นิทรรศการ


ทีมทำนิทรรศการมีใครบ้าง?

ทีมทำนิทรรศการมีใครบ้าง?

 
     
 
ในด้านงานออกแบบและจัดทำนิทรรศการซึ่งมี กระบวนการและเทคนิคจากหลายวิชาชีพที่ต้องเกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ท้าทายในการทำงานอย่างยิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา เป็นอีกหน่วยงานที่ได้มีการพัฒนาและ เรียนรู้แนวทางการจัดทำสื่อนิทรรศการมากว่า 3 ทศวรรษ โดยมีงานสนับสนุนส่วนเทคนิคเป็นผู้จัดทำนิทรรศการ แม้ในระยะหลังมีการจ้างเหมามืออาชีพเข้ามาร่วมพัฒนา และจัดทำนิทรรศการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ก็ยังคงมีบุคลากรวิชาชีพเฉพาะด้านในส่วนเทคนิค ซึ่งมี การพัฒนาบุคลากรตามระบบราชการ ทำให้ขาดโอกาส และประสบการณ์ในการจัดทำนิทรรศการแนวใหม่ แต่เชื่อ ว่าเทคนิคเฉพาะด้านของบุคลากรแต่ละฝ่ายของส่วนเทคนิค ยังมีศักยภาพที่ควรได้แสดงฝีมืออยู่บ้าง งานเทคนิคที่ได้มีการพัฒนาได้แก่
 
 
     
 
1. งานออกแบบ ตกแต่งภายใน จัดองค์ประกอบทางกายภาพในสร้างบรรณยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และสร้างสิ่งแวดล้อมให้สะดวกต่อการเข้าชมนิทรรศการ ตามเนื้อหา สาระที่นักวิชาการจัดทำขึ้นตรงนี้ใช้วิชาชีพทางมัณฑนากรเป็นผู้สร้างสรรค์งาน
2. งานผลิตโครง สร้างและจัดทำฉาก หรือองค์ประกอบทางกายภาพเช่นงานไม้ งานเหล็ก โลหะเบาต่างๆ บางครั้งมีการออกแบบระบบเมกคานิกส์ เพื่อบังคับกลไกชุดนิทรรศการบางประเภท รวมทั้งงานจัดสร้างอุปกรณ์ต้นแบบประกอบสิ่งแสดงที่เป็นหลักการพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
3. งานไฟฟ้า ออกแบบวงจรควบคุมการทำงาน การให้แสงให้เข้ากับบรรยากาศของงานรวมถึงระบบการปรับอากาศการไหลเวียนถ่ายเทอากาศ การประหยัดพลังงาน
4. งานแสง สี เสียง เป็นงานโสตทัศนูปกรณ์ เป็นงานออกแบบเทคโนโลยีเพื่อ การสื่อสาร (วีดิทัศน์/มัลติมีเดีย) รวมทั้งงานภาพนิ่ง ภาพยนตร์ ภาพสื่อผสม (พาโนรามา/ สามมิติ/และสไลด์มัลติวิชั่น)
5. งานออกแบบงานศิลปและออกแบบงานกราฟฟิก ตัวอักษร และงานเชิงศิลป์ ตั้งแต่การวาดภาพ การตกแต่งรูป การจัดทำป้ายคำบรรยาย การออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษรที่เหมาะสมในการดู อ่าน ชม และมองเห็น ตลอดจนงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ ป้ายคัทเอาท์ขนาดต่างๆ และงานศิลป์เพื่อการประชาสัมพันธ์
6. งานข้อมูลสารสนเทศและเทคนิคคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันกำลังมีบทบาทในการเป็นอีกช่องทางของการเผยแพร่นิทรรศการ ซึ่งอาจจำลองนิทรรศการไว้หน้าจอ ในลักษณะการจำลองสถานการณ์ จำลองชุดนิทรรศการเสมือนจริง เป็นต้น มีการนำเทคนิคจากคอมพิวเตอร์ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาร่วมเสริมในนิทรรศการอีกทางด้วย
 
     
 
 
องค์ประกอบสุดท้ายของการจัดทำนิทรรศการ คือการจัดกิจกรรมเสริมการดู ชม อ่าน และเรียนรู้ ซึ่งเน้นกันว่าเป็น “หัวใจ”ของนิทรรศการ ทำให้นิทรรศการ น่าสนใจขึ้น ทั้งๆ ที่เนื้อหา สาระ และเทคนิคได้มีการออกแบบ การนำเสนอมาอย่างดีก็ตาม กิจกรรมจะช่วยให้เกิดสีสันใน งานนิทรรศการ ซึ่งมีตั้งแต่กิจกรรมทางเดียว คือ การบรรยาย ประกอบ ทั้งจากสื่อนิทรรศการเอง ผู้บรรยายประกอบ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบชุดนิทรรศการก็ตาม เป็นกิจกรรม พื้นฐานที่ต้องมีการจัดทำไว้ ขยับขึ้นมาก็จัดกิจกรรมประกอบ ชุดนิทรรศการ มีขั้นตอน กระบวนการในการชม อ่าน เลือกถาม หรือตอบ
 
     
 
เพื่อทบทวนวาผู้ชมได้รับข่าวสาร สาระจากนิทรรศการ บางนิทรรศการมีของรางวัลประกอบการชมเป็นตัวล่อให้ผู้ชมสนใจ และอยากได้ของก็ต้องติดตามดูนิทรรศการให้ครบ ไม่สามารถวัด หรือพิสูจน์ได้ว่าผู้ชมเกิดความเข้าใจ หรือ เรียนรู้อะไรเพิ่ม? หรือมากน้อยเพียงใด? กิจกรรมอีกประเภทคือการออกแบบ เทคนิคการรับรู้ด้วยการให้ผู้ชมเกิดปฏิสัมพันธ์ ต้องสัมผัส กดปุ่ม ดึง เปิด แหวก เพื่อทดลองเชิงปฏิบัติการ เสมือนได้อยู่ใน เหตุการณ์นั้นๆ น่าจะเป็นเทคนิคที่ช่วยการรับรู้ แล้วอาจนำไปสู่การเรียนรู้ได้ในที่สุดก็เป็นได้ ส่งเหล่านี้นักการศึกษาหลาย ท่านพยายามศึกษาวิจัยผลการใช้นิทรรศการเพื่อการรับรู้และเรียนรู้ ต่างๆ
 
 
 
 
     
  ทั้งบทสรุปและข้อวินิจฉัยที่แตกต่างกันตาม ลักษณะความสนใจของแต่ละบุคคล เนื่องจากการเรียนรู้เป็นเรื่องของอัตลักษณ์ในแต่ละคนไป เพราะทุกคนมีกระบวนการ เรียนรู้ที่แตกต่างๆไป นั่นเอง กิจกรรมประกอบชุดนิทรรศการ เปรียบเสมือนการแนะนำการเรียนการสอนแบบอิสระ ขึ้นอยู่กับระดับความสนใจและต้องการรับรู้ของแต่ละบุคคลเป็นเบื้องต้น คำถามสำหรับนัก จัดนิทรรศการหรือผู้ต้องการใช้นิทรรศการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จึงอยู่ที่ความเข้าใจเรื่อง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีปัจจัยทั้งภายนอก (กายภาพ สภาพแวดล้อม สื่อ สิ่งเร้า ) และภายใน (การรับรู้ ซึมซับ และแปลงสาระเป็นความรู้เฉพาะแต่ละบุคคล) รวมทั้งพฤติกรรมใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ความพร้อมในการรับสาระที่นำเสนอ ที่สำคัญ นิทรรศการนั้นๆ สำคัญกับผู้ชมมากน้อยเพียงไร บางทีอาจต้องศึกษางานด้านการตลาด และงานวิจัยเพื่อมาเสริมแนวทางการพัฒนานิทรรศการเพื่อ ให้เกิดแนวทางใหม่ของการเรียนรู้ยิ่งๆขึ้น  
     
     
  เบ็ญจพร ศุภวรรณกิจ
ผอ.ส่วนเทคนิคการผลิต
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
หมายเลขบันทึก: 112526เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท