ชวนตั้งวงเล่าเรื่องความรู้ด้านสื่อ


จากประสบการ์ณทำงานด้านเรตติ้งสื่อโทรทัศน์ ทำให้ต้องกลับมานั่งทบทวนประสบการณ์ทั่งดีและไม่ดี นอกจากนั้นทำให้อยากรู้ว่าสังคมไทยยังขาดความรู้เรื่องอะไรอีก

ได้หารือกับอาจารย์แหววว่า น่าจะไปเล่าความรู้ที่ได้จากการทำงานในปีที่ผ่านมาให้กับคุณหมอสมศักดิ์ฟัง อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่า เรายังขาดความรู้ในเรื่องอะไร ประสบการณ์ในการทำงานเรื่องเรตติ้งมีทั้งข้อดีและข้อไม่ดีอยู่มาก

คิดถึงคำเตือนสติของคุณหมอสมศักด์ว่า ต้องแสวงหาองค์ความรู้ให้ได้มากกว่าการทำงานเลี้ยง

 ก็เลยกลับมานั่งทบทวน ว่า ตอนนี้ น่าจะผลิตองค์ความรู้เรื่องอะไร

เรื่องที่ยังทำไม่ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคิดว่า น่าจะทำให้ได้มากที่สุด ก็น่าเป้นเรื่อง จริยธรรมการใช้สื่อไอซีที กระมัง

เรียนคุณหมอสมศักดิ์ผ่านทางบล็อกว่า ผมกับอาจารย์แหวว อยากนัดคุณหมอเพื่อตั้งวงเล่าเรื่องความรู้ในช่วงปีที่ผ่านมา ว่า เป็นอย่างไร คิดว่าน่าจะได้แนวทางในการทำงานแสวงหองค์ความรู้ในปีหน้า ดีไหมครับ

วันไหนดีครับ ที่คุณหมอสะดวก

หมายเลขบันทึก: 111855เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อจ แหวว mail มาพอดี เลยได้มาอ่าน blog นี้ครับ ผมเพิ่งกลับจากการประชุม คณะ กก จริยธรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ของยูเนสโกพอดี ระหว่างประชุมเกิดความคิดที่จะทำเรื่องนี้ให้จริงจังมากขึ้นในบ้านเรา อีกหลายเรื่อง เข้าใจว่าวงที่เริ่มกันเมื่อปีที่ผ่านมา คงส่งกระแสเตือนมาว่า น่าจะมา update และวางแผนกันทำงานให้จริงจังมากขึ้น

ไปเห็นหนังสือเกี่ยวกับสื่อ อยู่หลายเล่ม อย่างเรื่อง myth of media violence กับ เรื่อง pubic television and digital technology แล้วก็ทำให้คิดถึงเรื่องที่พวกเราคุยกันอยู่ครับ

จะนัดกันผ่าน อจ แหววก็ดีนะครับ เพราะผมต้องไปดูโปรแกรมตัวเองซักหน่อย

 

ดีใจที่ อจ และทีมงานที่มีพลังสร้างสรรค์ เพื่อสังคม พยายามหาสมดุลย์ ระหว่างการทำงานเพื่อ ยาใจ กับ ยาไส้ (ภาษาที่ผมได้มาจาก จนท สาธารณสุขเชียงรายอีกทีครับ  ขออภัยที่จำชือคนพูดไมไ่ด้ จำได้แต่ว่าเป็นทีมงาน ข่วงพยา แปลว่า วงปัญญา) 

นัดกันแล้วค่ะ มวลมิตร วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เวลาเช้า ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. และหวังว่าคุณหมอคงเลี้ยงข้าว

อ.แหวว เสนอให้เป็นการตรวจสอบสถานการณ์ด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน โดย อ.แหววจะเป็นคนเสนอภาพสัก ๑๐ ภาพใหญ่ของงานด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน และขอแรงมวลมิตรช่วยแรเงา

 ตอนนี้ กำลังหารือว่า นอกจากมิตรเก่าที่หารือกันแล้ว จะมีใครอีกไหมหนอ ?

เมื่อวานอาจารย์แหววโทรศัพท์มาหาเพื่อแนะนำแนวทางในการตั้งวงแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสื่อและการสื่อสารในสังคมไทย

โดยอาจารย์แหววเสนอให้ชวนมวลมิตรจาก ๔ กลุ่ม คือ

๑. กลุ่มที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาการปฏิรูปสื่อ ซึ่งแกนหลักก็คือ อาจารย์ย่า พี่เก๋(สุภิญญา) คุณมด พี่โม่ง(ภัทระ) พี่นุ่น อ.สมเกียรติ อ.เอื้อจิต

๒. กลุ่มที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว แกนหลักมีหลายคน เช่น อ.สายฤดี คุณหมอพรรณ คุณหมอยงยุทธ  อ.ปุย พี่เข็มพร พี่ปู (วันชัย) พี่สมา อ.โก๋

๓. กลุ่มที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน ก็มีแกนหลัก อาจารย์แหวว พี่ยิบ (จาก เอเอสทีวี) พี่ภาสกร พี่แจง

๔. กลุ่มที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาจริยธรรมในการประกอบการด้านสื่อ ตรงนี้ก็คงจะมีหลายคน เช่น พี่วันฉัตร พี่สมา(อยู่ตรงนี้ด้วยไหม) ตอนนี้ก็เริ่มรู้จัก คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว (จากสายภาพยนตร์) คุณจำนรรค์ (จากสมาคมสมาพันธ์วิชาชีพวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์)

  • ในส่วนของกำหนดการ เป็นแบบนี้ดีไหมครับ
  • เริ่มต้นจาก
  • เล่าเหตุเป็นมาเป็นไป โดยคุณหมอสมศักดิ์ (ประมาณสิบนาที)
  • ทบทวน ๑๐ สถานการณ์ความรู้ด้านสื่อในปีที่ผ่านมา (ประมาณ สิบนาที)
  • แลกเปลี่ยนความรู้ประเด็น สื่อกับองค์ความรู้ในสังคมไทย (ดีไหมครับ)
ท่านทั้งหลาย
 
อ.แหวว อยากเรียกการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า การประชุมเพื่อแสวงหาโจทย์วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสื่อในสังคมไทย
สำหรับปีนี้ ตัว อ.แหววเองเห็นว่า มีหลายอย่างที่ควรจะต้องรีบทำในสังคมไทย เกี่ยวกับ "สื่อ" และ "พื้นที่สื่อสารสาธารณะ"
 
อ.แหววได้ลองยกร่างกำหนดการประชุมมาแล้วค่ะ ดังเอกสารแนบนะคะ เห็นเป็นอย่างไร ลองแต่งเติมดูนะคะ
 
นอกจากนั้น อ.แหววได้สรุปความคิดคร่าวที่คุยกับหลายคนมาในบันทึกซึ่งแนบมาให้ออกนี้ด้วยแล้วค่ะ
http://gotoknow.org/blog/Media4Development/115306
ซึ่งคิดว่า เราอาจจะแลกเปลี่ยนกันก่อนวันประชุมจริงทางอินเทอร์เน็ตไปพลางๆ ก่อนได้
 
แล้วคิดว่า จะเขียนบันทึกถึง "โจทย์การทำงาน ๔ กลุ่ม" ก่อนหน้า เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนกันก่อนวันจริง ซึ่งมีเวลาจำกัด
คนที่อยากพูดอย่างเดียว ก็จะได้พูดในที่ประชุม แต่คนที่อยากทำด้วยมือด้วยขา จะได้ทำได้หลังจากการประชุม
 
อยากเรียนคุณหมอสมศักดิ์ว่า สิ่งที่ อ.แหววคิดนั้น เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากที่คุยกับ อ.ประเวศ เป็นสิ่งที่ อ.แหววเรียกว่า "สื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน"
อารมณ์ประมาณนี้ ลองอ่านซิคะ http://gotoknow.org/blog/Media4Development/33629
 
แต่ อ.แหวว ก็เห็นความจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องมี "สื่ออิสระ" หรือ "สื่อสร้างสรรค์" หรือ "สื่อจริยธรรมหรือสื่อคุณธรรม"
ตั้งข้อสังเกตว่า ทุกเรื่องมีแนวคิดร่วม แต่คนทำงานในแต่ละเรื่อง ไม่ค่อยได้คุยกันค่ะ ก่อนถึงวันคุยกันจริงๆ กะชวนคุยในอินเทอร์เน็ตก่อนค่ะ
 
คนที่จะเชิญมานะคะ ทาง มสช. ก็อาจจะเห็นตัวคนอยู่ นอกจากนั้น อ.รุ่งรัตน์ และ อ.อิทธิพลจะเข้ามาช่วยประสานงานกับคุณกัลยาณีค่ะ
อ.แหววนึกอะไรได้ ก็จะอีเมลล์มาบอกค่ะ
 
ไปจีน ก็คุยกันทางอีเมลล์ได้ค่ะ
 
ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง
 
อ.แหวว

เสียดายที่ไม่สามารถร่วมประชุมด้วย  อยากฟังความเห็นท่านที่ทำงานด้านสื่อ  รู้สึกว่านักวิชาการคิดแบบบริสุทธ์มากไป  ที่สำคัญคิดบนสถานการณ์สื่อในปัจจุบัน(ในมุมที่แคบ) ทั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของสื่อในอนาคตไปแล้ว  และการมองจากสื่อชนิดเดียวน่าจะผิดธรรมชาติของการใช้สื่อปัจจุบันที่ใช้หลายช่องทางร่วม สรุปสนใจงานวิจัยสองเรื่อง เรื่องการเกิดและดำรงอยู่ของจริยธรรมการสร้างสือ และกระบวนการเรียนรู้ใช้ชีวิตอยู่กับสื่อของเด็กและเยาวชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท