เกษตรบูรณาวิชาเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

 โครงการ  คุณธรรมบูรณาวิชา
         
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     โดย โรงเรียนคลองบ้านระกาศ

 
  หลักการและเหตุผล
๑  ประชากรส่วนใหญ่เป็นปกครองนักเรียนประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง  ปลูกผัก การทอเสื่อกระจูดโดยอาศัยทรัพยากรทางธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นหลัก
๒ นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรจากครอบครัวและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ปกครอง
๓ ทรัพยากรที่ใช้ในประกอบอาชีพหาง่าย  ราคาถูก หรือไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเลย
๔  สร้างความตระหนัก  การปฏิบัติจริง  และขยายผล เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมทางศาสนา
   ให้นักเรียนสามารถเห็นคุณค่าและความสำคัญในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
๕ โรงเรียนคลองบ้านระกาศ จัดโครงการอาหารกลางวันทานฟรี นักเรียนสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารได้มากกว่าผู้บริโภค รู้จักเลือกสรรอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคที่เป็นประโยชน์และรู้จักแนะนำคนอื่นได้
๖ การสร้างคุณธรรม จริยธรรมขึ้นในจิตใจนักเรียน สร้างเยาวชนที่ดีอย่างถาวร ทั้งความซื่อสัตย์ ความประหยัด ความอดทน ความสามัคคี ความสะอาดกายและใจ ความรักท้องถิ่น ความขยัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๗ การใช้ความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆที่ นักเรียนได้ศึกษา
   มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม 
 วัตถุประสงค์
๑   สร้างวัตถุดิบในประกอบอาหารกลางวันโรงเรียนให้มีปริมาณและคุณค่าทางอาหาร ความสะอาดปลอดสารพิษอันเป็นการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
๒   ปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความประหยัด อดออม  การรู้จักใช้จ่ายและฝึกตนให้เป็นผู้มีความประหยัดอดออม มีค่านิยมการเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
๓   เพื่อฝึกอาชีพพื้นฐานของท้องถิ่นให้กับนักเรียนเพื่อสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงในอนาคต
๔   เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความรักความหวงแหนท้องถิ่น รู้จักอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
๕ เพื่อสร้างจิตสำนึกคุณธรรม จริยธรรม ในการทำงาน เช่น ภาวะผู้นำ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ความสามัคคี  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความขยัน  อดทน  ความซื่อสัตย์ การรู้จักเลือกรับในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ความประหยัด อันเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข
๖  เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับนักเรียนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ จิตใจ ความเข้มแข็งในการเอาชนะใจตนเองมีความพอประมาณ และพอใจ
   ในสิ่งที่ตนมีอยู่
๗ เพื่อนำความรู้ทางวิชาการมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้จริง
๘ เพื่อสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นการสร้างความมั่นคงที่ยั่งยื่นอย่างแท้จริง
 
   เป้าหมายของโครงการ
ด้านปริมาณ  ผู้บริหาร
    คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   คณะกรรมการนักเรียน  และนักเรียนโรงเรียนคลองบ้านระกาศ   รวมทั้งสิ้น ๗๕  คน
ด้านคุณภาพ 
    นักเรียนโรงเรียนคลองบ้านระกาศ มีจิตสำนึก ตระหนักและเห็นความสำคัญและคุณค่าของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลักคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ทางวิชาการ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาหารกลางวัน ส่งเสริมสุขภาพการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม
     ๑  เสนอโครงการต่อผู้บริหาร
     ๒  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
     ๓  จัดกลุ่มนักเรียนแจ้งแนวปฏิบัติแก่ครูและนักเรียน
     ๔  ปฏิบัติงานตามโครงการที่เสนอ
     ๕  ประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการ
     ๖  สรุปผลการดำเนินโครงการ
 
   กิจกรรมที่จัดขึ้นในโครงการ
กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการประกอบด้วย
 ๑ กิจกรรมสร้างชีวิตเนรมิตสุขภาพดี
 ๒ กิจกรรมรักษ์น้ำ  รักษ์ปลา  รักษาคุณภาพชีวิต
 ๓ กิจกรรมลวดสารพัดนึก
 ๔ กิจกรรมกระทบเสื่อกระจูด
 ๕ กิจกรรมหญ้าแฝกฝากรัก
 ๖ กิจกรรมบูรณาวิชาการ
 ๗  กิจกรรมธรรมชาติดูแลธรรมชาติ
 ๘  แผนที่ความดี
 ๙  วิจัยในชั้นเรียน
 ๑๐ สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
 ๑๑ แผนบูรณาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 ๑๒ โครงงานดรุณธรรม
 ๑๓ เรื่องเล่า  เร้าพลัง
 งบประมาณที่ใช้
 ๑ ค่าเมล็ดผัก
 ๒ ค่าอุปกรณ์การเกษตร
 ๓ น้ำใจจากผู้บริหารคณะครูและนักเรียนทุกคน
 
   ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ
พฤษภาคม  ๒๕๕๐  ถึง  กันยายน  ๒๕๕๐
 การวัดผลและการประเมินผล
วิธีการประเมิน
 ๑   ผลผลิตที่ได้จากการดำเนินการ
 ๒  จากแบบประเมินและบันทึกการดำเนินโครงการ เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
 เกณฑ์การประเมินโครงการมีดังนี้
 ๕ หมายถึง การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  ดีมาก
 ๔ หมายถึง การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  ดี
 ๓ หมายถึง การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  ปานกลาง
 ๒ หมายถึง การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  พอใช้
 ๑ หมายถึง การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ   ปรับปรุง
 
   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนโรงเรียนคลองบ้านระกาศได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางอาหาร สะอาดปลอดสารพิษ
นักเรียนฝึกอาชีพเกษตรกรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติ
นักเรียนสามารถใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักคุณธรรมทางศาสนา หลักการทางวิชาการมาปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
นักเรียนมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นและหาวิธีนำทรัพยากรมาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ประมลภาพกิจกรรม

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรบูรณาการ
หมายเลขบันทึก: 111677เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโครงการที่น่าสนใจมากค่ะ...เป็นเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ก็ได้ดำเนินงานงานบริการวิชาการในประเด็นเรื่องการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีอาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์รศ.ลัดดา  ศิลาน้อย ทำโครงการนี้อยู่ค่ะ  ถ้าสนใจอยากจะติดต่อขอข้อมูลหรืออยากดูงานหรือร่วมแลกเปลี่ยนก็สามารถเข้าไปดูที่แพลนเน็ตของสำนักงานฯได้ค่ะ 

ผมชื่อสุชาติ สมวงษา สอนที่ ร.ร.บ้านโนนหินลาด-กุดกว้าง สังกัด สพป.ชย. 2 เป็นศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ รุ่น ED.21 ครับ มีความสนใจโครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียนซึ่งมีโครงการดังกล่าวอยู่แล้ว อยากได้ข้อมูลโครงการนี้และรายงานประเมินโครงการ กรุณาส่งมาให้ด้วยนะครับ

กราบขอบพระคุณอย่างยิ่ง

จากลูกศิษย์ ed.21

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท