ครูสระแก้ว
นาง สุมนฉัตร์ สุมนฉัตร์ สีมาคูณ

รู้หน้ารู้ใจ


นวัตกรรม

หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม    รู้หน้า รู้ใจ

โรงเรียนบ้านชุมทอง   อำเภอคลองหาด  จังหวัดสระแก้ว*****************************************************************
ชื่อ สกุล ผู้พัฒนานวัตกรรม นางสุมนฉัตร์   สีมาคูณ    ตำแหน่ง ครู
                โทรศัพท์ 086-1430540  โทรศัพท์  037-260-456 (โรงเรียน) สภาพปัญหาก่อนการพัฒนาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดความมุ่งหมาย และหลักการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) และแนวการจัดการศึกษายังให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (มาตรา 22) ในการจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาซึ่ง เรื่องหนึ่งที่กำหนดให้ดำเนินการคือเรื่องความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งนี้การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาอีกทั้งยังมีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลใน ชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้น ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงเป็นระบบที่สามารถดำเนินการเพื่อรับการประกันคุณภาพได้ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านปัจจัย ด้านผลผลิต และด้านกระบวนการสภาพทั่วไปของโรงเรียนบ้านชุมทอง  นักเรียนบางส่วนมีปัญหาด้านพฤติกรรม อันเนื่องมาจากค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง และส่วนหนึ่งถูกผู้ปกครองปล่อยภาระการดูแลให้กับปู่ย่า ตายาย และญาติ ส่งผลให้นักเรียนมีความเบี่ยงเบนพฤติกรรมเช่น  การคบเพื่อนต่างเพศฉันท์ชู้สาวก่อนวัยอันควร  การลักขโมย เจ้าอารมณ์ เก็บตัว เฉื่อยชา ขาดความรับผิดชอบ ขาดเรียนบ่อย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  หากปล่อยให้พฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวนักเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ โดยไม่มีการป้องกันแก้ไขช่วยเหลือแล้ว  แนวโน้มอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของนักเรียนในทุกๆ ด้าน เช่นด้านการเรียน   ด้านการปรับตัวในครอบครัว ในโรงเรียนและการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตได้ หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหา ซึ่งจะต้องสูญเสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม กลายเป็นกำลังคนที่ด้อยคุณภาพของประเทศ  ก่อปัญหาและเป็นภาระให้แก่สังคมและประเทศชาติต่อไปแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพของนักเรียนที่ทางโรงเรียนบ้านชุมทองดำเนินการช่วยเหลือและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้  โดยการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1  ได้จัดการอบรมและประเมินผลงานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2549 ได้จัดทำเอกสารคู่มือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้โรงเรียนได้นำไปพัฒนาใช้ในโรงเรียนและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ  ซึ่งโรงเรียนบ้านชุมทอง ได้นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาใช้ โดยได้รับความร่วมมือของครู  นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน  โดยทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมต่าง เช่น กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมการโฮมรูม กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียนก่อนเปิดเรียน ก่อนปิดภาคเรียน    ซึ่งจากการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมดังกล่าว ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านชุมทอง ในภาพรวมของโรงเรียนดีขึ้นในทุก ด้าน  การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการปฏิบัติงานมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ

1.   การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.   การคัดกรองนักเรียน
3.   การส่งเสริมนักเรียน
4.   การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.   การส่งต่อ

     

ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา

1.    ขั้นเตรียมการ1.1    จัดทำโครงการ
1.2     
แต่งตั้งคณะกรรมการ
1.3     
เตรียมแบบประเมินต่าง    เช่น แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก   แบบบันทึกการจัดกิจกรรมโฮมรูม แบบบันทึกการให้คำปรึกษาเบื้องต้น แบบศึกษาเด็กรายบุคคล  แบบการคัดกรองนักเรียน แบบเยี่ยมบ้าน แบบบันทึกการติดต่อกับผู้ปกครอง แบบการส่งต่อนักเรียน ฯลฯ       1.4     เตรียมบุคลากรประกอบด้วยบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่
                   -   
ทีมนำ คือ หัวหน้างานฝ่ายปกครอง  หัวหน้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หัวหน้างานแนะแนว
                    -  
ทีมประสาน คือ หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน  ครูวิชาการ  หัวหน้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                    -   
ทีมทำ คือ   ครูประจำชั้นทุกชั้น ผลงานที่เกิดจากการดำเนินงาน          ผลงานที่เกิดจากการดำเนินงาน  แบ่งออกเป็น  3  ด้าน  คือ1.    ด้านผู้เรียน2.    ด้านครู3.    ด้านสถานศึกษาด้านผู้เรียนนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหาที่แท้จริง การเยี่ยมบ้านนักเรียน  โดยใช้วิธีการสังเกต  การสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครองและเพื่อนบ้าน ทำให้ทราบสาเหตุ  ปัญหาและเกิดสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น นักเรียนรู้จักตนเอง และควบคุมตนเองได้  นักเรียนมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเป็นบุคคลที่มีความสามารถทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง  โดยผ่านการดำเนินการด้วยการส่งเสริม สนับสนุนนักเรียน  การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง  ด้านครู          ครูมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนและมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน ครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ในการดำเนินการต่าง เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้วยความรักความเมตตาที่มีต่อศิษย์ และความภาคภูมิใจ ในบทบาทที่มีส่วนสำคัญ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้งอกงามเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม ซึ่งทำให้ครูเกิดความภาคภูมิใจมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนและมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน ด้านสถานศึกษาโรงเรียนมีการจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นการดูแลนักเรียนในองค์รวม เพื่อการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่ประพฤติดี มีความรู้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขซึ่ง เป็นแนวทางกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา  ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนได้รับการยอมรับจากบุคคลภายนอก  สรุปผลการพัฒนานวัตกรรม1.    นักเรียนได้รับการแก้ไขปัญหา ตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล2.    นักเรียนมีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่าง มีความสุข3.    มีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน4.    การจัดระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน ควรเน้นการดูแลนักเรียนในองค์รวม เพื่อการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่ประพฤติดี มีความรู้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข5.    เป็นแนวทางกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ด้วยการใช้เครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

   การขยายผลและการพัฒนานวัตกรรม1.    เป็นแนวทางในการสร้างความตระหนักในการดูแลนักเรียนแก่ผู้ปกครองและครู2.     เป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน และครู3.    เป็นวิธีการสร้างความร่วมมือในการทำกิจกรรมศิษย์และลูก  ระหว่างผู้ปกครองและครู4.    การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ดีเกิดจาก ความตระหนัก ความเข้าใจ และความร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียน คุณครู และตัวนักเรียนเอง

                      

แผนภูมิการบริหารงาน โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ทีมนำ

นางสุรีย์ ศักดิ์คันธภิญโญ

หัวหน้างานแนะแนว
นางสุมนฉัตร์  สีมาคูณหัวหน้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นายสมพงษ์ ศักดิ์คันธภิญโญหัวหน้างานฝ่ายปกครอง
นายสหัส   นุ่มนวล 
                                                

 

ทีมประสาน

นางสุมนฉัตร์ สีมาคูณหัวหน้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นางละม้าย  เสนตาหัวหน้างานอนามัยโรงเรียน
นางสุรีย์  ศักดิ์คันธภิญโญ

หมายเลขบันทึก: 117043เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นความรู้ที่แปลกใหม่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท