Geranun.com
นาย จีระนันท์ จิระบุญยานนท์

ทำ​อะ​ไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหา​โลกร้อน


ที่มา เว็บสารคดีครับ
 เพชร​ ​มโนปวิตร​ : ​รายงาน


​หลายคนที่มี​โอกาส​ได้​ชมภาพยนตร์​เรื่อง​ An Inconvenient Truth ​คงรู้สึกตรง​กัน​อย่างหนึ่งว่า​ ​อยากทำ​อะ​ไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหา​โลกร้อน​ ​และ​อย่างน้อยที่สุดก็อยาก​ให้​ทุกๆ​ ​คน​ได้​ดูภาพยนตร์​เรื่องนี้​ ​คง​จะ​ไม่​เป็น​การเกินเลยไปนัก​ ​หาก​จะ​เรียกขบวนการดังกล่าวว่า​เป็น​ภารกิจกู้​โลก​ ​เพราะ​วิกฤตการณ์​เกี่ยว​กับ​สภาวะ​โลกร้อน​นั้น​เกิดขึ้น​แล้ว​จริงๆ​ ​และ​กำ​ลังส่งผลกระทบอย่างกว้าง​ไกล​เกินจินตนาการ​

An Inconvenient Truth ​เป็น​ภาพยนตร์สารคดียาว​ ๑๐๐ ​นาทีที่ฉาย​ให้​เห็นวิกฤตการณ์สภาวะ​โลกร้อน​ (Global Warming) ​อย่างตรงไปตรงมา​และ​ลึกซึ้ง​ ​หนัง​ไม่​เพียงแต่นำ​เสนอข้อมูลวิทยาศาสตร์​ได้​อย่างมีพลัง​และ​น่าสะพรึงกลัว​ ​หาก​ยัง​สร้างแรงบันดาลใจ​ให้​แก่คนดู​ได้​อย่างน่าทึ่ง​

​หลัง​จาก​ภาพยนตร์​เข้า​ฉาย​ใน​ประ​เทศไทย​ ​ได้​มีการจัดเสวนา​เกี่ยว​กับ​ปัญหา​โลกร้อนขึ้นหลายครั้ง​ ​และ​เมื่อวันที่​ ๑๖ ​กัน​ยายนที่ผ่านมา​ ​ภาควิชาฟิสิกส์​ ​คณะวิทยาศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ ​ก็​ได้​จัดฉายภาพยนตร์​เรื่องนี้ที่​โรงภาพยนตร์สกาล่า​ ​พร้อมจัดกิจกรรมระดม​ความ​คิดเชิงวิชาการเกี่ยว​กับ​สภาวะ​โลกร้อน​ ​ซึ่ง​ได้​รับ​ความ​สนใจ​จาก​นักศึกษา​และ​บุคคล​ทั่ว​ไปอย่างมาก​
...................................................

ภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะบนยอด​เขา​คิลิมันจา​โร​ ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. ๑๙๗๐ (บน) ​และ​ปี​ ​ค​.​ศ​. ๒๐๐๐ (ล่าง)

An Inconvenient Truth ​ดำ​เนินเรื่อง​โดย​ ​อัล​ ​กอร์​ ​อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา​ ​สมัย​ ​บิลล์​ ​คลินตัน​ ​และ​ผู้​ท้าชิงตำ​แหน่งประธานาธิบดีปี​ ​ค​.​ศ​. ๒๐๐๐ ​ที่​แพ้การเลือกตั้ง​ให้​แก่​ ​จอร์จ​ ​ดับเบิลยู​ ​บุช​ ​ไปอย่างเฉียดฉิว​และ​น่า​เคลือบแคลง​

​กอร์​เล่าว่า​เขา​เริ่มสนใจปัญหาสภาวะ​โลกร้อนมาตั้งแต่สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด​ ​เมื่อศาสตราจารย์​โรเจอร์​ ​เรวีลล์​ ​นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่​เริ่มตรวจวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์​ใน​ชั้นบรรยากาศ​ ​ได้​นำ​ผลการตรวจวัด​ใน​ปี​แรกๆ​ ​มาบรรยาย​ใน​ชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ​ ​ผลการตรวจวัดดังกล่าวแสดง​ให้​เห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปรกติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​ใน​ชั้นบรรยากาศ​ ​ซึ่ง​ได้​กลาย​เป็น​หลักฐานสำ​คัญที่ชี้​ให้​เห็นว่า​โลกกำ​ลังมีปัญหา​ ​และ​การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้​เป็น​ผล​โดย​ตรง​จาก​การกระทำ​ของมนุษย์​

​เดวิส​ ​กุกเกนไฮม์​ ​ผู้​กำ​กับ​หนังสารคดี​เรื่องนี้นำ​เรื่องราวชีวิต​ส่วน​ตัวของกอร์มา​เป็น​ตัวดำ​เนินเรื่องคู่ขนาน​และ​ตัดสลับไปมา​กับ​การนำ​เสนอข้อมูลอันหนักแน่น​ได้​อย่างแยบคาย​

​จุดเปลี่ยนครั้งสำ​คัญ​ใน​ชีวิตของกอร์ที่ทำ​ให้​มุมมองต่อโลก​และ​ชีวิตของ​เขา​เปลี่ยนไปตลอดกาลคือ​ ​การที่​เขา​เกือบ​จะ​สูญเสียลูกชายสุดที่รักวัย​ ๖ ​ขวบไป​กับ​อุบัติ​เหตุรถชนที่​เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา​

​หลัง​จาก​ลูกชายของ​เขา​รอดตายมา​ได้​อย่างปาฏิหาริย์​ ​เขา​ได้​ให้​สัญญา​กับ​ตัวเอง​ ๒ ​ข้อ​ ​หนึ่ง​ ​ให้​ความ​สำ​คัญ​กับ​ครอบครัวก่อนเสมอ​ ​และ​สอง​ ​ให้​ความ​สำ​คัญ​กับ​วิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศ​เป็น​อันดับแรก​ใน​ชีวิตการทำ​งาน​

อัล​ ​กอร์​ ​ตระ​เวนเดินทางไป​ทั่ว​โลก​ ​เพื่อบอก​ให้​ทุกคนรับรู้​ถึง​ปัญหาที่พวก​เขา​กำ​ลังเผชิญ​อยู่

​หนึ่ง​ใน​ความ​สำ​เร็จที่กอร์ภูมิ​ใจคือ​ ​การมี​ส่วน​ช่วย​ให้​เกิดการบรรลุข้อตกลงของนานาชาติ​ใน​พิธีสารเกียวโต​ (Kyoto Protocol) ​เมื่อปี​ ​ค​.​ศ​. ๑๙๙๗ ​ซึ่ง​เป็น​พันธกรณี​ให้​ประ​เทศภาคีสมาชิก​ต้อง​ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาย​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. ๒๐๕๐ ​แต่ที่​เป็น​ความ​รู้สึกผิด​ใน​ใจก็คือ​ ​เขา​ยัง​ไม่​สามารถ​ผลักดัน​ให้​สภานิติบัญญัติของประ​เทศที่​เขา​อาศัย​อยู่​ให้​สัตยาบันต่อข้อตกลงนี้​ได้​

​หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี​ ​ค​.​ศ​. ๒๐๐๐ ​กอร์ยุติบทบาททางการเมือง​และ​กลับมา​เดินสายบรรยายเรื่องปัญหา​โลกร้อนอีกครั้ง​ ​ตลอดช่วง​ ๖ ​ปีที่ผ่านมา​ ​เขา​เดินทางไป​ทั่ว​โลก​ ​และ​ระหว่างที่​เขา​เดินสายบรรยาย​อยู่​ที่นครลอสแองเจลิส​ ​ลอรี่​ ​เดวิด​ ​นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม​และ​ผู้​กำ​กับ​ภาพยนตร์​ ​ได้​ชักชวน​ให้​ ​เจฟฟ์​ ​สกอลล์​ ​ผู้​บริหาร​ Participant Productions ​ซึ่ง​เป็น​บริษัทผลิตภาพยนตร์ระดับคุณภาพ​ ​เข้า​ไปฟังการบรรยายครั้ง​นั้น​ด้วย​ ​ความ​คิดที่​จะ​นำ​การบรรยายของกอร์มาทำ​เป็น​ภาพยนตร์​จึง​เกิดขึ้น​ ​เพื่อ​ช่วย​ให้​สาระสำ​คัญที่​เขา​พยายามพร่ำ​พูด​ได้​ส่งผ่านไป​ถึง​คน​ใน​สังคมโลก​ได้​รวด​เร็ว​ขึ้น​

​ปัญหา​โลกร้อน​ไม่​ใช่​เรื่อง​ใหม่​ ​ทว่าคน​ส่วน​ใหญ่​ไม่​เคย​ให้​ความ​สนใจ​กับ​เรื่องนี้อย่างจริงจัง​ ​กอร์​ได้​รวบรวมข้อมูลล่าสุด​และ​หลักฐานต่างๆ​ ​จาก​ทุกทวีป​ ​เพื่อลบล้าง​ความ​เชื่อเก่าๆ​ ​ที่ว่า​ ​มนุษย์ตัว​เล็กๆ​ ​อย่างเรา​จะ​สามารถ​สร้างผลกระทบที่สั่นสะ​เทือนไป​ถึง​ดินฟ้าอากาศ​ได้​อย่างไร​

​ความ​จริงก็คือชั้นบรรยากาศที่ห่มคลุมโลก​และ​ทำ​ให้​ดาวเคราะห์ดวงนี้​เป็น​ที่​อยู่​อาศัยของสิ่งมีชีวิต​นั้น​ ​เปราะบางกว่าที่​เราคิดมาก​ ​หากนำ​ลูกโลกจำ​ลองมา​เคลือบเงา​ ​ความ​หนาของชั้นบรรยากาศเมื่อเทียบ​กับ​โลก​ ​ก็คือผิวเคลือบบางๆ​ ​ชั้นนอก​เท่า​นั้น​เอง​ ​กลุ่มก๊าซเรือนกระจก​ (Greenhouse Gas) ​ใน​ชั้นบรรยากาศ​ ​อาทิ​ ​คาร์บอนไดออกไซด์​ ​มี​เทน​ ​ไนตรัสออกไซด์​ ​และ​สาร​ CFC ​ล้วนมีบทบาทสำ​คัญ​ใน​การดักจับ​ความ​ร้อน​ ​ซึ่ง​ความ​จริง​แล้ว​เป็น​สิ่งที่จำ​เป็น​ ​เพราะ​ด้วย​ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้​เองที่​ช่วย​ให้​โลก​ไม่​กลาย​เป็น​ดินแดนน้ำ​แข็ง​

​อย่างไรก็ตาม​ ​โดย​ปรกติ​ใน​ธรรมชาติมีก๊าซเหล่านี้​ใน​ปริมาณน้อยมาก​ ​แม้​แต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​ซึ่ง​เป็น​ก๊าซเรือนกระจกที่พบ​ได้​บ่อยที่สุด​ ​ก็​ยัง​พบ​ไม่​ถึง​ ๔ ​โมเลกุล​ใน​ทุกๆ​ ๑๐,๐๐๐ ​โมเลกุลของชั้นบรรยากาศ​ ​ความ​ที่มันมี​อยู่​น้อยมาก​ใน​ธรรมชาตินี้​เองที่​ช่วย​ให้​โลกเรา​ไม่​ร้อนจนกลาย​เป็น​เตาอบ​ ​ข้อเท็จจริงสำ​คัญอีกประการที่หลายคน​ไม่​รู้ก็คือ​ ​พลวัตของมวลก๊าซ​ ​ซึ่ง​ว่า​กัน​ว่าภาย​ใน​ระยะ​เวลา​เพียง​ ๑ ​สัปดาห์​ ​คาร์บอนไดออกไซด์ที่คุณเพิ่งหายใจออกมา​นั้น​อาจกลาย​เป็น​อาหาร​ให้​แก่พืช​ใน​อีกทวีปหนึ่ง​แล้ว​ ​และ​ด้วย​เวลา​ไม่​กี่​เดือน​ ​คาร์บอนไดออกไซด์ที่​เกิด​จาก​มนุษย์​สามารถ​ไหลเวียนไป​ทั่ว​โลก​ได้​อย่างสบายๆ​ ​ดัง​นั้น​ผลกระทบ​จาก​การปล่อยก๊าซเรือนกระจก​จึง​เป็น​ปัญหาที่กระทบ​ถึง​คน​ทั่ว​ทุกมุมโลก​

​ใน​หนังเรื่องนี้​ ​กอร์​เปรียบก๊าซเรือนกระจก​เป็น​วายร้ายที่คอยดัก​ไม่​ให้​ความ​ร้อนหนีกลับออกไปนอกโลก​ ​เมื่อวายร้ายมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ​ ​ความ​ร้อน​จึง​ถูกเก็บ​ไว้​ใน​ชั้นบรรยากาศ​ ​เกิด​เป็น​สภาวะ​เรือนกระจกที่ทำ​ให้​อุณหภูมิ​โดย​รวมสูงขึ้น​ ​ปัจจุบันอุณหภูมิ​เฉลี่ยผิวโลก​อยู่​ที่ราว​ ๑๔ ​องศา​เซลเซียส​ ​และ​มี​แนวโน้มสูงขึ้น​ ๐.๖-๐.๘ ​องศา​เซลเซียสทุกปี​

การเผา​ไหม้​เชื้อเพลิงฟอสซิลหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม​ ​ทำ​ให้​ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์​ ​หนึ่ง​ใน​กลุ่มก๊าซเรือนกระจก​ ​เพิ่มขึ้นอย่าง​ไม่​เคย​เป็น​มาก่อน​ใน​ประวัติศาสตร์​โลก​

​กอร์อธิบายว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำ​ให้​เกิด​ความ​ต้อง​การ​ใช้​พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ​ ​การเผา​ไหม้​เชื้อเพลิงฟอสซิล​ซึ่ง​ได้​แก่​ ​ถ่านหิน​ ​น้ำ​มัน​ ​และ​ก๊าซธรรมชาติ​ ​รวมไป​ถึง​การสุมเผาอัน​เป็น​วิธีตัดไม้ทำ​ลายป่า​แบบดั้งเดิม​ ​ล้วนแต่มี​ส่วน​ทำ​ให้​ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์​เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปรกติ​ ​เขา​ชี้​ให้​เห็น​ถึง​ความ​จริงข้อนี้อย่างชัดเจน​ใน​หนัง​ ​ด้วย​การขึ้นไปยืนบนเครนไฟฟ้าที่ยกตัวขึ้นตามเส้นกราฟคาร์บอนไดออกไซด์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ​ใน​ช่วง​ ๔๐-๕๐ ​ปีมานี้​ ​รวม​ถึง​แนวโน้ม​ใน​อีก​ไม่​กี่สิบปีข้างหน้า​ ​ข้อมูลนี้น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง​ ​โดย​เฉพาะ​เมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนกลับไป​ถึง​ ๖๕๐,๐๐๐ ​ปี​ ​ที่​แม้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์​จะ​มีวงจรขึ้นๆ​ ​ลงๆ​ ​ตามยุคน้ำ​แข็ง​ ๗ ​ยุค​ ​แต่​ไม่​เคยมีครั้งไหน​ใน​ประวัติศาสตร์ที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงผิดปรกติ​เช่นนี้​

​อุปสรรคสำ​คัญประการหนึ่ง​ใน​การแก้​ไขปัญหา​โลกร้อนคือ​ ​คน​ส่วน​มาก​ไม่​แน่​ใจว่า​ ​แท้จริง​แล้ว​สภาวะ​โลกร้อน​เป็น​ปัญหาจริงๆ​ ​หรือ​เป็น​เพียงการมองโลก​ใน​แง่ร้ายของนักวิทยาศาสตร์ช่างวิตกกลุ่มหนึ่งที่ทำ​ให้​คนตื่นตูม​กัน​ไป​ทั้ง​โลก​

​เพื่อยืนยันว่า​โลกกำ​ลังร้อนขึ้นจริงๆ​ ​กอร์​ได้​ฉายภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะ​ใน​อดีต​กับ​ปัจจุบันของสถานที่ต่างๆ​ ​ทั่ว​โลก​ ​เช่นที่​เทือกหิมาลัย​และ​คิลิมันจา​โร​ ​ซึ่ง​มีปริมาณหิมะลดลงอย่างเห็น​ได้​ชัด​ ​เขา​พา​ไปดูขั้วโลกเหนือ​ ​ขั้วโลก​ใต้​ที่​แผ่นน้ำ​แข็งกำ​ลังละลาย​และ​แตกออกอย่าง​ไม่​หยุดหย่อน​ ​ป่า​แอมะซอนที่กำ​ลังเสื่อมโทรม​ ​และ​ธารน้ำ​แข็ง​ทั่ว​โลกที่กำ​ลังหดตัวลงอย่างรวด​เร็ว​

​ปัญหา​โลกร้อน​ยัง​เป็น​ต้นเหตุสำ​คัญที่ทำ​ให้​สภาพภูมิอากาศ​ทั่ว​โลกแปรปรวน​ ​เพราะ​อุณหภูมิ​ใน​มหาสมุทรที่​เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการไหลของกระ​แสน้ำ​ที่​เชื่อมโยง​ถึง​กัน​หมด​ ​เขา​ยืนยัน​ด้วย​ข้อมูลทางสถิติของภัยธรรมชาติที่ทวี​ความ​รุนแรงอย่างเห็น​ได้​ชัด​ ​ทั้ง​ภาวะน้ำ​ท่วม​ ​ฝนแล้ง​ ​ไต้ฝุ่น​หรือ​พายุ​เฮอริ​เคนที่​เกิดขึ้นบ่อยครั้ง​และ​รุนแรงขึ้น​ ​โดย​ไม่​ลืมที่​จะ​เตือน​ให้​ทุกคนนึก​ถึง​เฮอริ​เคนแคทรีนา​ (Katrina) ​ที่​เข้า​ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์​เมื่อสิงหาคมปีที่​แล้ว​ ​นับ​เป็น​ภัยธรรมชาติครั้ง​ใหญ่​ที่สุดครั้งหนึ่ง​ใน​ประวัติศาสตร์ของชนชาติอเมริ​กัน​ ​โดย​ได้​คร่าชีวิต​ผู้​คนไปเกือบ​ ๒,๐๐๐ ​คน​ ​และ​สร้าง​ความ​เสียหายอีกกว่า​ ๘ ​หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ​

​หากโลก​ยัง​ร้อนขึ้นเรื่อยๆ​ ​ใน​ที่สุดแผ่นน้ำ​แข็งที่​แอนตาร์กติกา​หรือ​กรีนแลนด์อาจ​จะ​ละลายลง​ทั้ง​หมด​ ​และ​นั่นหมาย​ถึง​เภทภัยที่ร้ายแรงที่สุด​จะ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​จะ​ทำ​ให้​น้ำ​ทะ​เล​ทั่ว​โลกสูงขึ้นกว่า​ ๖ ​เมตร​ ​โดย​บริ​เวณที่​จะ​ได้​รับผลกระทบ​นั้น​มีตั้งแต่มหานครนิวยอร์ก​ ​เนเธอร์​แลนด์​ ​เซี่ยงไฮ้​ ​ปักกิ่ง​ ​โกลกาตา​ (กัลกัตตา) ​และ​บังกลา​เทศ​

​กอร์ยืนยันว่าประ​เด็นโลกร้อน​ไม่​ใช่​ข้อถกเถียงอีกต่อไป​ ​โดย​ได้​รีวิวบท​ความ​ที่ตีพิมพ์​ใน​วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์กว่า​ ๙๐๐ ​เรื่อง​ ​และ​พบว่า​ไม่​มีชิ้นไหนเลยที่​ให้​ผลขัดแย้ง​หรือ​โต้​เถียงว่าปรากฏการณ์​โลกร้อน​ไม่​ได้​เกิดขึ้นจริง​ ​ทั้ง​ต่างเห็นพ้อง​กัน​ว่าสา​เหตุหลัก​นั้น​มา​จาก​ฝีมือมนุษย์​ ​ถ้า​เช่น​นั้น​ความ​สับสนของคน​ใน​สังคมเกิดขึ้น​ได้​อย่างไร​

​คำ​ตอบ​อยู่​ที่บท​ความ​ประ​เภทแสดง​ความ​คิดเห็นที่ตีพิมพ์​ใน​สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ​ ​ซึ่ง​มีบท​ความ​กว่า​ ๕๐ ​เปอร์​เซ็นต์​แสดง​ความ​เคลือบแคลงว่าสภาวะ​โลกร้อน​ไม่​ใช่​เรื่องจริง​ ​แต่​เป็น​เพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ​ ​แน่นอนว่า​ถ้า​สังคมโลก​โดย​รวมยอมรับว่าสภาวะ​โลกร้อน​เป็น​ปัญหาจริงๆ​ ​และ​การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลาย​เป็น​สิ่งจำ​เป็น​หรือ​กลาย​เป็น​ข้อบังคับ​ ​นั่นหมาย​ถึง​ทุกคนบนโลก​ต้อง​เปลี่ยนแปลงวิถีการ​ใช้​ชีวิต​ ​ซึ่ง​ดู​เหมือนว่าคน​ส่วน​ใหญ่​ยัง​ไม่​พร้อมที่​จะ​เปลี่ยน​

​สภาวะ​โลกร้อน​จึง​กลาย​เป็น​ข้อเท็จจริงอันน่าหดหู่​ ​แต่การปฏิ​เสธ​ความ​จริง​หรือ​การ​ไม่​รู้ร้อนรู้หนาวก็​ไม่​ใช่​ทางออกของปัญหา​

​กอร์บอกว่า​เขา​เข้า​ใจดี​ถึง​ธรรมชาติของมนุษย์ที่​ต้อง​อาศัยเวลา​ใน​การทำ​ความ​เข้า​ใจ​กับ​ข้อเท็จจริงที่​เกิดขึ้นก่อน​จะ​นำ​ไปสู่การปฏิบัติ​ ​แต่บ่อยครั้งที่มันสายเกินไปจนเรา​ต้อง​มานั่งเสียใจว่าน่า​จะ​ลงมือแก้ปัญหามาตั้งนาน​แล้ว​

การละลายของน้ำ​แข็งที่ขั้วโลกเหนือส่งผลต่อวงจรการหาอาหารของหมีขั้วโลก​ ​เนื่อง​จาก​ปริมาณน้ำ​แข็งที่ลดลง​ ​ทำ​ให้​แมวน้ำ​ซึ่ง​เป็น​อาหารหลักของหมีขั้วโลก​ ​หายากขึ้นทุกที​

​ก่อนจบ​ ​กอร์กระตุ้น​ให้​เราตระหนัก​ถึง​ศักยภาพของมนุษย์​ใน​ด้านดี​ ​เราขจัดโรคร้าย​ได้​สารพัด​ ​เรา​เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์​และ​สำ​รวจอวกาศ​ ​เราประสบ​ความ​สำ​เร็จ​ใน​การลดปริมาณสาร​ CFC--​ก๊าซเรือนกระจกอีกตัวหนึ่งที่ทำ​ให้​เกิดรูรั่ว​ใน​ชั้นโอโซน​ ​ซึ่ง​เป็น​วิกฤตสำ​คัญเมื่อราว​ ๑๐ ​ปีที่​แล้ว​ ​เขา​ย้ำ​ว่า​โลก​ได้​ส่งสัญญาณเตือนภัย​ให้​เรารับรู้​แล้ว​ ​ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​เรา​จะ​ตอบสนองอย่างไร​
...................................................

​สำ​หรับคนไทยที่รู้สึกว่าปัญหานี้​ยัง​ไกล​ตัว​ ​อยาก​ให้​ลองนึก​ถึง​ข่าวน้ำ​ท่วม​ ​ภัยแล้ง​ ​ดินถล่ม​ ​ที่​เกิดขึ้นบ่อยครั้ง​และ​ทวี​ความ​รุนแรงขึ้นทุกที​ ​สภาพอากาศวิปริต​ไม่​ได้​เป็น​ปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกต่อไป​

​บนเวทีระดม​ความ​คิดหลังจบการชมภาพยนตร์ที่​โรงภาพยนตร์สกาล่า​ ​เมื่อวันที่​ ๑๖ ​กัน​ยายนที่ผ่านมา​ ​รศ​. ​ดร​. ​ธนวัฒน์​ ​จารุพงษ์สกุล​ ​อาจารย์ประจำ​ภาควิชาธรณีวิทยา​ ​คณะวิทยาศาสตร์​ ​จุฬาฯ​ ​หนึ่ง​ใน​ผู้​เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​ ​ได้​ส่งสัญญาณเตือนที่คล้าย​กัน​ว่า​

“​ใน​รอบ​ ๑๐๐ ​ปีที่ผ่านมา​ ​อุณหภูมิ​เฉลี่ย​ใน​เอเชียสูงขึ้นราว​ ๑-๓ ​องศา​เซลเซียส​ ​และ​จะ​เพิ่มขึ้นอีก​ ๒-๔ ​องศา​เซลเซียส​ใน​รอบ​ ๑๐๐ ​ปีข้างหน้า​ ​ลักษณะการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไป​ ​คือตกคราวละมากๆ​ ​จนเกิดน้ำ​ท่วม​ ​มีการทิ้งช่วง​เป็น​เวลานานจนเกิดภัยแล้ง​ ​และ​เริ่มเห็นแนวโน้มว่ามีการย้ายที่ตก​ ​ใน​ประ​เทศไทยมี​เหตุการณ์น้ำ​ท่วม​ ​ภัยแล้ง​ ​ดินถล่ม​ ​เพิ่มสูงขึ้น​ถึง​ ๒๐ ​เปอร์​เซ็นต์​ ​พายุ​ใน​มหาสมุทรแปซิฟิกก็​เกิดบ่อยขึ้น​และ​รุนแรงขึ้นราว​ ๒๐ ​เปอร์​เซ็นต์​ ​สภาวะ​โลกร้อน​จะ​ส่งผลกระทบต่อระบบนิ​เวศ​ ​เช่นเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่ออุณหภูมิน้ำ​ทะ​เลสูงเกิน​ ๓๓ ​องศา​เซลเซียส​ ​นอก​จาก​นี้​ยัง​ทำ​ให้​ปัญหาการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งของบ้านเรารุนแรงมากขึ้น​ ​ใน​ช่วง​ ๓๐ ​ปีที่ผ่านมา​เราสูญเสียชายฝั่งรวม​กัน​เป็น​เนื้อที่กว่า​ ๑๒๐,๐๐๐ ​ไร่​ ​ชายฝั่งบริ​เวณกรุงเทพฯ​ ​และ​ปริมณฑลถูกกัดเซาะมาก​ถึง​ ๖๕ ​เมตรต่อปี​ ​ซึ่ง​หาก​ไม่​มีการดำ​เนินการ​ใดๆ​ ​เรา​จะ​ถูกน้ำ​ทะ​เลรุกท่วม​เข้า​มาอีก​ ๖-๘ ​กิ​โลเมตร​ใน​อีก​ ๑๐๐ ​ปีข้างหน้า​ ​หรือ​อาจ​จะ​เร็ว​กว่านี้​ถ้า​ปัญหา​โลกร้อนเลวร้ายยิ่งขึ้น​”

​จรูญ​ ​เลาหเลิศชัย​ ​ตัวแทน​จาก​กรมอุตุนิยมวิทยา​ ​เปรียบเทียบปรากฏการณ์​เฮอริ​เคนแคทรีนา​กับ​ไต้ฝุ่น​ใน​อ่าวไทยว่า​ “​ใน​ทางทฤษฎีบอกว่า​จะ​เกิดไต้ฝุ่นขึ้นเฉพาะ​ใน​ทะ​เลที่ลึก​ ๕๐ ​เมตรขึ้นไป​ ​อ่าวไทยของเราลึกแค่​ ๔๐ ​เมตรตอนที่​เรา​เจอพายุ​เกย์​เมื่อปี​ ๒๕๓๒ ​ตอน​นั้น​เราก็คิดว่าอาจ​จะ​เป็น​เรื่องบังเอิญ​ ​แต่พอปี​ ๒๕๔๐ ​ก็​เกิดไต้ฝุ่นลินดาอีก​ ​แสดงว่ามัน​ไม่​ได้​บังเอิญ​แล้ว​ ​ประ​เทศไทยมี​โอกาสเสี่ยงพอๆ​ ​กับ​ที่​อื่นๆ​”

​นายวราวุธ​ ​ขันติยานันท์​ ​ผู้​อำ​นวยการ​ส่วน​ฝนหลวง​ ​สำ​นักฝนหลวง​และ​การบินเกษตร​ ​เล่าประสบการณ์ตรง​จาก​การขึ้นบินทำ​ฝนเทียมมาร่วม​ ๓๐ ​ปีว่า​ “​สิ่งที่​เห็น​ได้​ชัดคือสภาพป่าที่ลดน้อยลงกว่า​เดิมมาก​ ​อากาศร้อนแล้งขึ้น​ ​ไอน้ำ​ลดลง​ ​ทำ​ให้​กลุ่มเมฆ​ซึ่ง​เป็น​ปัจจัยสำ​คัญ​ใน​การทำ​ฝนเทียมบาง​และ​ไม่​ค่อยรวมตัว​ ​อม​ความ​ชื้น​ได้​น้อย​ ​ทำ​ฝนเทียมไปก็​ได้​ปริมาณฝน​ไม่​เต็มที่​ ​ต่อไปเรา​จะ​มีปัญหามากขึ้นแน่ๆ​”

​ส่วน​ ​ดร​. ​วนิสา​ ​สุรพิพิธ​ ​ตัวแทน​จาก​กรมควบคุมมลพิษ​ ​ได้​เสริมว่า​ “​หนังเรื่องนี้​ให้​น้ำ​หนัก​กับ​ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างมาก​ ​แต่​ความ​จริง​ยัง​มีก๊าซเรือนกระจก​อื่นๆ​ ​โดย​เฉพาะก๊าซมี​เทน​ ​ที่​แม้​จะ​มีปริมาณน้อยกว่ามาก​ ​แต่มี​ความ​สามารถ​ใน​การดักจับ​ความ​ร้อน​ได้​มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์​ถึง​ ๖๐ ​เท่า​ ​มี​เทน​เป็น​ก๊าซที่​เกิด​จาก​กิจกรรมทางการเกษตร​และ​การฝังกลบขยะ​ ​ครั้งหนึ่งไทยเราก็​เคยถูกโจมตี​เรื่องการปล่อยก๊าซมี​เทน​ใน​นาข้าว​ ​ซึ่ง​บางหน่วยงานก็กำ​ลัง​ให้​ความ​สำ​คัญ​ใน​การ​ค้น​คิดเทคโนโลยี​เพื่อนำ​เอาก๊าซมี​เทนดังกล่าวมาหมุนเวียน​เป็น​ก๊าซหุงต้ม​”

​แม้การเสวนา​จะ​ให้​เวลาน้อยไปสักนิดเมื่อเทียบ​กับ​จำ​นวนของ​ผู้​เชี่ยวชาญที่มา​กัน​พร้อมหน้าพร้อมตา​ ​แต่ก็​ช่วย​ให้​เรา​เข้า​ใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า​ ​ความ​น่ากลัว​ใน​หนังเรื่องนี้​ไม่​ได้​เป็น​ผล​จาก​การ​ใช้​สเปเชียลเอฟเฟ็กต์​ ​และ​เทคนิคการตัดต่ออันเหนือชั้น​ ​หากแต่​เป็น​ข้อเท็จจริงเกี่ยว​กับ​หายนะที่กำ​ลังเกิดขึ้นจริงๆ​

​ภาพยนตร์สารคดี​เรื่องนี้​ไม่​เพียงแต่ดูสนุก​และ​ให้​ข้อคิดคมๆ​ ​มากมาย​ ​แต่​ยัง​ได้​เตือนสติ​ให้​เราหันกลับมาคิด​ถึง​ “​โลก​” ​บ้านหลังสุดท้ายของมนุษย์​ ​ความ​ตื่นตัว​ใน​เรื่องสิ่งแวดล้อมดู​เหมือนกำ​ลัง​จะ​ถูกปลุก​ให้​ตื่นขึ้นอีกครั้ง​ ​ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม​ใน​ระดับปัจเจกไปจน​ถึง​นโยบาย​และ​ความ​ร่วมมือของนานาชาติ​ ​ตั้งแต่คนตัว​เล็กๆ​ ​ไปจน​ถึง​นักการเมือง​ ​และ​นักธุรกิจพันล้าน​

​ล่าสุด​ ​ริชาร์ด​ ​แบรนสัน​ ​นักธุรกิจชาวอังกฤษ​ผู้​โด่งดัง​ ​เจ้าของสายการบิน​ Virgin Atlantic Airways ​และ​กิจการคมนาคมขนาดยักษ์​ ​ประกาศ​จะ​บริจาคผลกำ​ไร​ ๑๐๐ ​เปอร์​เซ็นต์​จาก​การดำ​เนินงาน​ทั้ง​หมดของบริษัท​ใน​เครือ​ Virgin Travel ​ใน​อีก​ ๑๐ ​ปีข้างหน้า​ ​ซึ่ง​คิด​เป็น​มูลค่า​ถึง​ ๓,๐๐๐ ​ล้านเหรียญสหรัฐ​ ​เพื่อลงทุน​ใน​การพัฒนาพลังงานทางเลือก​ ​

ริชาร์ดเผยว่า​ “​ผมยอมรับว่า​เคยคลางแคลงใจเกี่ยว​กับ​ปัญหา​โลกร้อน​ ​แต่ผมก็​ได้​พูดคุย​กับ​นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน​ ​อ่านหนังสือหลายเล่ม​ ​และ​เมื่อ​ไม่​นานมานี้​ ​อัล​ ​กอร์​ ​ได้​ให้​เกียรติมารับประทานอาหาร​เช้า​ร่วม​กับ​ผม​ ​คำ​อธิบาย​ ๒ ​ชั่วโมงของ​เขา​ได้​ปลุก​ให้​ผมตื่นขึ้นมารับรู้​ความ​จริง​ ​ความ​จริงที่ว่า​โลกเรากำ​ลังตก​อยู่​ใน​อันตราย​ ...​แต่​เรามี​ความ​รู้​ ​มี​เทคโนโลยี​ ​และ​ทุกอย่างที่จำ​เป็น​ใน​การต่อสู้​กับ​วิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศ​แล้ว​ ​จะ​ขาดก็​แต่​เพียง​ความ​ตั้งใจ​”

​คง​เป็น​จริงอย่างที่​ ​อัล​ ​กอร์​ ​ว่า​ไว้​ ​ปัญหา​โลกร้อน​ไม่​ใช่​ข้อโต้​แย้งทางด้านวิทยาศาสตร์​ ​หรือ​มุมมองที่​แตกต่าง​กัน​ใน​ทางการเมือง​หรือ​เศรษฐกิจ​ ​ปัญหานี้​เป็น​เรื่องของคุณธรรม​ ​เพราะ​ไม่​มีอะ​ไรอีก​แล้ว​ที่​จะ​สำ​คัญไปกว่า​โลกที่​เราอาศัย​อยู่​

​วันนี้คุณพร้อม​หรือ​ยัง​ที่​จะ​เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อแก้ปัญหาสภาวะ​โลกร้อน​ ​พร้อม​หรือ​ไม่​ที่​จะ​เข้า​มาร่วม​ใน​ภารกิจกู้​โลกครั้งนี้​

​อาจ​ถึง​เวลา​แล้ว​ที่​เรา​ต้อง​ร่วม​กัน​พิสูจน์ว่า​ ​สิ่งมีชีวิตที่​เรียกว่า​ “​คน​” ​ควรค่าที่​จะ​ดำ​รง​อยู่​ต่อไป​

​หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยว​กับ​ภาพยนตร์​เรื่องนี้​ ​และ​เข้า​ร่วม​ใน​การแก้ปัญหา​โลกร้อน​ได้​ที่​เว็บไซต์​ www.climatecrisis.net

สมุทรปราการ​เป็น​จังหวัดที่​ได้​รับผลกระทบ​จาก​ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุด​ใน​ประ​เทศไทย​ ​โดย​ใน​ระยะ​เวลา​ ๓๘ ​ปีที่ผ่านมา​ ​มีพื้นที่ถูกกัดเซาะหายไป​ ๑๑,๑๐๔ ​ไร่​ ​ทั้ง​นี้หน่วยศึกษาพิบัติภัย​และ​ข้อสนเทศเชิงพื้นที่​ ​คณะวิทยาศาสตร์​ ​จุฬาฯ​ ​ระบุว่าพื้นที่ชายฝั่งสมุทรปราการ​จะ​ถูกกัดเซาะอีกประมาณ​ ๓๗,๖๕๗ ​ไร่​ใน​อีก​ ๒๐ ​ปีข้างหน้า​ ​ใน​ภาพคือวัดขุนสมุทราวาส​ ​อ​. ​พระสมุทรเจดีย์​ ​ซึ่ง​ได้​รับผลกระทบ​จาก​การกัดเซาะของน้ำ​ทะ​เล​

(ล้อมกรอบ)
​เริ่มต้นแก้วิกฤติ​โลกร้อน​ได้​อย่างไร​

๑. ประหยัดพลังงานทุกรูปแบบ
  • ปิดไฟ​และ​เครื่อง​ใช้​ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อ​ไม่​ใช้​งาน​ ​โดย​ถอดปลั๊กออก​ด้วย​ ​เพราะ​เครื่อง​ใช้​ไฟฟ้า​ส่วน​มาก​ยัง​คง​ใช้​ไฟ​อยู่​แม้​จะ​กดปิด​แล้ว​
  • ใช้​หลอดประหยัดไฟ​ ​และ​เครื่อง​ใช้​ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ​
  • เดิน​ ​ขี่จักรยาน​ ​หรือ​ใช้​บริการรถขนส่งมวลชนแทนการ​ใช้​รถยนต์​ส่วน​ตัว​
  • หาก​เป็น​ไป​ได้​ให้​ใช้​พลังงานทางเลือก
๒. บริ​โภค​ให้​น้อยลง​ ​ประหยัด​ให้​มากขึ้น
  • คิดก่อนซื้อ​ ​เลือก​ใช้​ของมือสอง​หรือ​ซื้อของที่​ใช้​งาน​ได้​นาน​ ​นำ​ของ​ใช้​แล้ว​มา​ใช้​ใหม่
  • ใช้​กระดาษ​ให้​น้อยลง​ ​คิดก่อนสั่งพิมพ์​
  • ใช้​ผ้า​เช็ดหน้า​แทนกระดาษทิชชู
  • ใช้​ขวดน้ำ​ส่วน​ตัวเพื่อลดการซื้อขวดน้ำ​พลาสติก
  • กินเนื้อสัตว์​ให้​น้อยลง
๓. มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การรณรงค์​เพื่อ​ให้​เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย​
  • เรียนรู้​เพิ่มเติม​และ​ติดตาม​ความ​เคลื่อนไหวเกี่ยว​กับ​ปัญหาสภาวะ​โลกร้อน
  • บอก​ให้​คนรอบข้างตระหนัก​ถึง​ความ​สำ​คัญของปัญหา
  • ชักชวน​ให้​สถาบันการศึกษา​ ​หรือ​หน่วยงานที่สังกัดประหยัดทรัพยากร​
  • สนับสนุนบริษัทที่มี​ความ​รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ (Tags): #โลกร้อน#global warning
หมายเลขบันทึก: 115428เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 01:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่ากลัวเนอะ ทำไมไม่มีใครคิดจะทำไรบ้างอ่ะ

จะไปช่วยด้วยยยย

กว่าจะรู้สึกคงต้องโดนออเดิฟพายุและความแปรปรวนทางอากาศกันถี่ๆก่อนละมั้งครับ

ทัมใจ แอสไพริน..สิครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท