ชีวิตกับกฎหมาย


ชีวิตกับกฎหมาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
รายวิชา ส 33201 กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การปฏิบัติตนและบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรส เวลา 2 ชั่วโมง
1. สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย
                        ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย
                        และสังคมโลกอย่างสันติสุข
      1. ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่นที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
      2. ตระหนักถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองของสังคมและประเทศ เข้าใจความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อคุ้มครองปกป้องตนเองและคนอื่นให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุขตลอดจนปฏิบัติตนตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ  

 3.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนและบทบาทหน้าที่ ตามกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

4. สาระสำคัญ

กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรส คือชายหญิงจะทำการหมั้นและสมรสกันได้ต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และผู้เยาว์จะต้องได้รับการยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การหมั้น หมายถึง ชายหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน โดยฝ่ายชายเป็น ผู้เตรียมสินสอดและของหมั้นมอบให้แก่ฝ่ายหญิง เมื่อเกิดการหมั้นขึ้น ถ้าฝ่ายหนึ่ง ผิดสัญญา คือไม่ทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาล เพื่อให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้
การสมรส หมายถึง ชายหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภรรยาตลอดชีวิตโดยไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลใดอื่นและจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สามารถฟ้องหย่าร้างและเรียกร้องสินสมรสได้เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนอกใจหรือกระทำผิดสัญญา
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวได้
จุดประสงค์นำทาง
5.2.1 รวบรวมความหมาย หลักเกณฑ์การหมั้นและการเลิกสัญญาหมั้นได้
5.2.2 รวบรวมความหมาย หลักเกณฑ์การสมรสและการจัดการสินสมรสได้
6. เนื้อหาสาระ
6.1 ความหมาย หลักเกณฑ์การหมั้นและการเลิกสัญญาหมั้น ความหมาย หลักเกณฑ์การสมรสและการจัดการสินสมรส
7. กิจกรรมการเรียนรู้
คาบที่ 1
    1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรส ใช้เวลา 5 นาที
    2. นำภาพประเพณีการสมรสให้นักเรียนดู พร้อมสนทนาซักถามว่า
      • ใครเคยไปร่วมงานสมรสญาติพี่น้องบ้าง
      • ใครเคยไปร่วมพิธีการสมรสที่นอกเหนือไปจากประเพณีการสมรสของคนไทยยกตัวอย่างพิธีการสมรสของคนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายแขก คนไทยเชื้อสายมอญ คนไทยที่เป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยฉายวีดีทัศน์ให้นักเรียนดูตัวอย่างประเพณีการสมรสของชนชาติต่าง ๆคาบที่ 2
      • สนทนากับนักเรียนถึงข้อแตกต่างของประเพณีการสมรสของแต่ละชาติ การแต่งกายของคู่สมรส ซึ่งโดยรวมแล้วคู่สามีภรรยา หรือคู่สมรส จะมีเงื่อนไขปลีกย่อยแตกต่างกัน ตัวอย่างที่แปลกออกไปคือสตรีชาวอินเดียต้องเป็นฝ่ายเตรียมสินสอดและ ของหมั้นไปสู่ขอฝ่ายชาย ต่างกับการสมรสของชนชาติต่าง ๆ ทั่วไป ฝ่ายชายจะต้อง รับผิดชอบนำสินสอดและของหมั้นไปสู่ขอฝ่ายหญิง
              3. นำตัวอย่างทะเบียนสมรส แบบกรอกข้อมูลการสมรส บัตรเชิญงานสมรสของชำร่วยหลายรูปแบบให้นักเรียนดู พร้อมกับสนทนากับนักเรียนว่า
    • คนส่วนมากมักให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรส เมื่อพร้อมจะสมรสก็จะเตรียมการต่าง ๆ เช่น บัตรเชิญร่วมงานมงคลสมรส ของชำร่วยแจกแขกที่มาร่วมสมรสที่มีหลายรูปแบบ และเตรียมงานฉลองในวันสมรส มีรับประทานเลี้ยงตามห้องอาหารในโรงแรม ห้องรับรอง หรือเลี้ยงโต๊ะจีน ตามแต่กำลังทรัพย์ของคู่สมรส
    • รูปแบบการสมรสของคนไทยทุกวันนี้มีการประยุกต์นำรูปแบบของต่างชาติเข้ามามาก แต่ก็ยังมีคนต่างชาติที่อยากสมรสแบบประเพณีไทย
    • ข่าวประชาสัมพันธ์การสมรสในวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรักที่แต่ละจังหวัดจัดงานสมรสรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการดึงดูดคนเข้าไปเที่ยวจังหวัดของตน เช่น จังหวัดที่ติดทะเล มีการประชาสัมพันธ์การสมรสใต้ทะเล โดยคู่บ่าวสาวดำน้ำ หรือบางจังหวัดสมรสโดยให้คู่หนุ่มสาวปีนเขาไปสมรส หรือสมรสบนเรือ สมรสบนหลังช้าง และอีกหลายคู่ที่พยายามคิดหาวิธีการสมรสที่แปลก ๆ ออกไปสุดแต่จะคิดกันแต่การสมรสจะยืดยาวหรือไม่นั้นก็อยู่ที่คู่สมรส เพราะมีหลายคู่สมรสกันยิ่งใหญ่ระดับประเทศหรือระดับโลก เงินสินสอด ทองหมั้นมากมายอยู่ แต่ชีวิตคู่สมรสกลับไปไม่รอด ต้องแยกทางหย่าร้างกันไป หรือบางคู่ไม่เคยเข้าพิธีสมรสกัน ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กันจนตายจากกันไปก็มี
            4. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 คนจำนวน 7 กลุ่ม มารับเอกสารประกอบการเรียน การสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การปฏิบัติตนและบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย เกี่ยวกับครอบครัว หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรส ไปศึกษา และซักถามนักเรียนถึงการที่ชายกับหญิงจะทำการสมรสกันนั้น การทำสัญญาต่อกันก่อนการสมรสเรียกว่าอย่างไรเงื่อนไขในการหมั้นมีอย่างไรบ้าง   ของหมั้นและสินสอดคืออะไร ใครเป็นฝ่ายได้  เมื่อยกเลิกสัญญากันก่อนสมรสของหมั้นและสินสอดใครควรได้  หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสมรสมีอย่างไร   สินสมรสคืออย่างไร
            5. นักเรียนรับใบกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การหมั้นและการสมรส ไปตอบคำถาม แล้วจับคู่แลกเปลี่ยนกันประเมินกิจกรรม ( เวลา 10 นาที )
8. สื่อและแหล่งเรียนรู้
    1. วีดีทัศน์ประเพณีการสมรส
    2. บัตรเชิญงานมงคลสมรส
    3. ใบสำคัญการสมรส
    4. เอกสารประกอบการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องการปฏิบัติตนและบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรส
    5. ใบกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การหมั้นและการสมรส
    6. แบบประเมินกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การหมั้นและการสมรส
    7. แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง การหมั้นและการสมรส
    8. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง การหมั้นและการสมรส
9. การวัดและประเมินผล
9.1 เรื่องที่ประเมิน
9.1.1 การหมั้นและการสมรส
9.2 ประเด็นประเมิน
9.2.1 หลักเกณฑ์ การหมั้นและการสมรส
1. ความถูกต้อง
2. ความประณีต
3. เวลา
9.3 เกณฑ์การประเมิน
31-40 คะแนน หมายถึง ดีมาก
21-30 คะแนน หมายถึง ดี
11-20 คะแนน หมายถึง พอใช้
10   คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
10.ข้อเสนอแนะ หากมีเวลาอาจบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยจัดโต้วาทีในหัวข้อ “ อยู่ก่อนแต่งหรือแต่งก่อนอยู่ใครดีกว่ากัน ”
ใบกิจกรรมที่ 5
เรื่อง การหมั้นและการสมรส
ให้นักเรียนตอบคำถามแต่ละข้อให้ถูกต้อง
  1. นางสาวดาว อายุ 17 ปี มีบิดาซึ่งถูกจำคุก มารดาเสียชีวิตอาศัยอยู่กับนางดวงผู้เป็นป้า มีความประสงค์จะหมั้นกับนายดนัย อายุ 24 ปี นางสาวดาวจะต้องได้รับการยินยอมจากใคร…………… เพราะสาเหตุใด …………………………………………….
2. นายเด่นหมั้นกับนางสาวฟ้าด้วยแหวนเพชรราคาห้าหมื่นบาทและได้มอบเงินสดจำนวนหนึ่งแสนเป็นเงินสินสอดแก่มารดา ปรากฏว่า นางสาวฟ้าหนีไปกับนายโด่งแฟนเก่า นายเด่นสามารถเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้หรือไม่ …
เพราะสาเหตุใด …………………………………………………………..…………
3. นายยุทธนานำแหวนเพชรหมั้นนางสาวมนตราพร้อมด้วยสินสอดหนึ่งล้านบาทต่อมา ทั้งสองคนตกลงบอกเลิกสัญญาหมั้นนายยุทธนาจะได้ทรัพย์สินใดคืนบ้าง……………………………………………………………………………..
4. จากข้อ 3. ถ้าทั้งคู่ยังรักกัน แล้วนายยุทธนาเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนทำการสมรส นางสาวมนตราจะต้องคืนทรัพย์สินใดให้ญาตินายยุทธนา ……………………………………………………………………………………
5.จากข้อ 4. ถ้านางสาวมนตราได้เตรียมซื้อเครื่องเรือน และสร้างเรือนหอไว้แล้วสามารถเรียกค่าทดแทนสิ่งของที่ซื้อและสร้างไว้ได้หรือไม่ ……………………….
6.นายต้อย อายุ16ปีและนางสาวติ๋ง อายุ 15 ปีทำการสมรสกันได้หรือไม่เพราะเหตุใด…………………………………………………………………………………7.นางสาวอ้อยอายุ 15 ปีและนายโชคอายุ 19 ปีลักลอบได้เสียกันจนเกิดตั้งครรภ์ กรณีนี้นางสาวอ้อยจะต้องร้องขอต่อหน่วยงานใด เพื่อต้องการจดทะเบียนสมรสกับนายโชค ……………………………………………………….
8.นางสาวอ้อกับนายสมศักดิ์สมรสกันมีแขกสองพันคนเป็นสักขีพยานแต่ไม่ได้
จดทะเบียนสมรส ถามว่าการสมรสนั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะสาเหตุใด ……….
9. การจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่มีพิธีแต่งงานถือว่าเป็นการสมรสที่สมบูรณ์หรือไม่เพราะสาเหตุใด …………………………………….......................
10. ชายกับหญิงที่แปลงเพศ สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้หรือไม่ ………ชื่อ……………………………………………เลขที่…………ชั้น………………..
เฉลยกิจกรรมที่ 5
เรื่อง การหมั้นและการสมรส
ให้นักเรียนตอบคำถามแต่ละข้อให้ถูกต้อง
  1. นางสาวดาว อายุ 17 ปี มีบิดาซึ่งถูกจำคุก มารดาเสียชีวิตอาศัยอยู่กับนางดวงผู้เป็นป้า มีความประสงค์จะหมั้นกับนายดนัย อายุ 24 ปี นางสาวดาวจะต้องได้รับการยินยอมจากใคร นางดวงดาว เพราะสาเหตุใด เป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรม
  2. นายเด่นหมั้นกับนางสาวฟ้าด้วยแหวนเพชรราคาห้าหมื่นบาทและได้มอบเงินสดจำนวนหนึ่งแสนเป็นเงินสินสอดแก่มารดา ปรากฏว่า นางสาวฟ้าหนีไปกับนายโด่งแฟนเก่า นายเด่นสามารถเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้หรือไม่ เพราะสาเหตุใด ได้ เพราะนางสาวฟ้าผิดสัญญาการหมั้น
3. นายยุทธนานำแหวนเพชรหมั้นนางสาวมนตราพร้อมด้วยสินสอดหนึ่งล้านบาทต่อมา ทั้งสองคนตกลงบอกเลิกสัญญาหมั้นนายยุทธนาจะได้ทรัพย์สินใด คืนบ้าง สินสอด และของหมั้นทั้งหมด
4. จากข้อ 3. ถ้าทั้งคู่ยังรักกัน แล้วนายยุทธนาเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนทำการสมรส นางสาวมนตราจะต้องคืนทรัพย์สินใดให้ญาตินายยุทธนา ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืน ทั้งสินสมรส และของหมั้น
5. จากข้อ 4. ถ้านางสาวมนตราได้เตรียมซื้อเครื่องเรือน และสร้างเรือนหอไว้แล้วสามารถเรียกค่าทดแทนสิ่งของที่ซื้อและสร้างไว้ได้หรือไม่ ไม่ได้
6. นายต้อย อายุ16ปีและนางสาวติ๋ง อายุ 15 ปีทำการสมรสกันได้หรือไม่เพราะเหตุใดไม่ได้ เพราะทั้งคู่ยังเป็นผู้เยาว์และยังไม่ได้รับการยินยอมจากบิดาและ มารดาทั้งคู่
7.นางสาวอ้อยอายุ 15 ปีและนายโชคอายุ 19 ปีลักลอบได้เสียกันจนเกิดตั้งครรภ์ กรณีนี้นางสาวอ้อยจะต้องร้องขอต่อหน่วยงานใด เพื่อต้องการจดทะเบียนสมรสกับนายโชค ยื่นคำร้องขอการจดทะเบียนสมรสกับศาลเยาวชนและครอบครัว
8.นางสาวอ้อกับนายสมศักดิ์สมรสกันมีแขกสองพันคนเป็นสักขีพยานแต่ไม่ได
จดทะเบียนสมรส ถามว่าการสมรสนั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะสาเหตุใด ไม่สมบูรณ์ เพราะ ยังไม่มีการจดทะเบียนสมรส
9. การจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่มีพิธีแต่งงานถือว่าเป็นการสมรสที่สมบูรณ์หรือไม่เพราะสาเหตุใด สมบูรณ์ เพราะ มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
10. ชายกับหญิงที่แปลงเพศ สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้หรือไม่ ไม่ได้
**************************
หมายเลขบันทึก: 112148เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เป็นการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ละเอียดดี ควรหาวิดิโอพิธีการสมรสของต่างประเทศมาให้นักเรียนได้ศึกษาบ้าง น่าจะดี
   อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ ... ยอมรับบางข้อผมก็ไม่รู้เลย เพราะไม่มีประสบการณ์(อิ.. อิ.. อิ)

ขอลอกหน่อยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท