เข้าใจแอลดีกันเถอะ


พัฒนาแอลดี
ช่วงนี้ชีพจรลงเท้า แต่ก็ดีได้เจอะเจอเพื่อน ๆ ครูร่วมวิชาชีพ เมื่อวันที่ ๒๐-๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ไปเป็นวิทยากรให้กับครูโรงเรียนแกนนำพัฒนาเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้(LD) ๑๐ โรงเรียน ประมาณ ๗๐ คน ที่เขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต ๒ คุณครูแต่ละท่านขมักเขม้น (เขียนถูกไหมหนอ ถ้าผิดช่วยแก้ไขให้ด้วยค่ะ)ดีกับการรับข้อมูลความรู้เรื่องเด็กแอลดี ในกิจกรรมมีการวิเคราะห์ปัญหาของเด็กที่คุณครูพบในชั้นเรียน เพื่อนำมาตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในการพัฒนาเด็ก (จริง ๆ มีรายละเอียดอีกเยอะ) และผลิตสื่อให้เหมาะสมกับปัญหาเด็กฯ คุณครูก็สนใจ ตั้งใจกันดีได้สื่อกันไปคนละชิ้น ๒ ชิ้น ในฐานะเพื่อนร่วมอุดมการณ์พัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็รู้สึกดีใจแทนครอบครัวเด็กแอลดี ที่เด็กๆ จะได้รับการพัฒนาและหันกลับมาดูแลอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้เด็กวิ่งเล่นในโรงเรียนไปวันวันหนึ่ง หรือบางทีก็ได้รับฉายาว่า "ไอ้โอ่" "โอ่ทั้งตระกูล" ขอยืนยันว่าเด็กแอลดีไม่โอ่และพัฒนาได้ถ้าสอนให้ถูกวิธี (ขอยืมคำพูดปรมาจารย์ ศ.ศรียา นิยมธรรม,ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู)มาใช้นะคะ อ้อดิฉันไม่ได้ไปคนเดียวหรอกต้องมีทีมซิ มีครูหญิง (ที่กำลังจะไปบรรจุครู กทม.ขาดมือดีไปอยู่กรุงเทพฯ ซะแล้ว แต่ไม่เป็นไรสร้างใหม่ก็ได้)มีหนูบี ชมพู่และชาติ นักศึกษา กศพ.ปี ๔ (ที่มีฝีมือในการผลิตสื่ออย่างมากและที่สำคัญทำงานกับผู้ใหญ่ได้ด้วย) ขอเล่าต่ออีกนิดหนึ่งมีคุณครู ๒-๓ ท่านบอกว่าสื่อเหล่านี้ใช้สอนเด็กมัธยมไม่ได้หรอก (ดิฉันนำสื่อไปแสดงให้คุณครูดูด้วย) คือเด็กของคุณครูเป็นเด็กมัธยม แต่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เลยซึ่งถ้าลองตรวจสอบเชิงวิชาการอย่างถูกวิธี หลายๆ วิธี เด็กอาจจะมีความรู้ทางภาษาไทยอยู่ในระดับประถมต้น ๆ เด็กก็คงต้องใช้สื่อในระดับประถมในการพัฒนาอยู่ดีนะคะคุณครูขา เพราะอย่าลืมว่าเด็กแอลดีแท้ ปัญหาที่เราเห็นว่าเป็นจุดเล็ก ๆ สำหรับเรา แต่เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็กค่ะ เอาไว้จะเล่าปัญหาถ้าเราปล่อยเด็กแอลดีจนล่วงเลยไปถึงมัธยมเด็กจะมีปัญหาขนาดไหน หรือถ้าใครจะมาแลกเปลี่ยนก็ดีค่ะ ครูกาสะลอง
คำสำคัญ (Tags): #แอลดี
หมายเลขบันทึก: 113615เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีนะที่มีการเผยแพร่เกี่ยวกับเด็กld  แต่สิ่งที่ต้องการคือการผลิตสื่อทีเห็นเป็นรูปแบบชัดเจน

สวัสดีค่ะคุณ suganya

สื่อสำหรับเด็ก LD ก็คงจะทำได้อย่างน้อย ๒ รูปแบบค่ะ แบบหนึ่ง ต้องดูเป็นรายกรณีค่ะ ขึ้นอยู่กับปัญหา (จริง ๆ ไม่อยากใช้คำว่าปัญหา) ของเด็ก วิเคราะห์ปัญหา จุดเด่น จุดด้อย (เพราะบางครั้งอาจนำมาให้ประโยชน์ในการผลิตสื่อให้เหมาะสมกับเด็ก) วิเคราะห์สือ และผลิตสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กโดยเฉพาะ ส่วนอีกแบบหนึ่ง ก็คือ การผลิตสื่อที่พัฒนาเด็ก LD เป็นการพัฒนาโดยความคิดรวบยอด (Concept) เช่น กลุ่มเด็ก LD อ่านจับใจความไม่ได้, สับสนในการเรียงลำดับ หรือเขียนกลับหน้ากลับหลังฯลฯ ก็สามารถผลิตสื่อออกมาเป็นรูปแบบให้เห็นชัดเจน และคุณครูก็นำไปปรับใช้ค่ะ ซึ่งดิฉันและทีมก็จะพาคุณครูทำทั้ง ๒ รูปแบบ จริง ๆ มีรายละเอียดเยอะค่ะ

ครูกาสะลอง

สวัสดีค่ะคุณ suganya

สื่อสำหรับเด็ก LD ก็คงจะทำได้อย่างน้อย ๒ รูปแบบค่ะ แบบหนึ่ง ต้องดูเป็นรายกรณีค่ะ ขึ้นอยู่กับปัญหา (จริง ๆ ไม่อยากใช้คำว่าปัญหา) ของเด็ก วิเคราะห์ปัญหา จุดเด่น จุดด้อย (เพราะบางครั้งอาจนำมาให้ประโยชน์ในการผลิตสื่อให้เหมาะสมกับเด็ก) วิเคราะห์สือ และผลิตสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กโดยเฉพาะ ส่วนอีกแบบหนึ่ง ก็คือ การผลิตสื่อที่พัฒนาเด็ก LD เป็นการพัฒนาโดยความคิดรวบยอด (Concept) เช่น กลุ่มเด็ก LD อ่านจับใจความไม่ได้, สับสนในการเรียงลำดับ หรือเขียนกลับหน้ากลับหลังฯลฯ ก็สามารถผลิตสื่อออกมาเป็นรูปแบบให้เห็นชัดเจน และคุณครูก็นำไปปรับใช้ค่ะ ซึ่งดิฉันและทีมก็จะพาคุณครูทำทั้ง ๒ รูปแบบ จริง ๆ มีรายละเอียดเยอะค่ะ

ครูกาสะลอง

+ สวัสดีค่ะอาจารย์...

+ ดิฉันเป็นคุณครูที่ ร.ร.บ้านควนเสม็ด  อ.สะเดา  จ.สงขลา  ค่ะ

+ ตอนนี้โรงเรียนเป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมค่ะ...

+ เด็กแอลลดี คือ เด็กปกติที่มีสติปัญญาปกติ...แต่บกพร่องด้านการอ่าน   หรือ การเขียน  หรือการคำนวณ 

+ หนูคิดว่า...หากครูไม่เท่าทัน...เป็นการสร้างความทุกข์ให้แก่เด็กโดยที่ครูไม่ตั้งใจนะค่ะ...

+ จริง ๆ ในบริบทสังคมตอนนี้เด็กที่เป็นทั้งแอลดีจริงและแอลดีเทียมเยอะมากค่ะ...และค่อนข้างยากในการแยกแยะ...

+ แบบว่า...เอ...เด็กคนนี้น่าจะเป็นแอลดี...อ่านไม่ได้   เขียนไม่ได้...แต่ปัญญาปกติ...แต่เมื่อเราแยกไปเรียน  ไปฝึกทักษะการอ่าน  การเขียนต่างหาก  ไม่รวมกับเพื่อนในห้อง...ทำไปทำมาจะเก่งกว่าเด็กปกติทั่วไป...และมีความสุขในการเรียนกับเพื่อนในห้องมากขึ้นกว่าแต่ก่อน...

+ หนูคิดว่าถ้าครูประจำชั้นทุกคน...เข้าใจคำว่า"เด็กแอลดี" อย่างแท้จริง...เด็กแอลดีจริงและแอลดีเทียมคงมีความสุขในการเรียนมากขึ้น...ลดถูกทำร้ายด้านความรู้สึกโดยความไม่ตั้งใจของครูได้มากที่เดียวค่ะ...

+ ว่าง ๆ เชิญอาจารย์ไปเยี่ยมชมเด็ก "ที่นี่...บ้านควนเสม็ด" บ้างนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท