ความคิดเห็นต่อ สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 กับการเผยแพร่ให้ข้อมูล


มีกระแสข่าวมาหลายเดือน เรื่องร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มีกระแสที่ว่า ควรจะรับ หรือไม่รับ จากหลายคนหลายฝ่าย
บางฝ่าย ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ บอกว่า ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

มองดูสังคมไทยแล้ว ทำไมหลายคนจึงไม่มีสิทธิ์ที่รับรู้ข้อมูล และตัดสินใจทุกอย่างด้วยตนเองบ้าง ต้องให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาจุดกระแสว่า ควรจะรับหรือไม่รับ จนดูเหมือนว่าหลายคนคิดเองไม่ได้เลยหรือ

หากมีการกล่าวถึงเนื้อหาสาระลงรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนี้ว่า มีประเด็นใดบ้าง แล้วให้ความเห็นว่า เหมาะสม เห็นด้วย หรือดี ไม่ดีอย่างไร น่าจะมีประโยชน์มากกว่า ที่จะมีใครมาบอกว่า ต้องรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียดแต่อย่างใดเลย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 ระบุว่า เพื่อปรับปรุงรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การดำเนินการทางการเมืองของนักการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ขาดคุณธรรมและจริยธรรม การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่

ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงมีสาระสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย 4 แนวทางหลักคือ
1.คุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
2. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจ ประชาชน
3. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
4. ทำให้องค์กรตรวสอบมีความอิสระ เข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายบอนได้รับแผ่นพับสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มา เลยมองประเด็นสำคัญลงรายละเอียดแต่ละข้อ ว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรดังนี้


1. การคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกละเมิด
นายบอน - เห็นด้วยครับ เพราะที่ผ่านมา มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปหาผลประโยชน์มากมาย จากผู้ที่มีความรู้ แค่การนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้เพื่อกิจกรรมทางการเมืองของบางกลุ่ม โดยที่ไม่บอกกับเจ้าของสำเนามามอบให้อย่างชัดเจนว่าจะเอาไปทำอะไร แค่นี้เจ้าของข้อมูลก็ถูกคนอื่นใช้สิทธิ์แทนตนอย่างไม่รู้ตัว

2. ประชาชน สามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
นายบอน - หลักการนั้น ดีครับ เห็นด้วย แต่ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฏหมายหลายเรื่องยังไม่ดีพอ

3.สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนได้รับการคุ้มครองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่เพียงแต่ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชนเท่านั้น ยังห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าว รวมทั้งห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนด้วย เพื่อป้องกันการใช้สื่อสารมวลชนเพื่อประโยชน์ของตนเอง
นายบอน - เห็นด้วยครับ แต่ไม่รู้ว่า จะทำได้จริงเพียงใด เพราะสื่อมวลชนบางเจ้ายังเสนอข้อมูลไม่จรรโลงสังคม ส่วนเรื่องผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ไม่แน่ใจว่า จะมีกลเม็ดที่ซับซ้อนในการหลีกเลี่ยงกฏหมายได้แนบเนียนอีกเพียงใด น่าเป็นห่วงครับ

4. ประชาชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปี โดยเท่าเทียมกัน
นายบอน - เห็นด้วย และอยากให้เป็นจริงครับ แต่ปัจจุบัน การศึกษา มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น โรงเรียนที่มีคุณภาพ สอนดี พอที่ผูปกครองจะฝากอนาคตของลูกหลานไว้ได้ มีค่าใช้จ่ายสูงๆทั้งนั้น ส่วนโรงเรียนทั่วๆไป เรื่องคุณภาพทางการศึกษาในสายตาของผู้ปกครองยังไม่ดีนัก

5.เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
นายบอน - เห็นด้วยครับและอยากให้เกิดขึ้นจริง

6.บุคคลไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเป็นครั้งแรก
นายบอน * เห็นด้วยครับ

7. ขยายสิทธิชุมชน การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้ององค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายบัญญัติรับรองสิทธิชุมชน
นายบอน - เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ แต่ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฏหมายนั้น น่าเป็นห่วงเหลือเกิน กิจการที่ก่อให้เกิดผลกระทบนั้น มักจะเป็นกิจการของบุคคลที่หลายฝ่ายเกรงใจ ไม่กล้าที่จะแตะต้องอีกด้วย

ที่หยิบยกมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อยากให้มีการให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในเรื่องรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เข้าใจมากกว่านี้ เพื่อการตัดสินใจลงประชามติที่ถูกต้อง ไม่มีใครชักจูง


 

หมายเลขบันทึก: 114194เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ให้หลายๆฝ่ายผลัดกันมาชักจูงก็ยังดู. ผลัดกันโฆษณา. หรือว่าจัด debate ไรงี้ก็ได้. 
สสร.: http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa_cons/
ฝ่ายไม่รับ.: http://www.wevoteno.net/web/
อ่าน 2 ที่เลยก็ได้. อ่านรัฐธรรมนูญด้วย. แล้วค่อยตัดสินใจก็ได้.

หยิบประเด็นจากชาวบ้านที่กาฬสินธุ์

"เรื่องรัฐธรรมนูญ เนื้อหาสาระดีไม่ดีอย่างไร ไม่สนใจ อยากรู้แต่ว่า มีรัฐธรรมนูญแล้ว ความเป็นอยู่และปากท้องจะดีขึ้นบ้างหรือไม่"

"หลายคนไม่มีเวลาที่จะอ่านร่างรัฐธรรมนูญเล่มสีเหลืองที่ส่งมาทางไปรษณีย์ และชาวบ้านหลายคนไม่ค่อยอ่านหนังสือ บางคนอ่านหนังสือไม่ออก
เจ้าหน้าที่ กกต.ของจังหวัดบอกว่า ต้องไปอธิบายให้เขาท่องจำว่า เวลาไปลงประชามติ ช่องซ้ายคือเห็นชอบ ช่องขวา คือ ไม่เห็นชอบ  ขีดกากะบาดให้ตรงช่อง"

..... บางแง่มุมที่หยิบยกมา ไม่ค่อยมีใครหยิบสาระมาพูดคุยสู่กันฟัง ได้แต่บอกให้ไปหาอ่าน ซึ่งหลายคนไม่ชอบอ่านหนังสือ และไม่มีเวลาอ่าน น่าห่วงเช่นกันว่า ชาวบ้านหลายคนจะรู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน และส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และใช้ internet เลย

น่าจะทำเปรียบเทียบเฉพาะบางมาตราที่แตกต่างกันจากฉบับ 2540?. น่าจะใช้ความพยายามน้อยลง. 

ปากท้องก็สำคัญจริงๆอย่างเขาว่า ถ้าอ่านรัฐธรรมนูญแล้วอดอยากก็ไม่น่าอ่าน. 

บรรดาคณะทำงานและ สสร. อาจคิดมากจนเกินไปนะครับ เลยไม่มีใครคิดที่จะทำอะไรที่เข้าใจง่ายๆอย่างการทำตารางเปรียบเทียบมาตรที่แตกต่างของฉบับปี 40 กับ 50

P ก่อนหน้านี้เคยทำนะครับ. แต่ว่าไม่ได้ทำในฉบับล่าสุด. สสรชุดเดียวกันนี่เอง. แต่เราทำเองก็ได้นะครับ.
ประเมินดูแล้วก็คงจะเป็นเช่นนั้นแล้วล่ะครับ
ถือว่าเป็นการช่วยเหลือ ให้ความรู้สู่กันฟัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท