ่ายทอดความรู้บางประเภทนั้น การฝึกอบรมอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด อุปสรรคที่มักพบอยู่เสมอของการบริหารจัดการความรู้คือพฤติกรรม "การหวงความรู้" และวัฒนธรรม "การไม่ยอมรับในตัวบุคคล" หากองค์กรสามารถกำจัดจุดอ่อนทั้งสองอย่างนี้ได้การบริหารจัดการความรู้ก็มิใช่เรื่องยากจนเกินไป สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ได้มีการวางกรอบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นเรื่องของการกำหนดขอบเขต แบบแผน วิธีปฏิบัติ โดยเฉพาะมาตรา 11 ได้กำหนดเป็นหลักการว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ความรู้จากห้องบรรยาย สืบค้นข้อมูลจาก   http://www.dopa.go.th/iad/subject/lo_iad.html       หัวใจของการจัดการความรู้    KM : Knowledge Management   มีผู้รู้ได้กล่าวถึง  KM : Knowledge Management   หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า  หัวใจของ  KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ  KM  เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ( Hierarchy  of  needs ) ของ    Mcgregor  ได้  โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)                          1.  Knowledge is Power :  ความรู้คือพลัง                   2.  Successful  knowledge  transfer  involves  neither  computers  nor documents  but  rather  in  interactions  between  people. (Thomas H Davenport)                         :  ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร  แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์   ระหว่างคนด้วยกัน                   3.  The  great  end  of  knowledge  is  not  knowledge  but  action                        : จุดหมายปลายทางสำคัญ  ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้  แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ                         4.  Now   the  definition   of  a  manager  is   somebody   who   makes  knowledge   productive                         : นิยามใหม่ของผู้จัดการ  คือ  ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล      จะเห็นว่า  จากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าว  พอทำให้มองเห็นหัวใจของ  KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล  ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ  ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว  ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม          อ.นพ.วิจารณ์ พานิช (2550) กล่าวไว้น่าคิด หลังจากการไปร่วมสัมมนา นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุขโดยได้ฟังการบรรยายของ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ตีความ การเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุขทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้อย่างลึกซึ้งมาก จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านบอกว่า การพัฒนาชุมชนต้องมี 4  องค์ประกอบ         1. ชุมชน หมายถึงการอยู่ร่วมกัน ความเป็นชุมชนมีเป้าหมายที่การอยู่ร่วมกัน         2. เป็นสุข หมายถึงความเป็นทั้งหมด ความเป็นปรกติ สมดุล บูรณาการของปัจจัยต่าง ๆ อย่างน้อย 8 ด้าน ได้แก่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ศาสนธรรม ครอบครัว และชุมชน        3. การเรียนรู้ หมายถึงการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนนั้น ๆ ผ่านการปฏิบัติ        4. การสร้างเสริม หมายถึงการเข้าไปเอื้ออำนวย ส่งเสริม เสริมพลัง (empower) ไม่ใช่เข้าไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้        ทั้ง 4   องค์ประกอบนี้ คือหัวใจของการจัดการความรู้ในทุกบริบท ไม่ใช่แค่การจัดการความรู้ของชาวบ้านหรือของชุมชน ในเรื่องการจัดการความรู้นี้ การเรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะถ้าไม่ระวัง ตัวความรู้จะเป็นความรู้ที่หยุดนิ่งตายตัว การเรียนรู้จะมีลักษณะ ดิ้นได้คือมีชีวิต เป็นพลวัต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้ร่วมกัน เป็น collective learning และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (interaction learning through action)          อ.บดินทร์   วิจารณ์ (2548)  เป็นบุคคลหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในด้าน การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) และองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)ได้กล่าวไว้เมื่อคราวสัมมนาวิชาการ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ ห้องประชุม 2 อาคาร HS05 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่า การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติ ให้ได้ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจสำคัญอยู่ที่เราจะได้เรียนรู้จากการสอนคนอื่น (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน ขององค์กร  แรงจูงใจการจัดการความรู้                แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน  คน  องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริงสืบค้นข้อมูลจาก   http://www.dopa.go.th/iad/subject/lo_iad.html   การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทำไมต้องใช้   KM : Knowledge Management                  ปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้นำหลักการทฤษฎีการเรียนรู้  หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้  ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ประสบผลสำเร็จบางสถานศึกษาก็ประสบความล้มเหลว  หลายสถานศึกษาพยายามนำวิธีการเรียนการสอนที่คาดว่าน่าจะเป็นพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้มาจัดการเรียนการสอน  จากการนำความรู้ที่ได้จากหลักการทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ  ผู้สอนบางคนกล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนบางครั้งก็จัดตามสถานการณ์ที่เป็นจริงโดยใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้หลายวิธีมาบูรณาการกัน  เสร็จแล้วเมื่อนำมาทดลองใช้ปฏิบัติการสอนปรากฏว่าประสบความสำเร็จ  สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งวิธีปฏิบัติการสอนที่ประสบผลสำเร็จเหล่านี้น่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาอื่นๆ  อย่างน้อยสถานศึกษาก็เป็นองค์กรที่ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ    เป้าหมายการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)  เพื่อพัฒนา ใคร        งาน  พัฒนางาน          คน  พัฒนาคน         องค์กร  เป็นองค์กรการเรียนรู้           ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้   นพ.วิจารณ์ พานิช (2550) ได้ให้ความหมายของคำว่าการจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4   ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่           1. บรรลุเป้าหมายของงาน           2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน           3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย      สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว      การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ      การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง      การจัดการระบบการจัดการความรู้   การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรโดยการใช้การจัดการความรู้  KM : Knowledge Management  องค์กรทุกองค์กรย่อมประกอบไปด้วยการทำงานที่มี  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  และกลยุทธ์  มีแผนงาน โครงการ  กิจกรรมตามภารกิจหน้าที่  มีการดำเนินงานตามกรอบภารกิจหน้าที่  และมีผลการปฏิบัติงาน  ดังนั้นการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการความรู้ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้  มาใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพการจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่            (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ           (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน           (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด ขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้           (6) การจดบันทึก ขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น           โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า จัดการความรู้จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ         (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม         (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ         (3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ          (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย  การจัดการความรู้   (Knowledge Management : KM) เปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง   การจัดการความรู้เปรียบเสมือนภูเขานำแข็ง  ซึ่งมีส่วนที่อยู่เหนือระดับน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปซึ่งสามารถศึกษาหาได้จากเอกสาร  ตำรา  สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ  หรือสื่อประเภท สื่ออีเล็คโทรนิค   กับน้ำแข็งที่อยู่ใต้ระดับน้ำซึ่งจะสังเกตเห็นว่าส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำมีจำนวนก้อนใหญ่กว่าส่วนที่อยู่บนน้ำ  เปรียบเสมือนเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน  การแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน  จนประสบผลสำเร็จ  ซึ่งบางครั้งบางคนก็รู้ว่างตนเองมีความรู้ที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติ  บางคนก็ไม่รู้ว่าตนเองมีความรู้เหล่านี้  จึงเป็นสิ่งที่น่าท้าท้ายว่าจะทำอย่างไรที่จะดึงความรู้ของบุคคลในองค์กรเหล่านี้ออกมาใช้ได้  ดังนั้นการจัดการความรู้ในองค์กร คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี   2    ประเภท    คือ           1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม           2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม    หน้าต่างความรู้  ประตูปัญญา  ความรู้ของคนในองค์กร                องค์ความรู้ของคนในองค์กร เกิดจากความรู้ที่ผ่านการเรียนรู้ต่างๆ  ในองค์กร  ดังนี้1. ความรู้ที่ผ่านการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ 2. ความรู้ที่ผ่านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์3. ความรู้ที่ผ่านการฝึกอบรม พัฒนา ศึกษา ดูงาน4. ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้5. ความรู้ที่รู้ว่าเป็นหน้าที่ เป็นพันธกิจ                ซึ่งความรู้เหล่านี้  บางคนในองค์กรรู้ว่าตนเองมีความรู้จากการปฏิบัติงาน  แต่บางคนก็ไม่รู้ว่าตนเองมีองค์ความรู้จากการปฏิบัติเหล่านั้นอยู่   ต้องอาศัยวิธีการจัดการความรู้เพื่อขุดค้นนำความรู้เหล่านั้นออกมา  ให้ได้  หลังจากนั้นก็นำความรู้เหล่านั้นมาจัดระบบความรู้นำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  วงจรการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรนักจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)วงจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในองค์กรเริ่มจากความรู้ที่บุคคลในองค์ได้รับจากการศึกษาหรือเรียนรู้จากเอกสารหลักการ  ทฤษฎี  ตำรา  ผลงานวิจัย  สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ   สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)  เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเกิดเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติติดตัวอยู่กับบุคคลผู้ปฏิบัตินั้น  เรียกว่าความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ตราบใดเมื่อมีการจดบันทึกความรู้ที่ฝังลึกเหล่านี้ในรูปของเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์เมื่อใดความรู้เหล่านี้ก็จะเป็นความรู้ชัดแจง  (Explicit Knowledge)  เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเกิดเป็นความรู้ฝังลึก  (Tacit Knowledge)  วนเวียนเป็นวงจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ไปเลื่อยๆ   ดังนั้นเพื่อการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  กระบวนการจัดการเรียนรู้ในส่วนที่เป็น ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)  กับความรู้ในส่วน  ความรู้ฝังลึก  (Tacit Knowledge)   จึงมีความจำเป็นที่องค์กรต้องดำเนินการตาม กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพในองค์กร มี  7   ขั้นตอน คือ          1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร          2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว          3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต          4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์          5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น         6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit  Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit  Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น         7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง   องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้   (Knowledge   Process)      1. “คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์      2.“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น &nbs
คำสำคัญ (Tags): #ศนkm
หมายเลขบันทึก: 119162เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมก็คงไม่นำเอาทฤษฎีคนอื่นมาเพิ่มอีก เพราะอ่านไปแล้วสิ่งที่ท่านได้หยิบยกมาก็ครอบคลุม ก็เหมือนกับที่ผมเรียนจบมาแล้วนั่นแหละครับ แต่การประยุกต์ใช้ในส่วนธุรกิจ เป้าหมายก็เพื่อการเรียนรู้ในองค์กรที่ไม่แตกต่างกับส่วนงานภาครัฐเท่าใดนัก

 แรกๆที่ประสบปัญหาคือ พนักงานใช้เครื่องมือตรงนี้ในการ post เพลง หรืออะไรต่างๆ ทางผมก็ปล่อยให้ระยะหนึ่ง แล้วก็ตั้งคำถามว่า ที่ทำตัวนี้ขึ้นมาทดสอบ เพื่ออะไร หลายๆ คนก็ตอบได้ใกล้เคียง และส่วนหนึ่งก็ตอบแบบขอไปที ก็เลยเรียกประชุมกันว่า หลังจากให้ทดลองใช้แล้ว พวกคุณคงจะมองเห็นภาพว่าเราจะใช้ทรัพยกรตรงนี้ในการทำงานโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงาน และออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ โดยให้ทุกคนได้เขียนปัญหา หรือ อะไรก็แล้วแต่ ในเรื่องงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันภายใน และเป็นระบบปิด ที่ไม่สามารถเข้ามาดูจากข้างนอกได้  เพราะธุรกิจจะให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลเป็นหลักและสำคัญที่สุด

 

การปรับตัวการใช้งานไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหลายคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ใหม่ และยุ่งยาก แต่ไม่ใช่ปัญหาเพราะได้เพิ่ม modul ต่างๆ ให้ใช้งานง่ายมากที่สุด และหลังจากปล่อยให้เขาได้สัมผัส ก็รู้สึกว่าสนใจในด้านนี้และพยายามที่จะเขียนเรื่องราวของการทำงาน ประสบการณ์ที่ได้คุยกับลูกค้า หรือสิ่งอื่นๆ ก็จะทำให้เขาได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และกระตือรือล้นที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาแบ่งปันกัน

 

โดยรวมประสิทธิภาพการทำงานก็จะดีขึ้นกว่าเดิม เพราะให้เขาได้มีส่วนในการแลกเปลี่ยน และถกปัญหากันใน blog ซึ่งจะมี Engine ที่ออกแบบไว้เบื้องหลังคอยจับประเด็นต่างๆ แล้วเก็บเข้า คลังข้อมูล เพื่อให้เป็นคลังความรู้ต่อไปภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี แล้วก็จัดทำการกรองข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเราก็จะได้เรียนรูป พฤติกรรมของลูกค้าได้จากสิ่งที่พนักงานในองค์กร ไปพบไปเจอ และเป็นการได้ประโยชน์อีกต่อหนึ่งด้วยเช่นกัน  

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ในเรื่องการจัดการความรู้ (KM) ทำให้เข้าใจโดยเข้าถึงหัวใจของKM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท