เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ backward design


backward design

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ backward  design
       การเรียนการสอนโดยใช้ backward  design เป็นเรื่องใหม่ของครู เดิมคิดว่าเป็นการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ แต่เมื่อได้รับการอบรมไปแล้วรู้สึกว่าเป็นการแก้ปัญหานักเรียนในกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา เมื่อนำมาสอนกับนักเรียน นักเรียนเริ่มชอบและสนุก
 การเรียนการสอนโดยใช้ backward  designมี ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๑.ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์แบ่งเป็น
 ๑.๑กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
 ๑.๒ ความเข้าใจที่คงทน
 ๑.๓ จิตพิสัย/คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 ๑.๔ ทักษะคร่อมวิชา/ความรู้และทักษะเฉพาะวิชา     
๒.ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดร่องรอยหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุผลตามเป้าหมายที่พึงประสงค์
๓.ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และจัดการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่สอนให้ชื่อว่า สถาปนิกน้อย
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ( Theme )  สถาปนิกน้อย
สอน ชั้น ป.๖   เวลาเรียน  ๑๐  ชั่วโมง
Concept  ๑. สนุกกับการหาพื้นที่
                 ๒. พื้นที่กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตประจำวัน
                 ๓. เกษตรทฤษฎีใหม่
                 ๔. เรขาคณิตสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ ๑ กำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
การกำหนดรายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้
๑.อะไรบ้างที่นักเรียนต้องรู้สึก และรู้จริง มีอะไรบ้าง
(ท่านสามารถสืบค้นจากเอกสารหลักสูตรได้)
     ๑.๑. การหาพื้นที่ของรูป สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม วงกลมและรูปหลายเหลี่ยม
     ๑.๒ รู้และบอกส่วนประกอบของรูปต่างๆได้ถูกต้อง
๒. เมื่อนักเรียนได้มีความรู้แล้วนักเรียนจะต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง
     ๒.๑ หาความยาวและพื้นที่รวมทั้งใช้สูตรในการหาพื้นที่ได้
     ๒.๒ คาดคะเนพื้นที่เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
 ๓. นักเรียนต้องทำอะไรได้บ้าง หรือควรมีพฤติกรรมอะไร
     (ทำพฤติกรรมนั้นแล้วมีประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร ต่อสังคมอย่างไร ต่อประเทศชาติ ถ้าไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ
     ๓.๑ คาดคะเนความยาว ระยะทาง พื้นที่ เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
     ๓.๒ วัดความยาว ความกว้าง รัศมี ความสูงของรูปเรขาคณิตได้ถูกต้อง
๔. นักเรียนจะเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามนโยบายของสถานศึกษาและคุณค่าที่ต้องการให้ติดตัวนักเรียนและนำไปปฏิบัติจนเป็นนิสัย (จิตพิสัย) มีอะไรบ้าง
 นักเรียนมีความละเอียดรอบคอบ ตระหนักและเห็นคุณค่าในการหาพื้นที่
๕. คำถามสำคัญที่จะทำให้นักเรียนได้รู้ ได้คิด ได้ปฏิบัติ ได้นำความรู้ไปใช้ (คำถามรวบยอด) คืออะไร
 ถ้านักเรียนไม่มีความรู้ในการหาพื้นที่จะมีผลกระทบใดและมีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไร
มีการตรวจสอบมาตรฐานการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ ชั้น ป.6
มาตรฐานที่ ค.๒.๑ เข้าใจพื้นที่เกี่ยวกับการวัด
 ค.๒.๑.๑ เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาว การวัดพื้นที่และการวัดปริมาตร
 ค.๒.๑.๓ เลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดที่เป็นมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม
 ค.๒.๑.๔ บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดในระบบเดียวกัน
มาตรฐานที่ ค.๒.๒
 ค.๒.๒.๒ หาความยาว พื้นที่ ... และใช้สูตรได้
 ค.๒.๒.๕ คะเนความยาว ระยะทาง พื้นที่ ...เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ ค.๒.๓
 ค.๒.๓.๑ นำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้
ความรู้และทักษะเฉพาะวิชา
๑.เลือกใช้เครื่องมือวัดความยาวได้ถูกต้องและเหมาะสม
๒.มีความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาวและการวัดพื้นที่ได้
๓.สามารถวัดความยาวและหาพื้นที่จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
๔.บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดได้
๕.สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวัดพื้นที่ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะคร่อมวิชา
 กระบวนการคิด
 กระบวนการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ ๒ กำหนดร่องรอยการเรียนรู้
สร้างแผนผังการประเมินซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมและแบบการประเมินตามความรู้และทักษะเฉพาะวิชาที่กำหนด
ขั้นตอนที่ ๓ การออกแบบการเรียนรู้  กำหนดภาระงานเช่นให้นักเรียนออกแบบแผนผังการจัดสวนหย่อมบริเวณรั้วโรงเรียน กว่าที่นักเรียนจะทำชิ้นงานเหล่านี้ได้ นักเรียนต้องเกิดทักษะก่อน

หมายเลขบันทึก: 118857เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับตัวอย่าง bw design คับ จะลองนำไปปรับใช้ดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท