wutnara
นาย วุฒิ ศรีสุวรรณวิเชียร

การแพร่กระจายนวัตกรรม


แพร่กระจายนวัตกรรม
การแพร่กระจายนวัตกรรม ความหมายการแพร่กระจายนวัตกรรม                        กระบวนการในการแพร่กระจายความคิดใหม่ หรือ เทคโนโลยีต่างๆ ไปทั่วระบบสังคมหนึ่งๆ โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

คุณสมบัติและลักษณะของการแพร่กระจายนวัตกรรมทางการศึกษา

                        1.  ค่าใช้จ่ายในการจัดหา และการใช้นวัตกรรมนั้นต้องไม่แพงจนเกินไป                        2.  ความสะดวกในการใช้นวัตกรรม                        3.  นวัตกรรมที่ทำสำเร็จรูป                        4.  ความยากง่ายในการใช้นวัตกรรม                        5.นวัตกรรมที่สร้างขึ้นในสังคมที่มีลักษณะต่างจากสังคมที่จะใช้นวัตกรรมนั้นๆ มากๆ จะมีผลต่อการไม่ยอมรับนวัตกรรมนั้นๆ เช่นกันการแพร่กระจายนวัตกรรมนั้น  ควรพิจารณาถึง 5 องค์ประกอบหลักคือ1.  ตัวนวัตกรรม สามารถมองเห็นประโยชน์ได้ มีคุณค่าต่อสังคมหรือหน่วยงานนั้นจริงๆ  มีความไม่แตกต่างในปัจจุบันและเข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน  ไม่มีความยุ่งยากในการใช้ สามารถทดลองใช้ได้  และสุดท้ายสามารถสังเกตเห็นได้2. การสื่อสาร   จะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีวิถีชีวิตเหมือนกัน กลุ่มคนแบบนี้สามารถแพร่กระจายนวัตกรรมไม่ยากนัก แต่ถ้ากลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกัน การแพร่กระจายนวัตกรรมจะเป็นไปค่อนข้างยาก3. ช่องทาง  จะเป็นการสื่อสารในลักษณะ 2 แบบ คือการสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารกับสื่อมวลชนต่างๆ 4. เวลา     จะเป็นกระบวนการตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรที่สามารถทำให้มีการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มคน  ซึ่งมีขั้นตอนต่อไปนี้  การให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆ มีการโน้มน้าวจูงใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับ และถ้ายอมรับ  จะนำไปใช้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ ยาวนานแค่ไหน5. ระบบของสังคม  ในสังคมของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งจะมีบรรทัดฐานว่า จะมีการยอมรับกันแค่ไหน  มีผู้นำทางความคิดที่จะสามารถไปชี้แนะให้ความรู้ได้อย่างไร  มีผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีหน้าที่โดยตรง หรือมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มคนนั้นที่มีการยอมรับนวัตกรรม        วิธีการแพร่กระจายนั้นอาจกระทำได้โดยการ จัดกลุ่มสัมมนา อภิปราย และการสาธิต เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทดลอง  ปฏิบัติให้เห็นผลจริง  และให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น หากว่าได้มีการนำไปใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานของตน ลักษณะการเผยแพร่นวัตกรรมดังกล่าวนี้ จะสามารถสร้างเครือข่ายของการเผยแพร่นวัตกรรมได้เป็นอย่างดี  กลุ่มผู้ที่รับนวัตกรรมเร็วเหล่านี้ ก็จะนำเอานวัตกรรมไปเผยแพร่ในสังคมถาวรของแต่ละสังคมของตนอีกขั้นตอนหนึ่ง  จากนั้นก็จะมีการติดตาม  และประเมินผลการใช้ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ                        กลุ่มของผู้รับนวัตกรรมสามารถแบ่งได้  5  ประเภท คือ                        1. นักนวัตกร   ( Innovators ) มีหน้าที่ผลิตนวัตกรรม  มีอยู่ประมาณ  2.5%                        2. ผู้รับนวัตกรรมเร็ว  ( Early  Adopters )  มีอยู่ประมาณ  13 %                        3.  ผู้รับนวัตกรรมค่อนข้างเร็ว  ( Early  Majorty )  มีอยู่ประมาณ  34 %                        4.  ผู้รับนวัตกรรมค่อนข้างช้า  ( Late  Majority )  มีอยู่ประมาณ  34  %                        5.  ผู้ล้าหลัง  ( Laggards )   มีอยู่ประมาณ  16 %                        โดยความคิดส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่า นักนวัตกรรมมีความสำคัญยิ่ง คือจะต้องมีกลยุทธ์ในการเผยแพร่นวัตกรรมเพื่อให้นวัตกรรมนั้นเข้าสู่ผู้รับได้อย่างรวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการเข้าถึงตัวผู้รับโดยตรง กระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรมของบุคคล                       กระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม คือ  ขั้นตอนซึ่งบุคคล หรือกลุ่มบุคคลมีปฏิกิริยากับนวัตกรรม Rogers แบ่งกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรมออกเป็น 5 ขั้นตอน  ได้แก่        1. ขั้นความรู้(Knowledge) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักต่อนวัตกรรม โดยเมื่อบุคคลได้มีโอกาสพบเห็นนวัตกรรมและคุณลักษณะต่าง ๆ ของนวัตกรรม  บุคคลอาจกระตือรือร้น(Active)ในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากแหล่งสารต่าง ๆ อาทิ สื่อสารมวลชน ผู้นำทางความคิดในขณะที่บุคคลบางกลุ่มไม่กระตือรือร้น (Passive) โดยได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วยความบังเอิญ  หรือเนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้เผยแพร่ข่าวสาร      2. ขั้นการโน้มน้าวใจ(Persuasion) โดยสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลในช่วงเวลานี้ ได้แก่  การที่บุคคลเริ่มมีความคิดเห็น  หรือมีการเปรียบเทียบนวัตกรรมทั้งในด้านผลดีและผลเสีย  โดยในช่วงเวลานี้ผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่นวัตกรรมจะต้องพยายามให้ข้อมูลเพื่อให้บุคคลให้ความสนใจนวัตกรรมและมีทัศนคติที่ดีต่อนวัตกรรม      3. ขั้นการตัดสินใจ(Decision)  เป็นขั้นตอนที่บุคคลประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เช่น ข้อมูลต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม  ความคิดเห็นของตนและคนใกล้ชิดเกี่ยวกับนวัตกรรม  ทรัพยากรต่าง ๆ  ที่จำเป็นต้องใช้  หากมีการยอมรับนวัตกรรม    4. ขั้นการดำเนินการ(Implementation)  เป็นขั้นตอนที่บุคคลจะเริ่มนำนวัตกรรมที่ตนตัดสินใจรับมาใช้ หรือทดลองใช้โดยในขั้นนี้ข้อมูล  ข่าวสารมีบทบาทสำคัญมาก ๆ ต่อการรับนวัตกรรม  โดยเฉพาะข้อมูลที่มีเนื้อหาสะท้อนให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรมต่อบุคคล  ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานที่ซึ่งสามารถเข้าถึงนวัตกรรมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้นวัตกรรม  เป็นต้น  โดยข้อมูลต่าง ๆ  เหล่านี้จะมีผลต่อการยืนยันใช้นวัตกรรมต่อไป      5. ขั้นการยืนยัน(Confirmation)  เป็นขั้นตอนที่บุคคลมักจะแสวงหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อยืนยันความคิดที่ว่าตนสมควรรับนวัตกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องหรือ  ตนสมควรปฏิเสธนวัตกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องโดยในขั้นตอนนี้บุคคลที่เคยปฏิเสธนวัตกรรม  อาจเปลี่ยนใจกลับมารับนวัตกรรมก็ได้  ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้รับข้อมูลข่าวสารในด้านที่ดีเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น  ในขณะเดียวกันบุคคลที่รับนวัตกรรมไปแล้ว  อาจเกิดการลังเล  สันสนหรือตัดสินใจยุติการรับนวัตกรรมนั้นก็ได้  หากได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมในด้านไม่ดี         
หมายเลขบันทึก: 118876เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท