รพ.เขาวง...บริการด้วยหัวใจ


ความดีเป็นสิ่งต้องทำ เพราะการทำความดีเป็นสิ่งสวยงาม ทำให้ทุกคนยิ้มได้อย่างมีความสุข

การพัฒนาระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์

รพ.เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 25 กรกฎาคม 2550ความสุขเป็นสิ่งประหลาดยิ่ง มันหาได้ลดน้อยลงเพราะท่านได้แบ่งปันให้ผู้อื่นไม่ หากท่านยิ่งแบ่งปันแก่ผู้อื่นมากเพียงใด ความสุขที่ท่านมีกลับเพิ่มพูนมากขึ้น เพียงนั้น ความดีเป็นสิ่งที่ทำ เพราะการทำความดีนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม ทำให้ทุกคนยิ้มได้อย่างมีความสุขเป็นคำพูดที่อยู่หลังปกหนังสือ ชีวิต คือความงาม งานคือความดี ที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเขาวง ที่บอกเล่าเรื่องราวของการทำความดีทั้งของเพื่อนร่วมงานและความรู้สึกของตนเองที่ได้ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ..ของความเป็นมนุษย์ หนังสือเล่มนี้ได้รับสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล หน้าปกเขาเขียนไว้อย่างนั้น เป็นที่มาของการสรุปบทเรียนของการไปศึกษาดูงานการพัฒนาระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanized healthcare) ที่รพ.เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 โดยผู้แทนของพรพ.และผู้แทนรพ.นำร่องอีก 4 แห่ง (ขาดรพ.ละงู) รวมแล้วประมาณ 50 คน           รพ.เขาวงเป็นรพ.ชุมชนขนาด 60 เตียง มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 137 คน มีคำขวัญประจำรพ. ว่า รอยยิ้มสดใส บริการด้วยใจ ห่วงใยทุกคน คุณหมอวารี (ทพญ.วารี) เล่าเรื่องการพัฒนาเจ้าหน้าที่ในรพ.ว่า เนื่องจากบริบทของรพ.เป็นเขา มีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่าภูไทย(ผู้ไทย) มีคำขวัญของอำเภอที่บ่งบอกถึงลักษณะคนอำเภอเขาวงได้ดี คำขวัญของอำเภอเขาวงมีดังนี้          เขาวงดงอู่ข้าว สาวผู้ไทยงาม น้ำตกพลิ้ว ทิวเขาเรียงราย มากมายผ้าห่ม อุดมวัฒนธรรม อ่างวังคำน้ำใส ทฤษฎีใหม่น้ำพระทัยในหลวง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          การพัฒนาคนควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพหลายๆระบบ จนได้การรับรองหลากหลายมาตรฐานเริ่มจาก ESB ,5 ส., พัฒนาองค์กร, PSO }Healthy workplace ระดับป้ายทอง , HPH HA , ยาเสพติดและมาตรฐานสุขศึกษา จนในปี 2550 ได้นำแนวคิดเรื่อง Humanized healthcare มาพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรพ. หลังจากได้ร่วมศึกษาดูงานที่มูลนิธิฉือจี้ ประเทศไต้หวัน ร่วมกับพรพ.และรพ.อีก 5 แห่ง ซึ่งรพ.เขาวงได้ร่วมกันทบทวนพบว่าการพัฒนาระบบบริการด้วยหัวใจนั้นได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2539 จึงได้ดำเนินการต่อ โดยมีแนวทางการพัฒนาสี่ด้าน ได้แก่ด้านบุคลากร ครอบครัว ผู้ป่วยและญาติรวมทั้งชุมชน (ดังภาพด้านล่าง)</p><p>            
 </p><p>เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันคิดนิยาม ไว้ว่า Humanized healthcare หมายถึงการให้บริการด้วยความเอาใจใส่ ดุจญาติมิตรดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ  เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับแนวทางการพัฒนาการบริบาลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ของรพ.เขาวงสรุปได้ดังนี้ </p><p>1.      ด้านบุคลากร  มีกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตใจและความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ </p><p>- สัมพันธภาพที่ดี จัดให้มีกิจกรรม OD เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใหม่และเก่า ได้เรียนรู้และทำความรู้จักกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยด้วย หลังจากกลับจาก OD ได้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์บทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรม มีประเพณีกีฬาสี ประเพณีเลี้ยงรับส่งเจ้าหน้าที่โดยแต่ละฝ่ายเตรียมอาหารมาร่วมกัน มีการประมูลของใช้ของเจ้าหน้าที่ที่จะย้าย เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือกองทุนการศึกษาบุตรหลานเจ้าหน้าที่ มีบอร์ดสำหรับอวยพรวันเกิดเจ้าหน้าที่และผู้อำนวยการร่วมเขียนคำอวยพร ทุกเดือน</p><p>- เอื้ออาทร มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เช่นกิจกรรมบายสีสู่ขวัญ ต้อนรับบุตรเจ้าหน้าที่ที่เกิดใหม่ เจ้าหน้าที่เจ็บป่วยเมื่อกลับมาทำงาน รดน้ำผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ และประเพณีประจำท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนนำลูกหลาน ครอบครัวมาร่วมกิจกรรมของรพ.ด้วย การมีกิจกรรมสามารถทำให้เจ้าหน้าที่ค้นหาศักยภาพของตนเองได้ เช่นเจ้าหน้าที่พยาบาลคนหนึ่งสามารถเป็นวิทยากรระดับจังหวัดได้</p><p>- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ระหว่างหน่วยงาน เช่นในกรณีที่มีโครงการและต้องใช้อัตรากำลังเสริมเช่นการรณรงค์ผ่าตัดต้อกระจก  พยาบาลผู้ป่วยในมาช่วยพยาบาลที่ OPD พยาบาลมาช่วยห้องปฏิบัติการในการคัดกรองผู้ป่วยในเวลาเช้าตรู่สืบเนื่องมาจากผู้ป่วยเบาหวานต้องอดอาหารมาเพื่อเจาะเลือด โดยพยาบาลและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการพูดคุยกันเองอย่างไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งได้พูดว่า การทำงานในรพ.เปรียบเสมือนกับการได้ทำบุญ ทุกวัน การมีกิจกรรมรณรงค์เช่นเรื่องต่อต้านเอดส์ การงดสูบบุหรี่ ทำให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านรวมตัวกันโดยอัตโนมัติ ชาวบ้านเห็นว่ารพ.เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน ชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือเช่นการอบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ เจ้าหน้าที่จะไปอบรมให้ในชุมชนนอกเวลาทำการโดยไม่ได้คิดค่าตอบแทนใดๆเพราะในเวลาทำการชาวบ้านไม่สะดวก เจ้าหน้าที่สามารถประชุมนอกเวลาได้ตลอดเวลา เพราะเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและสนุกสนานในการที่ได้คิดร่วมกัน โดยมีการสร้างบรรยากาศการประชุมที่สบายๆ ใส่ชุดอะไรก็ได้ และมีการรับประทานอาหารร่วมกัน</p><p>-ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่เป็นโครงสร้างและด้านจิตใจ เช่นมีกิจกรรม Big cleaning Day ทุกปี โดยทำในวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ทำทุกปีเพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ร่วมกันด้วย และผู้บริหารมาร่วมให้กำลังใจทุกครั้ง มีการคัดแยกขยะให้ละเอียดมากขึ้น มีการจุดประกายความดี เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟัง โดยให้เจ้าหน้าที่เล่าความดี เขียนลงในวารสารของรพ. มีการประกาศคุณงามความดี เช่นรายชื่อผู้บริจาคโลหิต มีข้อมูลสถานที่ติดต่อไว้สามารถติดตามเพื่อมาบริจาคได้ตลอดเวลา มีรางวัลให้กรณีบริจาคเกิน 7 ครั้งขึ้นไปการจุดประกายความดี โดยให้เขียนถึงความดีที่ทำหรือตั้งใจจะทำและปิดไว้ที่บอร์ด </p><p>2.      ครอบครัว  ·       มีประเพณีเยี่ยมกรณีคลอดบุตร ผูกข้อมือรับสมาชิกใหม่ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาวรพ.เขาวงด้วย ·       มีการจัด Day care เป็นศูนย์รับเลี้ยงลูกเจ้าหน้าที่เวลาทำงาน มีครูพี่เลี้ยง เพราะอยากให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างมีความสุข ไม่ห่วงหน้าพะวงหลังขณะทำงาน ·       มีการแข่งกีฬาสี โดยครอบครัวของเจ้าหน้าที่ร่วมแข่งด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องประชุมนอกสถานที่อนุญาตให้พาครอบครัวไปด้วย มีประเพณีวันพ่อ วันแม่ ·       เมื่อรพ.ได้รับรางวัลจะมีการพาเจ้าหน้าที่และครอบครัวไปเที่ยว ทำให้ครอบครัวของเจ้าหน้าที่สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทุกกิจกรรมของรพ.</p><p>3.      ผู้ป่วยและญาติ</p><p>·       เจ้าหน้าที่ห้องคลอดและ ANC มีโครงการ tour ห้องคลอด ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ลูก อนุญาตให้สามีดูแลภรรยา อยู่กับภรรยาระหว่างคลอดได้ </p><p>·       มีการจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย เช่นมีเปลสำหรับเด็กอ่อน มุมอ่านนิทาน ระบายสี</p><p>·       มีกิจกรรมคลายเครียดระหว่างรอตรวจ เช่นแสดงหมอลำให้สุขศึกษา สวดสรภัญญะ </p><p>·       ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ร่วมกับสถาบันธัญญารักษ์ มีแพทย์สาขากระดูกจากรพ.กาฬสินธุ์มาช่วยตรวจในวันเสาร์    </p><p> 4. ชุมชน</p><p>·       มีหมู่บ้านจัดการเบาหวาน </p><p>·       กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง รพ.ให้การสนับสนุนความรู้ สถานที่ในการประชุม</p><p>·       กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน ได้พบพระภิกษุป่วยเป็น CVA อยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูสภาพ จึงขอความร่วมมือไปยังเทศบาลช่วยปรับสิ่งแวดล้อมให้</p><p>·       มีศูนย์เด็กเล็ก จัดกิจกรรมร่วมกับครู ผู้ปกครอง สอนทำของเล่น</p><p>·       มีกองทุนจ้างแพทย์เฉพาะทางมาตรวจที่รพ.เขาวง</p><p>·       รพ.สืบสานประเพณีของชุมชนทุกประเพณี เช่นประเพณีแห่เทียน และการรณรงค์ต่างๆ เช่นไข้เลือดออก รณรงค์งดบุหรี่ </p><p>·       มีการประสานงานระหว่างแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ของรพ. หมอเหยารักษาผู้ป่วยในชุมชน หากผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในรพ.ต้องการรักษาหมอเหยา ก็จะอนุญาตให้รักษาได้ </p><p>สิ่งที่ได้เรียนรู้จากรพ.เขาวง         
หากเราจะดูที่กิจกรรมที่รพ.ทำอาจจะเหมือนกับอีกหลายๆรพ. แต่แนวคิดสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของกิจกรรมของเขามีความหมาย เขาพัฒนามาด้วยใจและเกิดจากการเรียนรู้ เกิดจากการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทีมงาน การพัฒนาบุคลากรของรพ.ใช้เวลานานพอสมควร โดยมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาคุณภาพ รพ.พัฒนาหลายมาตรฐาน แต่สามารถผ่านทุกมาตรฐาน เจ้าหน้าที่เกิดการเรียนรู้และปรับแนวคิด มีการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการพัฒนาความคิดเชิงบวกในทุกๆเรื่อง เริ่มมาจากการที่รู้หน้าที่ของตนเอง ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีก่อน และทำให้งานในหน่วยงานของตนเองบรรลุเป้าหมาย แล้วต่อมาได้ช่วยเหลือกัน รู้สึกอยากช่วยงานเพื่อนๆที่ต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ขยายความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ครอบครัวเป็นเครือข่ายออกไปสู่ชุมชน จนถึงระดับอำเภอ เคารพในสิ่งที่ชุมชนเคารพ เช่นประเพณีแห่เทียนพรรษา รพ.เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของชุมชน ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
          การที่จะได้ใจเจ้าหน้าที่นั้นส่วนหนึ่งมาจากการมีส่วนร่วมของครอบครัว การที่รพ.ดูแลครอบครัวเปรียบเสมือนกับครอบครัวเดียวกัน ให้ความเอื้ออาทรในทุกกรณีตั้งแต่ เกิด เจ็บป่วย ตาย ฯลฯ เป็นเพราะวิสัยทัศน์ของผู้นำที่กว้างไกลและเห็นบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง          </p><p>ทันตแพทย์ท่านหนึ่งพูดว่า จุดที่เปลี่ยนความคิดของเขาโดยให้บริการด้วยใจ เนื่องจากได้พบกับพระรูปหนึ่ง ทำให้ทันตแพทย์เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในการให้บริการ พระท่านบอกว่าผู้ให้บริการในรพ.ส่วนใหญ่จะเรียกว่า หมอคำว่าหมอนั้นมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ ท่านได้บอกความหมายของคำว่าหมอ ไว้ดังนี้          </p><p>ห หมายถึง การให้ และการมองหาสิ่งที่ไม่สบาย ความทุกข์ของคนไข้          ม หมายถึง มองผู้อื่นเป็นศูนย์กลางคือการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางนั่นเอง      </p><p>อ หมายถึง ความเอื้ออาทร การให้บริการด้วยความเอื้ออาทร ดุจญาติมิตร          </p><p>ทันตแพทย์ท่านนี้ได้นำมาปรับในการให้บริการทันตกรรม โดยเฉพาะในผู้รับบริการที่เป็นเด็ก อนุญาตให้แม่อุ้มเด็ก ให้เด็กนอนหนุนตักแม่ขณะทำฟัน อนุญาตให้เด็กนอนในท่าที่เขาต้องการ รู้สึกว่าเมื่อเด็กมีความสุขก็จะรู้สึกมีความสุขที่ได้ให้บริการด้วยใจ     </p><p></p>

คำสำคัญ (Tags): #เขาวง
หมายเลขบันทึก: 116022เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากกลับบ้านน้อยโนนสำราญจังแต่ไม่รู้จะไปทำอะไรงานโรงพยาบลพอมีบ้างไหมมีประสบการณ์งานเวชระเบียน 7 ปี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท