นวัตกรรมเกี่ยวกับกระบวนการคิดวิเคราะห์


ตกปรับปรุงกระบวนการคิดวิเคราะห์จากสมศ
การอ่านมีคุณค่า พัฒนาการเรียนรู้ นำสู่กระบวนการคิด วิเคราะห์ที่มาของนวัตกรรม1.ทำอย่างไรนักเรียนจะสามารถอ่านหนังสือได้คล่องขึ้นและได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมจากการอ่าน2.ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะเห็นความสำคัญของการอ่านและมีนิสัยรักการอ่าน3.ทำอย่างไรนักเรียนจะมีนิลักษณะนิสัยที่แสวงหาความรู้4.จากการประเมิน สมศ.รอบแรก นักเรียนต้องปรับปรุงมาตรฐานที่4 เรื่องการคิด วิเคราะห์ ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ จากสภาพปัญหาของโรงเรียน ที่มาของปัญหาและความต้องการ คือ        โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. รอบแรก เมื่อวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2548   ปรากฏว่าผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 4 ต้องปรับปรุงเรื่องกระบวนการคิดวิเคราะห์   ดังนั้นในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. รอบที่สอง ทางโรงเรียนจึงต้องหาวิธีการ กิจกรรมและนวัตกรรมที่จะพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้กับนักเรียน   จากกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  สามารถเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้เกิดกับนักเรียนได้ การคิดค้นวิธีแก้ปัญหา        ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับนักเรียนหลายๆกิจกรรม  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนใช้การอ่านเพื่อแสวงหาความรู้    ส่งเสริมคุณธรรมในด้านต่างๆ    ส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์  เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการจัดที่น่าสนใจ สนุก และ เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียน พร้อมทั้งมีการเสริมแรง โดยการยกย่อง ยอมรับ หรือมอบรางวัลให้กับนักเรียนที่มีความกระตือรือร้น และสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ดี  ทำให้นักเรียนให้ความร่วมมือ และตั้งใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจ วิธีดำเนินการ        1. ศึกษาทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้อง        1.1 หลักสูตรการประถมศึกษา พ.ศ.2542  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545      1.2 ศึกษาจากหนังสือ        1.3 จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน        2. ประมวลความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเอกสารที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมมีจำนวน 8 กิจกรรม        กิจกรรมที่1 หนังสือคือ เพื่อนรัก        กิจกรรมที่2 ข่าวเด่น วันนี้        กิจกรรมที่3 สารานุกรมไทย ให้ความรู้        กิจกรรมที่4 หาคำผิดในชีวิตประจำวัน        กิจกรรมที่5 ข้อคิดสะกิดใจ ในนิทานเรื่องโปรด        กิจกรรมที่6 อ่านเพลงไพเราะแล้วเจาะลึก        กิจกรรมที่7 การอ่านเป็นสะพานสู่ความคิด ประโยชน์/คุณค่าของนวัตกรรมและการพัฒนาต่อยอด        เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อเพิ่มคุณค่าพัฒนาการอ่าน ประสานการเรียนรู้ สู่กระบวนการที่ทำให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ แนวคิดในการพัฒนาต่อยอด        กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาสู่กระบวนการคิด วิเคราะห์  สามารถนำมาบูรณาการกับทุกสาระการเรียนรู้ เช่น ภาษาไทย  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ศิลปะดนตรี  ตลอดจนบูรณาการกับโครงการต่างๆ ของ โรงเรียน เช่น โครงการห้องสมุด ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม        การที่เราจะสอนให้นักเรียนของเราประสบความสำเร็จในการอ่านนั้น ไม่ใช่การบังคับให้เขาอ่านหนังสือทุกๆวัน การถูกบังคับขู่เข็ญ ที่ปราศจากความสมัครใจ ย่อมทำให้การอ่านล้มเหลว ในทางตรงกันข้าม  การนำกิจกรรมที่ทำให้น่าสนใจ  สนุก  ให้อิสระนักเรียนได้เลือก  จะทำให้นักเรียนรู้สึกสบายใจ  เต็มใจ ไม่รู้สึกเหมือนการถูกบังคับ  ซึ่งจะได้รับความร่วมมือและความกระตือรือร้นจากนักเรียนในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านได้เป็นอย่างดี                                                                                                                      นางสาวเนาวะรัตน์  ถาวร                                                                                                             ผู้จัดทำ 
หมายเลขบันทึก: 117074เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณ  ที่ท่านเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้รับความรู้จากท่าน  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
เขียนได้ดีมากค่ะ

สวัสดีครับ เป็นบทความที่ดีครับ

ครูชายขอบ ชื่อแปลกดีนะคะ (หัวเราะ)เขียนได้ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท