ศูนย์ข้อมูลหมู่บ้านเวียงแหง


หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550สวัสดีอีกครั้งนะครับ  หลังจากหายไปนาน ตอนนี้ที่บ้านผมติด Hi-speed เรียบร้อยแล้ว ก็คิดว่าจะกลับมาเขียน blog กันอีกครั้ง ซึ่งก็ต้องขอเปลี่ยนหัวข้อของบล็อกไป คงไม่ว่ากันนะ คือจะไม่เขียนเรื่องเล่าครูดอยแล้ว แต่จะมาเขียนเป็นกิจกรรมโรงเรียนแทนนะครับ ต้องขออภัยไว้ก่อน                ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม นี้ ผมก็ได้ซุ่มเงียบทำ นวัตกรรมโรงเรียน ตอนนี้เสร็จแล้ว และก็ส่งไปคัดเลือกที่เขต ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า วันนี้จึงอยากให้ดูโฉมหน้าของนวัตกรรมโรงเรียนบ้านเวียงแหงน่ะครับหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">โรงเรียนบ้านเวียงแหง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> ชื่อผลงาน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมหมู่บ้านเวียงแหง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชื่อผู้เสนอนวัตกรรม   นายสุภัคว์   ทิพย์พละ     </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นวัตกรรมด้าน    R การจัดการเรียนการสอน Rด้านแหล่งเรียนรู้  </p> นวัตกรรมสนองนโยบาย สพฐ. ด้านRการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  (สาระหลักสูตรท้องถิ่น) Rการมีส่วนร่วมของ Steak Holder <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt" class="MsoNormal">Rด้านคุณธรรมนำความรู้และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt" class="MsoNormal"></p>

บทคัดย่อ                โรงเรียนบ้านเวียงแหง เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ซึ่งมีนักเรียน 428 คนในปีการศึกษา 2550  นักเรียนจากเขตบริการโรงเรียน 6 หมู่บ้าน คือ บ้านเวียงแหง บ้านป่าไผ่ บ้านปางควาย บ้านห้วยหก บ้านแม่แพม และบ้านแม่แตะ จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 และ 2  มีแหล่งอารยธรรมหมู่บ้านที่หลากหลาย เช่น คนเมือง ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง ลีซอ  และมีแหล่งทางโบราณสถานที่สำคัญ ทางโรงเรียนบ้านเวียงแหงได้จัดทำหลักสูตรวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน  ในการจัดทำนวัตกรรมนี้ โรงเรียนได้ค้นพบปัญหาในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นที่อยู่ไกล มีกระจัดกระจาย  อีกทั้ง ความต้องการของชุมชนที่จะเข้ามาร่วมจัดการศึกษาในโรงเรียนที่ไม่มีความชัดเจน ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเวียงแหง โดยได้ข้อสรุปว่า ควรจัดทำซุ้มหรือศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้าน ในขั้นตอนการดำเนินงาน โรงเรียนได้มีการประสานงานร่วมมือ ระหว่าง ครู นักเรียน และชุมชน ในการจัดสร้างศูนย์ โดยในศูนย์ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน สวนสมุนไพร และบ้านจำลองเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนอย่างชัดเจน  และเปิดให้นักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้ทั้งในเวลาเรียน ทั้งในหลักสูตรท้องถิ่น และกลุ่มสาระอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว  ผู้เรียนยังสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา  ข้อเสนอแนะในการจัดทำนวัตกรรมนี้ คือ การดูแลและพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านต่อไป เพื่อให้มีข้อมูลที่มีการปรับปรุง และลึกในรายละเอียด และยังเป็นแบบอย่างให้หมู่บ้านอื่น ๆ ใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างการจัดทำศูนย์ข้อมูลหมู่บ้าน หรือแหล่งข้อมูลด้านอื่น ๆ ต่อไป 

ก่อนและหลังการเปลี่ยนกระท่อมร้าง ให้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลหมู่บ้าน

หลายฝ่ายช่วยกันทำ เริ่มตั้งแต่ 1. ประชุมชาวบ้าน 2. รื้ออาคาร 3.-4. ตกแต่ง โดยร่วมมือกันทั้งครูและนักเรียน

คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามาเยี่ยมชม นักเรียนให้ความสนใจเข้ามาร่วมการเรียนรู้ของศูนย์

นั่งพักเหนื่อยในศูนย์ข้อมูลหมู่บ้านเวียงแหง นอกจากเป็นที่พักแล้ว ยังเป็นที่เรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย

</span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 115298เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท