โครงการอาสาพัฒนาประชาธิปไตย


โครงการอาสาพัฒนาประชาธิปไตย

โครงการอาสาพัฒนาประชาธิปไตย
 

การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย



 

- แผ่นดินพระมหากษัตริย์ วิถีประชาธิปไตย -


ความหมาย อสพป.

อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) หมายถึง ผู้ที่อาสามาสร้างความถูกต้องเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ

คุณสมบัติ
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้ที่เลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เป็นบุคคลที่รู้จักใช้เหตุผลมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และเสียสละต่อส่วนรวม
4. เป็นบุคคลที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา “รู้แพ้ รู้ ชนะ รู้อภัย” และเคารพสิทธิผู้อื่น

วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย โดยตำแหน่ง สิ้นวาระเมื่อพ้นจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือขาดคุณสมบัติ
2. อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย โดยการรับสมัคร สิ้นวาระเมื่อขาดคุณสมบัติ

โครงสร้าง
1. โดยตำแหน่งให้แก่ หัวหน้าคุ้มบ้าน/กลุ่มบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ประธานกลุ่มในหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกกลุ่ม
ทุกองค์กร และผู้นำในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. โดยการรับสมัคร ได้แก่ บุคคลผู้แสดงความประสงค์เป็น “อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย”

อำนาจและหน้าที่ อสพป.
1. สร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ให้แก่ประชาชนทุกรากฐาน

2. พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รณรงค์ให้ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกระดับเพื่อคัดคนดีไปเป็นตัวแทนของประขาขน

3. สนับสนุนและร่วมมือในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ
/


4. สนับสนุนส่งเสริมและมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับอย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาธิปไตย

5. สร้างเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ที่ถูกต้อง เป็นธรรมเป็นไทย

6. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ รณรงค์ และจัดกิจกรรมส่งเสริมอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่จะดำรงไว้ซึ่งถายันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์

7. เผยแพร่วิถีชีวิตประชาธิปไตยและรับสมัครสมาชิกอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง

8. สนับสนุนและร่วมมือในการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมืองและดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองดังกล่าว

9. ปฏิบัติหน้าที่ต่อพลเมืองที่ดีต่อสังคม

10. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามขุมชน

วิทยากร
วิทยากรมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพรมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงทุกภาคีให้มีส่วนร่วมในการคับเคลื่อน ดังนั้น การพิจารณาการคัดเลือกวิทยากรจึงต้องมีคุณสมบัติและภาระดังนี้


1. คุณสมบัติวิทยากร

       1.1 วิทยากรแม่ไก่ ก. คือ วิทยากรระดับจังหวัด/กทม. ที่ศูนย์พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขระดับจังหวัด/กทม. พิจารณาคัดเลือกจำนวน 8 คนเข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนการกิจกรรมโดยไม่เน้นการบรรยายหรือชี้แจง เพื่อการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมุข ได้เป็นอย่างดีและเสียสละเวลาในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี

      1.2 วิทยากรแม่ไก่ ข. คือ วิทยากรระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขต ที่ศูนย์การพัฒนาพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขต พิจารณาคัดเลือกจำนวน 6 คน เข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติในการถ่ายถอดองค์ความรู้ตามกระบวนการกิจกรรมโดยไม่เน้นการบรรยายหรือชี้แจง และเสียสละเวลาในการปฏิบัติหน้าที่สามารถทำงานเป็นทีม รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนไดเป็นอย่างดี เช่น ปลัดอำเภอ พัฒนาการ ครู/อาจารย์ ตชด. สาธารณสุข ท้องถิ่นอำเภอ ตำรวจ เกษตร ฯลฯ

       1.3 ชุดปฏิบัติการขยายผล คือ ชุดปฏิบัติการที่ศูนย์พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิประไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขต ร่วมกับวิทยากรแม่ไก่พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ตำบลจำนวน 3-5 คน ที่มีคุณสมบัติในการเป็นวิทยากรกระบวนการสามารถปฏิบัติงานหมู่บ้าน/ชุมชนได้เป็นอย่างดี และได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรแม่ไก่ เช่น ปลัดอบต. ปลัดเทศบาล ตชด. ครู/อาจารย์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ตำรวจ หัวหน้าสถานีอนามัยประจำตำบล เกษตรตำบล พัฒนากร ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ
 

กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้กำหนด การฝึกอบรมวิทยากรระดับจังหวัดกรุงเทพ มหานคร อำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขต (วิทยากรแม่ไก่) เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ตระหนัก และรับผิดชอบต่อการเลือกคนดีไปเป็นนักการ เมือง เกิดอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่ที่ ถูกต้อง เป็นธรรม เป็นไทย การสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยและจะดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยการจัดตั้ง “อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย”เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ให้เกิดเป็นรูปธรรม

โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประจำปี 2550 จะเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับวิทยากรใช้ในการฝึกอบรมราษฎร และดำเนินการจัดตั้ง “อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย” ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เกิดความผาสุกแก่พี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน

ดังนั้น เพื่อให้โครงกาพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กรมการปกครองจึงได้ริเริ่มจัดทำ
โครงการพัฒนาศูนย์บริหารฐานข้อมูลระบบการติดตามและประเมินผลออนไลน์ ตามโครงการอาสาพัฒนาประชาธิปไตย (
www.democracythailand.com )

 
http://www.democracythailand.com/
หมายเลขบันทึก: 111560เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท