วันภาษาไทยแห่งชาติ


เป็นคนไทยต้องพูดภาษาไทยให้ถูกต้อง
รัก  อักษร สำเนียง เสียงสูงต่ำ
ชาติ  ไทยนำ ล้ำดี มีขานไข
รัก  ควบกล้ำ คำเพราะ เหมาะพูดไป
ภาษา  ภาษาไทย ใช้ถูก ปลูกนิยม
 
พูด  ชัดถ้อย ค่อยหัด สัมผัสจิต
อ่าน  ไม่ผิด คิดครวญ ล้วนเหมาะสม
เขียน  ให้ถูก ตามหลัก นักชื่นชม
ไทย  เกลียวกลม  เหตุภาษา ว่าหนึ่งเดียว...
 
๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๒ รัฐบาลได้ประกาศ ให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งประชาชนชาวไทยได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่าง ถูกต้อง และให้รักษาภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ก็เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเรื่องปัญหาการใช้คำไทยในการประชุม ครั้งนั้น ตอนหนึ่งว่าภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี............เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหา ที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก...นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาฯ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ตอนหนึ่ง ความว่าในปัจจุบันนี้ปรากฎว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทย เรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้......นอกจากภาษาไทยอันเป็นภาษากลางที่ใช้อยู่ทั่วไปแล้ว เราต้องอย่าลืมว่าภาษาถิ่นของภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานหรือภาคกลางก็เป็นภาษาไทยที่มีคุณค่าต่อเราเช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้เราสื่อสารกันด้วยความรู้ ความเข้าใจทั้งในการพูด อ่าน เขียนในปัจจุบันแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจความหมายของกวีนิพนธ์ คำสอน คำศัพท์โบราณ เรื่องราวต่างๆของคนในอดีต ฯลฯ อันมีผลต่อการศึกษาด้านจริยธรรม วรรณศิลป์และคติชนวิทยาอีกด้วย เช่น สุภาษิต นิทานชาดกทั้งที่เป็นมุขปาฐะคือบอกเล่าด้วยปากหรือวรรณกรรมที่มีการสอดแทรกคุณธรรมสอนเยาวชน เป็นต้นอย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันภาษาไทยอยู่ในสภาวะที่แปรผันเสื่อมโทรมลง ซึ่งมิใช่ เนื่องจากกาลเวลา แต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากคนไทยได้ละเลยต่อความสำคัญในการใช้ภาษาไทย ทั้งนี้ อาจจะเกิดจากระบบการถ่ายทอดที่ยังขาดประสิทธิภาพ ความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่แพร่กระจายหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเยาวชนในปัจจุบันยังมีพื้นฐานภาษาไทยด้อยลง และเข้าใจหลักการใช้ภาษาอย่างผิวเผิน ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้สุนทรียภาพ ความประณีต ไพเราะของถ้อยคำทำนองไทย สื่อมวลชนเองทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ก็มีการใช้ภาษาต่างประเทศและภาษาไทยที่ผิดเพี้ยนในการสื่อสารมากขึ้น ทำให้เยาวชนมีวิธีคิดและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องน้อยลง จนเป็นที่น่าวิตกว่าเอกลักษณ์ทางภาษาไทยกำลังจะสูญหายไปในที่สุดจริงอยู่ ภาษามีชีวิตและมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคตามสมัยเช่นเดียวกับมนุษย์ผู้สร้างที่มีการแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม และไม่ว่ายุคไหนๆย่อมมีคำใหม่ๆเกิดขึ้น คำเก่าบางคำก็อาจจะถูกทิ้งหรือลืมเลือนไปด้วยไม่รู้ความหมาย หรือไม่เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ อย่างไรก็ดี เราต้องไม่ลืมว่า ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็น ชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษแต่ละชาติแต่ละภาษา ได้สร้างสรรค์และสืบทอดต่อเนื่องไปยังลูกหลานของตน ทำให้อัตลักษณ์หรือตัวตนของชาติหนึ่งแตกต่างไปจากอีกชาติหนึ่ง ภาษาไทยเรา แม้จะมีการหยิบยืมคำในภาษาอื่นมาใช้ ก็ได้มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนจนมีลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจ ดังนั้น หากเราปล่อยให้ "ภาษาไทยของเรา เสื่อมโทรมหรือสูญหายไป ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะคิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยแล้ว ต่อไปในอนาคตเราจะเป็นเช่นไร?นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ได้เคยกล่าวในการแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ภาษาถิ่นก็ภาษาไทยเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๗ ว่า ในส่วนตัว เป็นคนที่มีความภาคภูมิใจที่ประเทศชาติของเรามีภาษาเป็นของตนเอง และภูมิใจเสมอเมื่อได้เห็นภาษาไทยปรากฏอยู่ที่หนึ่งที่ใดก็ตาม เวลาไปเห็นประเทศอื่นเขาใช้อักษรโรมันทับศัพท์ภาษาที่ เขาใช้ ยิ่งย้อนกลับมาภูมิใจบ้านตนเองที่มีอักษรของตนเอง ไม่ใช่เพราะความเป็นชาตินิยม แต่คิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คู่กับแผ่นดิน คู่กับความเป็นชาติของเรา....และในตอนท้ายท่านยังกล่าวอีกว่า“.......ไม่ใช่เป็นเรื่องล้าหลังที่เราจะต้องเรียนอดีตของเรา เพื่อรู้จักปัจจุบันของเรา เพื่อได้เห็นอนาคตของเรา เราจะไปทิศไหน ก็ตาม เราต้องดำรงความเป็นไทยของเราไว้ อย่าให้สิ่งข้างนอกมากลืนเราไปโดยบอกว่า นั่นคือการพัฒนา มิฉะนั้น เราจะเสียเอกลักษณ์ที่เรารักษามาตั้งเป็นพันปีอย่างน่าเสียดายที่สุด        
คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 115799เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ได้เคยกล่าวในการแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ภาษาถิ่นก็ภาษาไทยเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๗ ว่า ในส่วนตัว เป็นคนที่มีความภาคภูมิใจที่ประเทศชาติของเรามีภาษาเป็นของตนเอง และภูมิใจเสมอเมื่อได้เห็นภาษาไทยปรากฏอยู่ที่หนึ่งที่ใดก็ตาม เวลาไปเห็นประเทศอื่นเขาใช้อักษรโรมันทับศัพท์ภาษาที่ เขาใช้ ยิ่งย้อนกลับมาภูมิใจบ้านตนเองที่มีอักษรของตนเอง ไม่ใช่เพราะความเป็นชาตินิยม แต่คิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คู่กับแผ่นดิน คู่กับความเป็นชาติของเรา....

นี่ละคือความภาคภูมิใจขิงคนไทยค่ะ

ครับ


ใช่แล้วครับภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติเราต้องรักษามันไว้

เก่งมากเลยนะ   และก็ขอบคุณมากเลยนะคะที่เป็นคนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยของเราไว้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท