ระเบิดชื่อความรุนแรงในครอบครัว


นำเสนอเครื่องมือใหม่ทางสังคม จากกรอบการผลักดันด้วยเครื่องมือทางกฎหมาย จากการผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 จากความพยายามของ สำนักกิจการสตรีและครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ระเบิดชื่อความรุนแรง

ในครอบครัว

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ความเจ็บปวดที่เราเห็นจากข่าว ถึงการทุบตีเด็กจนตาย สามีทุบตีภรรยา เมียแทงผัว และอีกมากมายในขั้นตอนของความรุนแรง ที่ขยายวงจากปากเสียงสู่การใช้กำลัง และการกระทำจากผู้เข้มแข็งในครอบครัวสู่ผู้อ่อนแอในครอบครัว ซึ่งควรได้รับการปกป้องแต่วันนี้กลับถูกกระทำ และกระทำด้วยความเจ็บปวดที่ทบทวีขึ้นในทุกวัน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แรงผลักดันในการออก ร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ถือเป็นหนึ่งในมิติใหม่ของสังคมไทย ท่ามกลางข่าวสารแห่งความรุนแรง การกระทำต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เกิดขึ้นดำรงอยู่โดยไม่คลี่คลาย ความพยายามเพื่อแก้ปัญหาจึงต้องเริ่มต้นขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> สำหรับความพยายามเพื่อแก้ปัญหาจากปรากฏการณ์อันรุนแรง ท่ามกลางการพิจารณาว่า หากสังคมแวดล้อม ผู้คนแวดล้อมในชุมชน สามารถนับความหมายของชุมชนที่เอื้ออารีมีน้ำใจไมตรีต่อกัน กลับคืนมาได้ เรื่องราวเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อมีน้ำใจหยิบยื่น มีการแบ่งปันความทุกข์ความสุขจากครอบครัวอื่นที่แวดล้อม แรงกดดันที่จะกดผู้คนให้หันมาใช้ความรุนแรงต่อผู้อ่อนแอในครอบครัวก็จะลดน้อยลง   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">น้ำใจของสังคมที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พยายามผลักดัน ภายใต้ยุทธศาสตร์สังคม ในความอยู่ดีมีสุข ที่พยายามให้เกิดน้ำใจ ความเชื่อมโยงช่วยเหลือ และจิตอาสาให้เกิดขึ้นในทุกชุมชน กลายเป็นหนึ่งในความพยายามท่ามกลางคำถามว่า จริงไหมที่เราจะย้อนกลับไปสู่ความหมายของน้ำใจในชุมชนได้อีกครั้ง ท่ามกลางความเร่งเร้า และอัตราเร่งของความร่ำรวยในชีวิตที่กัดกร่อนรอยยิ้มในใจผู้คน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>พยายามไปสู่สิ่งคลี่คลาย  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความพยายามของสำนักกิจการสตรีและครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันนี้ กลายเป็นหนึ่งมิติของการพิจารณา ในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เมื่อมีความพยายามในการระงับยับยั้งความรุนแรงที่จะก่อตัวขึ้น หรือยุติความจำเป็นที่เกิดขึ้นแล้ว ภายใต้กฎหมายซึ่งไม่ได้พึ่งพาอำนาจของตำรวจ และศาลเพียงอย่างเดียว ความพยายามในการจัดสรรกลไกของรัฐ เพื่อช่วยเหลือไกล่เกลี่ยดูแลผู้ถูกกระทำ กลายเป็นหนึ่งในความหวังที่พยายามนำเสนอในวันนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>อ้างอิง </p><p>เอกสารร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับกฤษฎีกา รวมทั้งบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ และ รายละเอียดร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ จำนวน 18 มาตราhttp://www.lawthai.org/read/familylaw.pdf </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>หลักการของร่างพระราชบัญญัติ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ระบุว่า ร่างพระราชบัญญัตินี้มีสาระสำคัญ เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และให้ผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสกลับตัว และยับย้ำการกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว</p><p></p><p>จากปี 2548 สู่ 2550  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>คณะรัฐมนตรี ได้มีมิติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. …. จนวันนี้กลายมาเป็น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 วันนี้เรามีโอกาสเห็น และอ่านเรื่องราวในความพยายามทางกฎหมาย เพื่อหากลไกทั้งทางสังคมและกฎหมาย เพื่อครอบคลุมคุ้มครองในท่ามกลางเจ็บปวดที่เรารับทราบจากข่าวสาร</p><p></p><p>18 มาตราแห่งความพยายาม  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>วันนี้สังคมไทยมีโอกาสในการพิจารณาความเปลี่ยนแปลง ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 18 มาตรา ที่จะพยายามให้มีกลไกในการปกป้องคุ้มครอง และไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงซึ่งจะปะทุขึ้นมา ในท่ามกลางความจริงอันเจ็บปวด  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>วันนี้เรามีโอกาสร่วมบอกกล่าวถ่ายทอด ถึงความหมายในความพยายาม และบอกกล่าวถึงความพยายามที่จะแก้ปัญหา คราบน้ำตาของผู้อ่อนแอในครอบครัว ที่ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ล้วนต่างเป็นเหยื่อความกดดันและรุนแรง ที่สังคมพัดพาไปสู่ครอบครัวดุจสายลมที่บางเบา แต่ไม่อาจลบเลือนไปจากจิตใจของผู้ที่เคยถูกกระทำได้ วันนี้เรามีเพียงโอกาสในการบอกกล่าว และร่วมแลกเปลี่ยน ถึงความพยายามเหล่านี้ในสังคมไทย</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>ร่วมพิจารณาคุณค่าความหมายจากหลักการ และความพยายามเพื่อแก้ปัญหาความเจ็บปวดในสังคมไทย ในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 นอกเหนือจากความพยายาม รณรงค์ให้ผู้คนในสังคมไทย ได้ตระหนักถึงความรุนแรงที่ปรากฏอยู่ ดำรงอยู่ และขยายตัวไปอย่างเจ็บปวด วันนี้จึงไม่ได้มีเพียงรินบิ้นสีขาวที่จะบอกเราว่า ความรุนแรงในความครอบครัวเจ็บปวด และควรตระหนักเพียงใด เพราะวันนี้มีสิ่งที่มากกว่า โดยเป็นสิ่งที่คนไทยในครอบครัวไทยควรร่วมรับรู้ร่วมกัน</p><p></p><p>     </p><p></p><p>อ้างอิง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>เอกสารร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับกฤษฎีกา รวมทั้งบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ และ รายละเอียดร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ จำนวน 18 มาตราhttp://www.lawthai.org/read/familylaw.pdf  <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 112952เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท