รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ - วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50


งานศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - วิเคราะห์รัฐธรรมนูญไทยที่อ่านประเทศไม่ออก และ วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 : ฉบับขุนนางรัฐประหาร

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

วิเคราะห์

ร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p>  วิเคราะห์รัฐธรรมนูญไทยที่อ่านประเทศไทยไม่ออก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญปี๕๐: ฉบับขุนนางรัฐประหาร</p><p>ข้อมูล อ้างอิง จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนhttp://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999681.html  </p><p>นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ : วิเคราะห์ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">รวบรวมมาจากบทความที่เผยแพร่แล้วบนเว็บประชาไทออนไลน์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความนำ</p>ประชาไท - วันที่ 9 พฤษภาคม เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, ศูนย์ข่าวอิศรา และ มูลนิธิ Friedrich Ebert Stifting จัดการอภิปรายสาธารณะทางวิชาการ โครงการวิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 1 เรื่อง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ปัญหาหลักการพื้นฐานในร่างรัฐธรรมนูญฯ</p>  วิทยากรประกอบไปด้วย - ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน- ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ - รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินรายการโดย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลักษณะสำคัญ 5 ประการของรัฐธรรมนูญ 50</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมจะพูดถึงลักษณะสำคัญบางประการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ผมเตรียมมาพูดอยู่ 5 ประเด็น </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเด็นแรก เรื่องการขาดเป้าหมายในการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเด็นที่สอง การยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเด็นที่สาม การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเด็นที่สี่ การเขียนรัฐธรรมนูญด้วยความหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเด็นที่ห้า การฟื้นคืนระบอบอำมาตยาธิปไตย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ประการแรก : เรื่องการขาดเป้าหมายในการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่มีเป้าหมายการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน ส.ส.ร. ไม่ได้มีการถกกันว่าจะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปการเมือง และถ้าจะต้องถามต่อไปก็ต้องถามว่าปฏิรูปการเมืองเพื่ออะไร ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ว่าคณะกรรมาธิการและ ส.ส.ร. ก็สามารถร่างรัฐธรรมนูญได้โดยที่ไม่มีเป้าหมายร่วมกัน. ผมคิดว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญควรจะเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่า จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร แล้วจึงตามมาด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว แต่สิ่งซึ่งเกิดขึ้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เป้าหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอยู่ 2 ประการ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">1. ประการแรกคือ การป้องกันการกลับมาของระบอบทักษิณ เห็นได้จากการล้มระบบปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้ง ส.ส. และเห็นได้จากการลดทอนความเข้มข้นของแนวความคิดว่าด้วย Strong Executive ซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ความเกรงกลัวการกลับคืนมาของระบอบทักษิณปรากฏอย่างชัดเจนในมาตรการต่างๆ ซึ่งผมจะพูดถึงต่อไป</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2. ส่วนอีกเป้าหมายที่ผมอ่านได้จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ การลงรากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นั่นเป็นลักษณะที่สำคัญในประการแรก การขาดเป้าหมายการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจนในการร่างรัฐธรรมนูญทำให้เราไม่สามารถที่จะไปคาดหวังได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีผลต่อการปฏิรูปการเมือง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ประการที่สอง : </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สอง คือการยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ถ้าอ่านจากร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พูดด้วยภาษาเศรษฐศาสตร์ กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญมีข้อสมมติว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ดี นักการเมืองก็ดีเป็น Utility Maximizer เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ต้องการแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด. ถ้าหากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีข้อสมมติว่านักการเมืองเป็นอัปรียชน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีข้อสมมติยิ่งไปกว่านั้น คือนักการเมืองเป็นมหาอัปรียชน ในขณะที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจุลอัปรียชน คือระดับของความอัปรีย์มันน้อยกว่า</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในอีกด้านหนึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีข้อสมมติว่าตุลาการผู้พิพากษา เป็น Social Welfair Maximizer เป็นคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ไม่มีราคะ เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ด้วยเหตุดังนั้นการออกแบบรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเป็นไปในทางที่ให้บทบาทสำคัญกับตุลาการ และผู้พิพากษา นี่เป็นลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สอง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ประการที่สาม : </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน</p> ลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สาม คือการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นักเรียนไทยมักจะได้รับการอบรมสั่งสอนว่า ในสังคมการเมืองไทย มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power) เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการแยกอำนาจ มันมีความหมายซึ่งแตกต่างกันหลายความหมาย. Jeffrey Marshall ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้แยกแยะความหมายของ Separation of Power ไว้อย่างน้อย 5 ความหมาย แต่ผมอยากจะหยิบยกขึ้นมาพูดเพียง 3 ความหมาย </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">1. Separation of Functions (การแบ่งแยกหน้าที่) </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2. Physical Separation of Persons (การแยกตัวบุคคลผู้มีอำนาจอธิปไตย) โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มี Physical Separation of Persons ก็คือห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ว่าแนวความคิดนี้ก็หายไปในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 และ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">3. Check and Balance (การตรวจสอบถ่วงดุล)</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ Separation of Functions มันค่อยๆ เลือนหายไป ผมนั่งไล่ดูตั้งแต่ธรรมนูญการปกครองสยามปี 2475 เป็นต้นมา ผมเห็นภาพของการที่อำนาจอธิปไตยสามฝ่ายก้าวก่ายซึ่งกันและกัน และระดับของการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกันมีมากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฝ่ายบริหารก้าวล่วงไปมีอำนาจนิติบัญญัติ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา เริ่มต้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2475</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตราพระราชกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2489 </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ฝ่ายบริหารมีอำนาจเด็ดขาดในการตรากฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน เริ่มต้นด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2489</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทั้งหมดนี้ยังคงดำรงอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 รวมทั้งการที่ฝ่ายบริหารเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา ในขั้นตอนของการพิจารณาขั้นกรรมาธิการ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปมีอำนาจนิติบัญญัติ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิ่งซึ่งเด่นชัดมากในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็คือการที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และก้าวล่วงไปใช้อำนาจบริหาร นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ อาจจะเป็นผลมาจากเพื่อนของเราบางคนที่พูดถึงเรื่องตุลาการภิวัตน์. ฝ่ายตุลาการสามารถใช้อำนาจนิติบัญญัติได้ เพราะว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ให้อำนาจตุลาการในการเสนอร่างพระราชบัญญัติในมาตรา 138 (3) ให้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ในมาตรา 134 (2) ผมไม่เคยพบรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปมีอำนาจนิติบัญญัติ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฝ่ายตุลาการก็ยังก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายบริหารตามมาตรา 68 ในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติการณ์การเมือง และที่สำคัญก็คือ การที่ฝ่ายตุลาการมีอำนาจในการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบการเมือง ฝ่ายตุลาการมีบทบาทสำคัญในการคัดสรรสมาชิกวุฒิสภา, ฝ่ายตุลาการมีบทบาทสำคัญในการคัดสรรและเลือกบุคคล, เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เลือก กกต., เลือก ปปช., เลือกคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, และเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จะเห็นได้ว่าอำนาจของฝ่ายตุลาการภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีมากขึ้น ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ และก้าวล่วงไปใช้อำนาจบริหาร ผมจึงชี้ประเด็นว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อให้มีการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกัน และเป็นการก้าวก่ายที่มากที่สุดเท่าที่เคยเห็นตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ประการที่สี่ : </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การเขียนรัฐธรรมนูญด้วยความหวาดกลัวพรรคการเมืองและการผูกขาดทางการเมือง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่เดิมรัฐธรรมนูญมีอคติว่าด้วยขนาดของพรรค กล่าวคือฐานคติของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ยึดฐานคติที่ว่าพรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็ก นี่เป็นอิทธิพลของนักรัฐศาสตร์ที่ไปรับใช้ผู้นำฝ่ายทหารในยุคเผด็จการคณาธิปไตยในการร่างรัฐธรรมนูญ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อคติว่าด้วยขนาดของพรรคปรากฏชัดเจนครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 ก็คือการจำกัดอำนาจนิติบัญญัติของพรรคการเมืองขนาดเล็ก. รัฐธรรมนูญฉบับ 2521 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ ส.ส. ไม่สามารถนำเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ในนามของปัจเจกบุคคล, ร่างกฎหมายที่ ส.ส. จะเสนอเข้าสภาจะต้องได้รับมติจากพรรคการเมืองที่ตัวเองสังกัด และจะต้องมี ส.ส. ร่วมพรรคเดียวกันลงนามรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน. เป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญมีอคติว่าด้วยขนาดของพรรค ลงโทษพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มี ส.ส. น้อยกว่า 20 คนไม่ให้มีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 138 ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ อคติว่าด้วยขนาดของพรรคลบเลือนไป แนวความคิดที่ว่าพรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็กถูกลบออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550. ส.ส. สามารถที่จะเสนอร่างกฎหมายในนามปัจเจกบุคคลได้ ไม่ต้องผ่านเป็นมติของพรรค แล้วก็ไม่ต้องมีสมาชิกในสังกัดพรรคเดียวกันลงนามรับรองอย่างน้อย 20 คน รวมไปถึงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย. รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ถึงแม้ว่าจะให้ ส.ส. มีสิทธิในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดว่า ญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องเป็นมติของพรรค</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อคติว่าด้วยขนาดของพรรคที่ว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ดีกว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก นอกจากปรากฏในบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายแล้ว ก็ยังปรากฏในระบบการเลือกตั้ง อคติที่รุนแรงที่สุดก็คือระบบปาร์ตี้ลิสต์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ทำไมจึงบอกว่าเป็นคติที่รุนแรง ก็เพราะว่าระบบปาร์ตี้ลิสต์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 cut-off ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ไม่มี ส.ส. ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่นั่ง ส.ส. ก็เกลี่ยไปให้กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ระบบปาร์ตี้ลิสต์ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ มี Over Representation และทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมี Under Representation</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งใช้ Populational Representation หวังว่าจะไม่มี cut-off ในแง่นี้ก็ทำให้อคติที่ว่าพรรคการเมืองใหญ่ดีกว่าพรรคการเมืองเล็กถูกลบไปในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หมายความว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่มีความได้เปรียบเกินกว่าที่ควรจะได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ นี่เป็นการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความเกรงกลัวพรรคการเมืองใหญ่ แต่ผมคิดว่ามันเป็นทิศทางที่ดี</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฐานคติของร่างรัฐธรรมนูญเก่าๆ อย่างน้อยตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ด้วยอิทธิพลของนักรัฐศาสตร์กระแสหลักมีความเชื่อว่าระบบทวิพรรคดีกว่าระบบพหุพรรค นักรัฐศาสตร์ไทยต้องการให้สังคมการเมืองไทยพัฒนาไปสู่ระบบที่มีพรรคการเมืองเพียง 2-3 พรรค ดังที่เป็นอยู่ในอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา แล้วรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งให้ประโยชน์กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่างรุนแรง เราก็เห็นพัฒนาการของการเมืองไทยในทางที่สังคมการเมืองไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ระบบทวิพรรค (Bi-Party System) เพราะว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้โบนัสจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โบนัสดังกล่าวเป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้พรรคการเมืองอาศัยวิธีการเติบโตจากภายนอก (External Growth) คือการครอบ-การควบกลุ่มและพรรคการเมือง อย่างที่พรรคไทยรักไทยทำ พรรคไทยรักไทยซื้อกลุ่มการเมือง ซื้อพรรคการเมือง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีความเป็นไปได้อย่างสูงมากที่สังคมการเมืองไทยจะเปลี่ยนไปสู่ระบบหพุพรรค (Multi-Party System) เพราะอะไร เพราะว่าระบบเลือกตั้งที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เลือกเป็นระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพวงใหญ่ ต่างกับระบบการเลือกตั้งเขตเล็กคนเดียว ระบบการเลือกตั้งเขตเล็กคนเดียวนั้นมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไปสู่ Bi-Party System แต่ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพวงใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำให้สังคมการเมืองไทยเปลี่ยนไปสู่ Multi-Party System อย่างไรก็ดี วงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่า Bi-Party System ดีกว่าหรือเลวกว่า Multi-Party System</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นี่คือบทบัญญัติส่วนที่สองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่ บทบัญญัติในส่วนที่สามคือการกำหนด Term Limit ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอยู่ในมาตรา 167 วรรค 4 นายกรัฐมนตรีจะมีวาระไม่เกิน 2 วาระ หรือไม่เกิน 8 ปี</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทบัญญัติในส่วนที่สี่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ตรงกันข้ามกับฉบับปี 2540 กล่าวคือฉบับปี 2540 ต้องการส่งเสริม Strong Executive และต้องการส่งเสริม Strong Prime Minister แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีการผูกขาดทางการเมือง รัฐบาลทักษิณมีอำนาจผูกขาดทางการเมืองทั้งในตลาดนักการเมืองและตลาดพรรคการเมือง ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ทำให้ Strong Executive ลดความเข้มข้นลง ทำไมถึงบอกว่าลดความเข้มข้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ประการแรกทีเดียว อคติว่าด้วยขนาดของพรรคลดลง Over Representation ของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ลดลง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- ประการที่สอง การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติง่ายขึ้น แต่ก่อนนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ต้องอาศัยคะแนนเสียง 2 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ที่มีอยู่ แต่ว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 เพียง 1 ใน 4</p><p>  - ประการที่สาม เหตุผลที่ Strong Executive ลดความเข้มข้นลงก็คือ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมรัฐมนตรีน้อยลง ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสามารถควบคุมรัฐมนตรีในรัฐบาลได้ง่าย เพราะว่าในทันทีที่นายกฯ ปรับคณะรัฐมนตรี ปลดรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีคนนั้นก็จะว่างงานทันทีในทางการเมือง ไม่สามารถที่จะกลับไปดำรงตำแหน่ง ส.ส. ได้ ถึงแม้ว่าก่อนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะเป็น ส.ส. อยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้ห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แม้จะถูกปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยังคงมีตำแหน่ง ส.ส. รองรับอยู่ นี่เป็นลักษณะสำคัญในประการที่สี่   </p><p>ประการที่ห้า : </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การฟื้นคืนของระบอบอำมาตยาธิปไตย</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ต้องการฟื้นคืนระบอบอำมาตยาธิปไตย ผมไม่เคยมีความเชื่อว่าการรัฐประหารจะก่อให้เกิดการผลิตรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เคยมีนะครับ ยกเว้นรัฐประหารปี 2490 แล้วเกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุ ลองไล่เหตุการณ์ดูสิครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- รัฐประหารปี 2500 กับ 2501 ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อให้เกิดผลผลิตรัฐธรรมนูญฉบับปี 2511 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- รัฐประหารปี 2512 ยังไม่ทันผลิตรัฐธรรมนูญก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะขบวนการสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเมืองไทยไม่เชื่อว่าจะมีการผลิตรัฐธรรมนูญ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- รัฐประหารปี 2519 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- รัฐประหารปี 2534 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับ 2534 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งพยายามฟื้นอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตย ในทำนองเดียวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็เป็นรัฐธรรมนูญของระบอบอำมาตยาธิปไตย</p>  โครงสร้างชนชั้นปกครองไทยเปลี่ยนแปลงไปมากหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516 ก่อนหน้านั้น การรับราชการเกือบจะเป็นหนทางเดียวในการไต่เต้าขึ้นไปเป็นชนชั้นปกครอง แต่หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516 มีมนุษย์ต่างดาวนอกระบบราชการถีบตัวขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งของประชาชน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  จากการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีความหมายแต่เพียงว่ามีมนุษย์ต่างดาวขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่มันยังมีนัยยะสำคัญต่อกระบวนการแบ่งปันส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการกำหนดและการบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจ   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่ก่อนนี้ส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจกระจุกอยู่ในระบบราชการ และแบ่งปันกันในหมู่ผู้นำข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516 ส่วนเกินทางเศรษฐกิจนี้เริ่มรั่วไหลออกนอกระบบราชการ ตกไปสู่มนุษย์ต่างดาวที่มาจากกระบวนการเลือกตั้ง รัฐประหารเดือนกันยายน 2519 เป็นความพยายามที่จะดึงเอาส่วนเกินทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้กลับเข้ามาสู่ระบบราชการ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่จะฟื้นคืนด้วยการบังคับใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 อาศัยตุลาการ ผู้พิพากษา เป็นหัวหอก  และนี่เป็นลักษณะสำคัญห้าประการของร่างรัฐธรรมนูญ</p>

หมายเลขบันทึก: 111529เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมว่า ไม่ว่าจะเป็น รัฐธรรมนูญฉบับใหนๆ จะดีหรือไม่ดีแค่ใหน ผมว่าถ้าผู้นำไปใช้เป็นคนไม่ดี ต่อให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุด ผลที่ออกมามันก็ไม่ดีหลอกครับ ผมว่าก่อนที่จะนำรัฐธรรมนูญออกมาใช้ผมว่าควรมาทำให้ใช้ รัฐธรรมนูญเป็นคนที่ดีเสียก่อนดีกว่าครับ และ ถ้าผู้ใช้เป็นคนดี รักชาติ มีจิตสำนึกดี มาใช้แล้ว ผมว่าไม่ว่าฉบับใหนๆ ก็มีประโยชน์ทั้งนั้นแหละครับ  

                                                  คนรัก ...ประเทศไทย

คนรักประเทศไทยเหมือนกัน

ดิฉันมีความเห็นว่าระหว่างการหารัฐธรรมนูญที่ดี กับการหาคนใช้รัฐธรรมนูญที่ดี สำคัญอยู่ที่การหาคนใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นคนดีนี่แหละจะหาได้มั๊ยหนอ จะรู้ได้งัยว่าเป็นคนดี ดีแล้วไม่มีชั่วเลยจะมีเปล่า แล้วดีที่สุดจะเอาที่สุดแค่ไหน แต่การหารัฐธรรมนูญที่ดียังสามารถหาได้นะ คะ

ไม่เอาอีอำมาตย์ซ่อนแอบ

คนดีใครๆก็อยากให้เข้ามา แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญมันเป็นของโจรแล้วคนดีจะไปใช้ประโยชน์ได้ไงเล่า ถ้ารักประเทศไทยและประชาธิปไตยจริงก็อย่าทำมาเป็นว่าคนนั้นดีคนนี้เลวหน่อยเลย รัฐประหารเลวเห็นๆมาได้ไงนอกระบบสุดๆ ยังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนกันอยู่ได้

โอ้ ไม่เป็นไรตอนนี้ได้นายกหญิงคนใหม่แล้วก็แก้ซะ เจ้ารัฐธรรมนูญหน้าแหลมฟันดำเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท