หลักการ แนวคิดเบื้องต้น


ระเบิดจากข้างใน

ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็แล้วแต่ เราต้องพิจารณาจากตนเองก่อนว่ามีความพรัอมอะไรหรือไม่ และมีความไว้วางใจตนเองมากน้อยเพียงใด สิ่งสำคัญต้องรู้จักให้เกียรติตนเองทั้งด้านความคิด และการกระทำ มีความเชื่อมั่นในตนเอง เคารพความคิดตนเอง บนพื้นฐานคุณธรรมและความพอเพียง ดังคำที่ว่า "ระเบิดจากข้างใน" ถ้าเราจัดระบบตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถขยายแนวความคิดเป็นเครือข่ายให้ผู้อื่นได้รับทราบ ได้องค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณมากครับ ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้ก่อน

กิติศักดิ์

คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 111360เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจจริง ๆ ครับที่เรียนรู้และปฏิบัติจริงได้

วันนี้เราพร้อมด้วยคณะครูร่วมมือร่วมใจกันทำแผนปฏิบัติการโรงเรียน เพื่อเตรียมการให้พร้อมรับปีการศึกษา 2551 คณะครูมีความกระตือรือล้นในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง และสิ่งที่สำคัญเราเริ่มโครงการให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน โดยนำคะแนนสอบ O-NET ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 คือชั้น ป. 3 และ ป.6 มาร่วมกันวิเคราะห์ ให้คณะครูช่วยกันคิดถึงปัญหาต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขบัญหา เรียนรู้เด็กรายบุคคล เตรียมการแก้ปัญหาด้วยการสอบเสริมปรับพื้นฐานให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งให้คณะครูเตรียมจัดทำแผนการสอนรายปี (40 สัปดาห์) และแผนการสอนรายครั้ง ให้สอดคล้องกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทฺธิ์ดีขึ้น ทั้งนี้ในปี 2551 เน้นที่ 3 กลุ่มสาระหลัก คือ ไทย คณิต และวิทย์ อาจมีคณะครูบางท่านขอทำเสริมในวิชาภาษาอังกฤษ เพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการอีกประการหนึ่ง บอกตามตรงว่าสบายใจ และมีความรู้สึกภาคภูมิใจในคณะครูโรงเรียนบางโพธิ์เหนือ ทุกท่าน...ที่กรุณาให้ความสำคัญเช่นเดียวกับเรา ขอขอบคุณด้วยใจจริง...อย่างนี้เด็กนักเรียนมีความหวังมาก.....

"ผู้นำที่ยิ่งใหญ่คือแรงผลักดันของเรา"

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< กิติศักดิ์ เพ็งสกุล*

ผู้นำสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาแล้วแต่สถานการณ์จะอำนวยให้ หากมองมาที่สถานศึกษาบุคคลที่สำคัญที่สุดคือผู้อำนวยการ ที่สามารถนำพาองค์การหรือสถานศึกษานั้นบรรลุสู่เป้าหมายได้ ถ้ามีภาวะผู้นำและการบริหารจัดการที่ดี สามารถเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ ด้วยการมีนโยบายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รวมทั้งมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีปราศจากภาวะกดดันที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู บุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำอย่างไรให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการสร้างสรรค์พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตามความสามารถและความต้องการของแต่ละบุคคล ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือบรรยากาศในการทำงานที่เป็นกัลยาณมิตร มีความไว้วางใจ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน ผูกมัดใจกันด้วยความรักและความผูกพัน ทำให้ทุกคนมีความสุขในการทำงาน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการสร้างสรรค์และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ นั่นแสดงว่าโรงเรียนต้องการผู้นำนั่นเอง ดังความหมาย “ผู้นำ” ที่ว่าบุคคลที่จะมาประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมกันโดยที่ว่าจะเป็นการอยู่รวมกันก็ตามหรือทำการร่วมกันก็ตาม ให้พากันไปด้วยดี สู่จุดหมายที่ดีงาม (พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต), 2549 : 3) กล่าวได้ว่าธรรมชาติของคนต้องมีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นสังคม นั่นเป็นการร่วมกันแต่เพียงภายนอกเท่าที่สายตามองเห็น แต่ความรู้สึกภายในจิตใจนั้นยากแท้จะทราบได้ ต่างคนต่างจิตต่างใจ ต่างความรู้สึกนึกคิด มีความต้องการและมีความรู้ความสามารถต่างกัน เป็นการยากที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขถ้าไม่มีความเข้าใจตรงกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผู้นำเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานสู่เป้าหมายที่ดีงามร่วมกัน

มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะเป็นทุกข์ และไม่ว่าเราแต่ละคนจะมีจุดหมายของชีวิตเป็นอย่างไร ทุกคนก็ควรดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในทุกขณะ แห่งลมหายใจแต่ในความเป็นจริงเรากลับมีความทุกข์เกิดขึ้นอย่างมากมายในชีวิต น.พ.สุกมล วิภาวีพลกุล, 2549 : 9) นั่นแสดงว่า “การปรุงแต่ง” เป็นสาเหตุของการเป็นทุกข์ เราควรทำงานในสภาพที่จิตใจไม่ปรุงแต่ง ในชีวิตจริงถ้าพบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาทำให้เกิดความทุกข์ แต่ก็ไม่สามารถหนีพ้นเมื่อผ่านมาแล้วก็ต้องผ่านไป ขอจงอย่าให้ “การปรุงแต่ง” ของใจเรากระหน่ำซ้ำเติมจนทำให้เกิดทุกข์จนเกินเหตุได้

การพัฒนาเป็นผู้นำที่ทรงพลัง (resonant leaders) ซึ่งความสามารถในการวางแผนการจัดการ สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในองค์กร หน่วยงานและชุมชน หาโอกาสที่ท้าทายในแต่ละวัน กล้าเผชิญหน้ากับความกลัว และความผิดหวัง นอกจากนั้นยังผลักดันผู้คนให้มีความก้าวหน้าทุ่มเทให้กับการงานในหน้าที่ภายใต้ความสัมพันธ์อันทรงพลังโดยให้ความเอาใจใส่ตนเองไปพร้อม ๆ กัน นอกจากจะต้องมีการจัดการกับตนเองแล้วยังต้องสนใจสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดความกดดัน ท้อแท้ อาจจะกลายเป็นความเกลียดเรื้อรัง ผู้นำต้องจัดการกับสิ่งเหล่านี้ด้วยสติที่รอบคอบผ่านวิกฤติความเคลียดไปให้ได้ ซึ่งความไม่แน่นอน ความท้าทายและอันตรายที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้นำต้องเผชิญ โดยเฉพาะในปัจจุบันระบบสังคมมีความแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ความขัดแย้ง ความไม่มีเหตุผลทำให้เกิดความกลัว โกรธ และขาดความยั้งคิด สภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบในองค์กรให้มีความซับซ้อนมากขึ้นและทำให้เกิดโอกาสมากขึ้น การอุทิศตนมากเกินไปเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยเกินไปทำให้ผู้นำติดกับดักที่เรียกว่า “การสังเวยตนเอง” (Sacrifice Syndrome) กล่าวคือ ความเป็นผู้นำเป็นเรื่องของการใช้อำนาจและการโน้มน้าวผู้อื่น ซึ่งอำนาจนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างบุคคล ถูกตัดออกจากกลุ่มขาดการมีสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นจะเกิดแรงกดดัน เหนื่อยล้า และหมดแรงไปจากวิกฤตขนาดเล็กสะสมเป็นจำนวนมากขึ้น ๆ ประกอบกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวทำให้ขาดการพักผ่อน เกิดอาการหดหู่ มีผลให้การโน้มน้าวผู้อื่นกลับกลายเป็นปัญหา เจ็บป่วยจากการทุ่มเท เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “ความเคลียดที่เกิดจากอำนาจ” (Power stress) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของความเคลียดพื้นฐานของความเป็นผู้นำ เป็นธรรมดาของบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมองค์กรมักพบว่า การกำหนดทางเลือกไม่ชัดเจน การติดต่อสื่อสารและการตัดสินใจเป็นไปอย่างซับซ้อน ใช้อำนาจด้วยความไม่ชัดเจน จะพัฒนากลายเป็นความเคลียดเรื้อรัง

การป้องกันความเคลียดที่เกิดจากอำนาจได้ด้วยการใส่ใจตนเองและผู้อื่น เพื่อสร้างพลังให้เกิดขึ้นในระยะยาว ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลที่อยู่รอบตัว ที่มีความคิดและเหตุผลตรงกันในการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence หรือ EI) ให้กับตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ส่วนประกอบหลัก 4 ประการ คือ ความสามารถในการตระหนักถึงตนเอง (Self – awareness) การบริหารจัดการตนเอง (self-management) การตระหนักถึงสังคม (Social awareess) การบริหารความสัมพันธ์ (relationship management) ซึ่งปัจจัยสองประการแรกนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราสามารถตระหนักและบริหารอารมณ์ของผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์และทำงานภายใต้ระบบสังคมที่ซับซ้อนได้ดีเพียงใด ดังตารางที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหลักของผู้นำที่สนับสนุนการพัฒนาผู้นำที่ทรงพลังส่วนประกอบหลัก และความสามารถของความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถส่วนบุคคล : ความสามารถที่จะพิจารณาว่า

เราสามารถจัดการกับตนเองได้ดีเพียงใดความตระหนักต่อตนเอง

• ความตระหนักต่ออารมณ์ของตนเอง : การอ่านอารมณ์ของตนเอง และเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น : การใช้ “สามัญสำนึก” เพื่อชี้แนะแนวทางในการตัดสินใจ

• การประเมินตนเองอย่างถูกต้อง : การตระหนักถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเอง

• ความมั่นใจในตนเอง : การตระหนักถึงคุณค่า และความสามารถของตนเอง

การบริหารจัดการตนเอง

• การควบคุมอารมณ์ของตนเอง : การเก็บอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม และแรงกระตุ้นทางพฤติกรรมให้อยู่ภายใต้การควบคุม

• ความโปร่งใส : การแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ จริงใจ และความน่าเชื่อถือ

• ความสามารถในการปรับตัว : การแสดงออกถึงความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงหรือการเอาชนะอุปสรรค

• ความสำเร็จ : การมีแรงผลักดันเพื่อพัฒนาความสามารถของตนเองให้บรรลุมาตรฐานความเป็นเลิศ

• ความคิดริเริ่ม : ความพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ และฉวยโอกาสที่ผ่านเข้ามา

• การมองโลกในแง่ดี : การมองเห็น “ด้านบวก” ของสถานการณ์

ความสามารถทางสังคม : ความสามารถที่จะพิจารณาว่า

เราสามารถบริหารความสัมพันธ์ได้ดีเพียงใด

• ความเอาใจใส่ : การรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้อื่น การเข้าใจมุมมองของผู้อื่น และการแสดงความสนใจต่อความกังวลของผู้อื่น

• ความตระหนักภายในองค์กร : การอ่านแนวโน้มของสิ่งที่จะเกิดขึ้น การทำความเข้าใจเครือข่ายการตัดสินใจและการเมืองในระดับองค์กร

• การบริการ : การตระหนัก และการดำเนินงานให้บรรลุความต้องการของผู้ติดตามและลูกค้า

การบริหารความสัมพันธ์

• ความเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ : การชี้นำ และสร้างแรงจูงใจด้วยวิสัยทัศน์ที่แข็งแกร่ง

• การสร้างผลกระทบต่อผู้อื่น : การใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการชักจูงใจ

• การพัฒนาผู้อื่น : การเสริมสร้างความสามารถของผู้อื่นด้วยการแจ้งให้ทราบผลการทำงาน และการให้คำแนะนำ

• การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง : ความสามารถในการริเริ่ม การบริหาร และการนำผู้อื่นไปสู่ทิศทางใหม่

• การบริหารความขัดแย้ง : การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

• การสร้างเครือข่าย : การปลูกฝัง และการดูแลรักษาเครือข่ายของความสัมพันธ์

• การทำงานเป็นทีม : การกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกัน และการสร้างทีมงาน(Richard Boyatzis and Annie McKee, 2005 :48-49)

หากเมื่อใดผู้นำเกิดประสบการณ์ความเคลียดเรื้อรัง ต้องตั้งสติด้วยความ

รอบคอบเพื่อพลิกฟื้นร่างกาย จิตใจ อารมณ์ของตนเองอยู่เสมอไม่ยอมแพ้ให้กับความเหนื่อยล้า ความกลัวหรือความโกรธ พลิกฟื้นสถานการณ์ด้วยการมองหาโอกาสจากความท้าทายและสร้างสรรค์ สร้างแรงจูงใจให้ตนเองและผู้อื่น มองโลกในแง่ดีตรงความเป็นจริง ตื่นตัวและตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยส่วนประกอบหลักการฟื้นคืนพลังสามประการ ประการแรกคือ ความใส่ใจ (mindfulness) หรือการดำรงอยู่ในสภาวะของความเต็มอิ่ม ความตระหนักถึงความเป็นตัวตนของตนเอง และบริบทที่เราอาศัยและทำงานอยู่อย่างครบถ้วน ส่วนประกอบประการที่สองคือ ความหวัง (hope) เชื่อมั่นว่าอนาคตที่วาดไว้สามารถเกิดขึ้นได้ เดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พร้อมสร้างแรงบันดาลใจผู้อื่น ส่วนประกอบประการที่สามคือ ความเข้าใจอย่างลึกซื้ง (Compassion) เข้าใจความต้องการผู้อื่น และมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามความรู้สึกของเรามากยิ่งขึ้น(Richard Boyatzis and Annie McKee, 2005 :14-16)

กล่าวโดยสรุปผู้นำในปัจจุบันต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย สถานการณ์ทำให้เกิดความเคลียด ความกดดัน ความทุ่มเท และความไม่สอดคล้องกันได้อย่างรุนแรง การตอบสนองความท้าทายต้องอาศัยการฟื้นคืนพลังอย่างมีสติทั้งประจำวันและระยะยาว ใส่ใจปรับเปลี่ยนวิธีการของตนเอง เพื่อบริหารตนเองและเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ สร้างความทรงพลังภายใน ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบุคลากร เรียนรู้ที่จะพัฒนาประสบการณ์ของความหวัง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่เสมอ ให้ความสำคัญพลังภายในของตัวเราเอง (ความคิด จิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ) เพื่อส่งพลังดังกล่าวไปยังบุคคล และกลุ่มคนรอบ ๆ ตัวเรา การจะเป็นผู้นำที่ทรงพลังได้ต้องมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วย ความสามารถในการตระหนักถึงตนเอง (Self – awareness) การบริหารจัดการตนเอง (self-management) การตระหนักถึงสังคม (Social awareess) การบริหารความสัมพันธ์ (relationship management) ด้วยจิตใจที่แท้จริง ทั้งนี้การใช้อำนาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างบุคคล ถูกตัดความสัมพันธ์ออกจากกลุ่ม ทำให้เกิดแรงกดดัน หนื่อยล้า หมดแรง สะสมเป็นปัญหา เกิดอาการหดหู่ เรียกว่า “การสังเวยตนเอง” ทำให้เกิดความเคลียดที่เกิดจากการใช้อำนาจ (power stress) ถือว่าเป็นความเคลียดพื้นฐานของผู้นำ ซึ่งเกิดจากการควบคุมองค์กรที่มีทางเลือกไม่ชัดเจน การสื่อสารและการตัดสินใจมีความสลับซับซ้อน นำด้วยอำนาจที่เกิดจากความไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเปล่าเปลี่ยวพัฒนาเป็นความเคลียดเรื้อรัง ซึ่งมีวิธีการฟื้นคืนพลังด้วยการมีสติที่รอบคอบ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ตนเองอยู่เสมอ จะสามารถผ่านวิกฤตความเคลียดได้ ถ้าไม่ยอมแพ้ความเมื่อยล้า ความกลัว หรือความโกรธ หาโอกาสเอาชนะอุปสรรคด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ตนเองและผู้อื่น มองโลกแง่ดีทำให้เกิดค่านิยมและเป้าหมายทางบวก โดยหลักการฟื้นคืนพลังมี 3 ประการ คือ ความใส่ใจ (mindfulness) หมายถึงความเต็มอิ่ม ตระหนักถึงความเป็นตัวตนของตนเอง ความหวัง (hope) เชื่อมั่นว่าอนาคตที่วาดไว้สามารถเกิดขึ้นได้ เดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พร้อมสร้างแรงบันดาลใจผู้อื่น ความเข้าใจอย่างลึกซื้ง (Compassion) เข้าใจความต้องการผู้อื่น และมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามความรู้สึกของเรามากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดสถานการณ์ความเคลียด ความกดดัน ความทุ่มเท และความไม่สอดคล้องกันอย่างรุนแรง ต้องมีสติ ปรับเปลี่ยนและบริหารตนเองในการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ๆ สร้างพลังภายในตนเองด้านความคิด จิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ ส่งพลังไปยังบุคคลและกลุ่มคนรอบตัวเรา

เอกสารอ้างอิง

ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์.ผู้นำที่ทรงพลังผู้นำที่ผลักดันองค์กรไปสู่ความยิ่งใหญ่.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรกมลการพิมพ์, 2550.

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).ภาวะผู้นำ.กรุงเทพฯ :บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด, 2549.

สุกมล วิภาวีพลกุล. มองชีวิต มีชีวา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิตา, 2549.

------------------------------------------------------

*นักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท