แผนแม่บทศูนย์การจัดการเรียนรู้ สพท.อบ.5


แผนแม่บทศูนย์การจัดการเรียนรู้

แผนแม่บทศูนย์การจัดการเรียนรู้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5พ.ศ.2550-2552 

วิสัยทัศน์ 

                       ในปี พ.ศ. 2552 บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงใช้ประโยชน์จาก ศูนย์การจัดการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (Knowledge Management Center: KM) และร่วมมือเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต นำไปสู่การสร้างองค์กรแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้  

พันธกิจ

                         พัฒนาศูนย์การจัดการเรียนรู้ (Knowledge Management Center: KMC) เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ผู้นำแห่งการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสำนักงานและในสถานศึกษา นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดการให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ ได้ตรงตามความต้องการ ทันเวลา และทันสมัย สร้างบรรยากาศทางวิชาการที่อิสระ แต่จริงจัง แต่มีกรอบปฏิบัติ และมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ 

วัตถุประสงค์

                         1. เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรในสำนักงาน สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                         2. บุคลากรสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการจัดการศึกษา

                         3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากร และให้บุคลากรทุกคนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่ตลอดเวลา มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีคุณธรรม

                         4. สร้างความมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการนำมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ และพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 

เป้าหมาย

                         1.   พัฒนาศูนย์การจัดการเรียนรู้ สพท.อบ.5 (Knowledge Management Center: KMC)

                          2.   พัฒนาระบบเครือข่ายการจัดการความรู้จากสำนักงานสู่สถานศึกษา

                          3.   พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ 

ยุทธศาสตร์

                         เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของการพัฒนา แผนแม่บทฉบับนี้จึงกำหนดยุทธศาสตร์หลักขึ้น 3 ด้าน ซึ่งบุคลากรในองค์กรจะมีพันธกิจร่วมกันในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนในช่วง พ.ศ.2550-2552 เพื่อนำศูนย์การจัดการเรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างศักยภาพในการในการจัดการศึกษา เพื่อบุคลากรสามารถเรียนรู้ได้ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อก่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
                         ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการความรู้ที่เน้นบุคลากรเป็นศูนย์กลาง (People Center)
                         ยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม (Innovative Leadership)
                         ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเป็นองค์กรที่มีการให้บริการ/การพัฒนาเป็นเลิศ (Services and Development Excellence) 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการความรู้ที่เน้นบุคลากรเป็นศูนย์กลาง (People Center)
                          ส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลกรใช้ประโยชน์จากศูนย์การจัดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นให้มีการจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation Acquisition) การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage) การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution) การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน ICT ในการปฏิบัติงาน เร่งให้มีระบบคอมพิวเตอร์ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต(Life Long Learning)นำไปสู่สังคมแห่งปัญญา การเรียนรู้ 
เป้าหมาย
                                1.   มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดหาหรือสร้างขึ้น เพื่อการเรียนรู้ในทุกระดับ
                                2.   บุคลากร สร้างเนื้อหา จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ ได้อย่างน้อย 500 เรื่อง
                                 3.   พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถสร้างเนื้อหา จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ ได้อย่างน้อย 300 คน
                                4.   มีบุคลากรที่สามารถเข้าถึงและใช้ ศูนย์การจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1,500 คน
                                5.   สร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อใช้ทรัพยากรสารสนเทศ และประสบการณ์ร่วมกันได้ 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม (Innovative Leadership)
                         ส่งเสริม สนับสนุน ให้กลุ่มในสำนักงานและสถานศึกษาในสังกัด ใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการบริหารจัดการด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทุกระดับ พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารงานในระบบงานต่างๆ และจัดให้มีระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม ตลอดจนพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างมีจริยธรรม และคุณธรรม
เป้าหมาย
                                1.   มีการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นระบบในทุกระดับ
                                2.   พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ทุกกลุ่มให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ
                                3.   พัฒนาบุคลากรในสำนักงานและสถานศึกษา ให้สามารถใช้ ดูแล บำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อย่างน้อย 300 คน
                                4. บุคลากรมีจริยธรรม และคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเป็นองค์กรที่มีการให้บริการ/การพัฒนาเป็นเลิศ (Services and Development Excellence)
                         สร้างทีมงานแห่งการเรียนรู้ ทีมผู้บริหาร ทีมผู้ปฏิบัติงาน และทีมผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วร่วมสร้างชุมชนแห่งความรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีความเป็นอิสระปลอดจากการครอบงำ สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีการเรียนรู้เป็นทีม และมีกระบวนทัศน์แบบเป็นองค์รวม เพื่อก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนางานทุกกระบวนการพร้อม ๆ กัน บุคลากรกระตือรือร้นในการพัฒนางานได้แสดงศักยภาพ และได้พัฒนาตนเองหลาย ๆ ด้าน ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีการให้บริการ/การพัฒนาเป็นเลิศ                         เป้าหมาย
                                1. กำหนดให้มีคณะทำงาน หรือการสร้างทีมงานในแต่ละกลุ่ม/โรงเรียน ร่วมกันพัฒนากระบวนการทำงาน
                                2. กำหนดกรอบความรู้ที่ต้องการให้ชัดเจน
                                3. จัดทำผังดำเนินงาน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน โดยการสร้างความรู้ การรวบรวมและการจัดเก็บเพื่อเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวโดยให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปรับปรุงผังดำเนินงาน
                                4. สร้างเงื่อนไขให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ของบุคคลในองค์กร จะช่วยแก้ปัญหาให้งานสำเร็จและมีประสิทธิภาพขึ้น
                                5. พัฒนาศูนย์การจัดการความรู้ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป หรือความต้องการขององค์กร

หมายเลขบันทึก: 118006เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 07:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท