ภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ - พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้


กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ผ่านงานภาพยนตร์แห่งประวัติศาสตร์ไทย สถาบันพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมกับ หอภาพยนตร์แห่งชาติ จัดชมภาพยนตร์ พร้อมสนทนากับผู้รู้

ภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้  

พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ท่าเตียน

 

ฉายภาพยนตร์ที่คัดแล้วจากหอภาพยนตร์ประกอบการสนทนากับผู้รู้  สถาบันพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ร่วมกับ</p><p>หอภาพยนตร์แห่งชาติ 
 </p><p>จัดกิจกรรมเดือนละครั้ง 
ชื่อ ภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ ทุกบ่ายวันพุธสุดท้ายของเดือน 
ที่พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ อาคารกระทรวงพาณิชย์เก่า ท่าเตียน 
โดยค้นหาภาพยนตร์ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ นำมาจัดฉายประกอบการสนทนากับวิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้หรือเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ทางใดทางหนึ่ง
</p><p style="margin: 0cm 0cm 12pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 12pt" class="MsoNormal">รายการที่กำหนดไว้สำหรับสี่เดือนแรก ได้แก่</p><p>  

พุธที่ 25 กรกฎาคม เรื่อง  ทราย มาเป็น  แก้ว  
พุธที่  29 สิงหาคม เรื่อง รถไฟไทย   
วันพุธที่ 26 กันยายน เรื่อง ข่าวไทยโทรทัศน์  
วันพุธที่ 24 ตุลาคม เรื่อง  จอมพล ป. พิบูลสงคราม
</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 12pt" class="MsoNormal">ประเดิมรายการครั้งที่หนึ่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 12pt" class="MsoNormal">ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม นี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 12pt" class="MsoNormal">  
ด้วยการฉายภาพยนตร์สารคดี
</p><p>เรื่อง ทราย มาเป็น แก้ว 

          อันเป็นภาพยนตร์สารคดีที่กล่าวได้ว่า ชาติเพิ่งค้นพบ หลังจากถูกเก็บงำมาถึง 50 ปี  ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดย พล.ร.ต. ชลี สินธุโสภณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์  อดีดปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรี  และที่สำคัญคืออดีตผู้บังคับกองสัญญาณทหารเรือ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามในภาพยนตร์ ท่านเป็นผู้บังคับกองระหว่างปี พ.ศ. 2484 – 2494 โดยสร้างขึ้นเพื่อให้ชายหนุ่มนักเรียนนอกนาม ทัดทรง เสถียรสุต ได้แสดงฝีมือการถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อสมัครเข้าทำงานในกองทัพเรือ 
 </p><p></p><p>ภาพยนตร์นั้นเป็นการบันทึกโครงการทำแก้วขึ้นใช้เองของกองสัญญาณทหารเรือ ในระยะปี พ.ศ. 2493-2494 โดยท่านผู้บังคับกองหวังว่าต่อไปเราจะผลิตหลอดวิทยุขึ้นใช้เองในประเทศ โครงการกำลังจะเดินไปสู่ความสำเร็จอยู่รอมร่อ มาเกิดกรณีกบฏแมนฮัตตัน ซึ่งมีผลให้กองสัญญาณทหารเรือซึ่งมีเกียรติประวัติมายาวนานพอ ๆ กับกองทัพเรือถูกยุบไปในปี พ.ศ. 2494 โครงการนั้นก็สลายไปด้วยพร้อม ๆ กับที่ภาพยนตร์นั้นก็มิได้ใช้ไปตามเจตนารมณ์ของผู้สร้าง</p><p></p><p>ฟิล์มภาพยนตร์นั้นอาจจะสูญสลายไปจากโลก ถ้าหากว่าเมื่อปี พ.ศ. 2531 คุณพิไลวัน สินธุโสภณ บุตรีของอดีตผู้บังคับกองสัญญาณทหารเรือท่านนั้นไม่นำฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวไปมอบให้หอภาพยนตร์แห่งชาติ แต่ขณะนั้นฟิล์มภาพยนตร์ก็อยู่ในสภาพกำลังเสื่อม เกินกว่าความสามารถที่หอภาพยนตร์แห่งชาติจะอนุรักษ์โดยทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ เพราะเป็นการเสื่อมด้วยโรคกรดน้ำส้ม ซึ่งเป็นชะตากรรมของฟิล์มภาพยนตร์เซลลูโลซไทรอซีเตรททั่วไปที่เกิดขึ้นได้เสมอ คงทำได้เพียงบำบัดอาการด้วยการเป่าลมกำจัดแก๊สและจัดเก็บไว้ในห้องเย็นเก็บรักษาฟิล์ม    </p><p></p><p>หวังว่าในอนาคตหอภาพยนตร์แห่งชาติจะมีศักยภาพพอที่จะรักษาและทำสำเนาฟิล์มม้วนนี้ได้     ฟิล์มม้วนนี้ถูกเก็บลืมเพราะเจ้าหน้าที่ของหอภาพยนตร์แห่งชาติมีงานล้นมือ  จนกระทั่งราวสิบปีผ่านไป เมื่อคุณพิไลวันไถ่ถามถึงความคืบหน้าในการอนุรักษ์ฟิล์มม้วนนี้  เจ้าหน้าที่จึงนำฟิล์มออกมาตรวจและต้องประหลาดใจที่พบว่าฟิล์มภาพยนตร์มีอาการดีขึ้น สามารถกรอออกได้ตลอดม้วน และที่สุดสามารถถ่ายสำเนาเป็นวีดิโอเทปสำหรับดูได้ แม้ว่าคุณภาพในการถ่ายทอดยังใช้ไม่ได้เลย แต่เนื้อหาในภาพยนตร์ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าภาพยนตร์ม้วนนี้มีคุณค่ามหาศาลเพียงใด ทั้งในฐานะบันทึกทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของชาติ    </p><p></p><p>ประวัติศาสตร์นั้นเป็นเกียรติประวัติของกองสัญญาณทหารเรือ เกียรติประวัติของนักทำงานผู้สร้างโครงการเพื่อบ้านเมืองตน  ของนักวิทยาศาสตร์ไทยและนักปรัชญาอีกท่านหนึ่งซึ่งสร้างคุณูปการด้านปัญญาแก่สังคมไทยมาก ทว่าเกือบไม่มีใครรู้จัก คือ พันเอกสมัคร บุราวาส  และของบรรดาบุคลากรในกองสัญญาณทหารเรือ และนอกเหนือจากนั้นตัวงานภาพยนตร์เองได้แสดงให้เห็นว่ามีคุณค่าทางศิลปการทำภาพยนตร์อย่างน่าทึ่งด้วย  ทำให้การค้นพบภาพยนตร์นี้เป็นประดุจการค้นพบเพชรเม็ดงาม            </p><p></p><p>รายการ ภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้  จึงเลือกภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการประเดิมรายการครั้งแรก    โดยการจัดฉายภาพยนตร์ ซึ่งแม้จะยังไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์ แต่เพื่อที่จะเจียรไนเพชรงามนี้ให้ทอแสง เพื่อสังคมเราได้รับรู้และได้ร่วมชื่นชม พร้อมทั้งได้เชิญ คุณพิไลวัน สินธุโสภณ  เป็นวิทยากร   ร่วมกับ  นาวาเอก ชลินทร์ ชำนาญช่าง  ผู้เคยเป็นนักเรียนจ่ากองสัญญาณทหารเรือ หรือที่เรียกกันว่า ศิษย์ สญ. รุ่น พ.ศ. 2486 และได้เคยรับการฝึกวิชาช่างต่าง ๆ และทำงานในโครงการผลิตแก้ว ทั้งสองท่านสามารถบอกเล่าเรื่องราวจากภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี ดำเนินการสนทนาโดย โดม สุขวงศ์ จากหอภาพยนตร์แห่งชาติ        </p><p></p><p>จึงขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมชมภาพยนตร์และฟังการสนทนาได้ ที่พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ อาคารกระทรวงพาณิชย์เก่า ท่าเตียน ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2550 เวลา 14.30 น. ถึง 16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ มีขนมและเครื่องดื่มแก้หิวด้วย                  </p><p></p><p>รายละเอียดเพิ่มเติม </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โทร  0814255289</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 113382เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2007 05:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท