โครงการ


ค้นหา

โครงการการค้นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนหลักการและเหตุผล                เนื่องด้วยปัจจุบันนี้สถานการณ์ของโรควัณโรคค่อยข้างทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากอัตราป่วยของผู้ติดเชื้อ HIV ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวัณโรคจัดเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV ป่วยได้เร็วที่สุด และยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งทั่งในด้านการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน และอันตราต่อสุขภาพของผู้ติดเชื้อ HIV เอง ทำให้อัตราการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อวัณโรคและป่วยเป็นวัณโรค เพิ่มขึ้นทุกๆปี ถึงแม้ว่าผู้ป่วยAIDS รายนั่นจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส อยู่ก็ตามก็ยังมิสามารถป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้เลย นอกจากนี้แล้วสำหรับผู้ที่เคยป่วยเป็นวัณโรคมาก่อน เมื่อยังมีภาวะเสี่ยงที่ต้องสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรคอยู่บ่อยๆ โอกาสที่จะกลับเป็นวัณโรคได้อีกสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ที่ติดเชื้อ HIV  ก็ตาม                ดังนั่นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากจะทำให้เราได้ค้นพบผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่ทราบว่าตัวเอง ติดเชื้อวัณโรคอยู่แล้วและพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตลอดเวลา ซึ่งเข้าได้กับการศึกษาที่พบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคและไม่ได้รับการรักษา จะแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ ประมาณ 15-20 คน ต่อปี ซึ่งหมายความถึงหากชุมชนใดมีผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ร่วมชุมชนหลายคน โดยที่ยังมิได้รับการรักษาก็จะทำให้ชุมชนนั่นมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรควัณโรคมากขึ้น การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนจึงเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้เป็นอย่างดีและยังทำให้ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาด้วยยาวัณโรคอย่างถูกต้องและถูกวิธีตลอดการรักษาจนหายและใช้ชีวิตร่วมกับอื่นในชุมชนได้อย่างเป็นปกติสุขต่อไป                                  วัตถุประสงค์โครงการ1.       เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน2.       เพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน3.       ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาด้วยยาวัณโรคอย่างถูกต้องและครบถ้วนตลอดการรักษา กิจกรรมสำคัญ1.       ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางสถานีอนามัยสู่ชุมชน2.       ประสานงานเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ(LAB) เรื่องการเตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อวัณโรคในเสมหะ3.       ประสานงานอาสาสมัครสาธารณสุข ในแต่ละชุมชนเป้าหมายให้ความรู้เรื่องการเก็บเสมหะอย่างถูกวิธีก่อนนำส่งตรวจ4.       ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ(LAB)5.       ขึ้นทะเบียนการรักษาในกรณีที่พบผู้ป่วยผลเสมหะเป็นบวก พร้อมด้วยการรายงานผลการดำเนินการ โครงการสู่ชุมชนเป้าหมายและชุมชนอื่นๆ ระยะเวลาการดำเนินการ                มกราคม 2550 เป็นต้นไป ผลผลิตหลังเสร็จสิ้นโครงการ 1.       ตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน2.       ลดสถานการณ์ความรุนแรงของวัณโรคร่วมเอดส์3.       ผู้ติดเชื้อวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหลังได้รับการตรวจเสมหะ และวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคโดยแพทย์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.       อัตราผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ลดลง2.       ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาและผลเสมหะหลังการรักษาในระยะเข้มข้น(2 เดือน) ตรวจไม่พบเชื้อมากกว่า 85 %3.       อัตราการรักษาหายของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกหลังสิ้นสุดการรักษา(6 เดือน) มากกว่า 85 %(ตัวชี้วัด สอดคล้องกับเป้าหมายการรักษาวัณโรคขององค์การอนามัยโลก)                 งบประมาณ                 1.ค่าตอบแทน อาสาสมัครสาธารณสุขในการนำเสมหะส่งตรวจ 200 X 10 = 2,000 บาท2.ค่าจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ (ตลับเก็บเสมหะ                                      3 X 500 = 1,500 บาท)                                        (สไลด์                                                    100 X 5 =     500 บาท)                                        (น้ำยาย้อมเสมหะ ชุดละ                       1,500 X 1 = 1,500 บาท)                                                                                                        รวม       = 3,500 บาท3.ค่าอาหารกลางวัน                                                                     25 X 3 X 10 = 750 บาท                                                            รวมทั้งหมด                                      = 6,250  บาท

คำสำคัญ (Tags): #โครงการ
หมายเลขบันทึก: 114975เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท