นำ KM ไปใช้อย่างไรในโรงเรียน


เริ่มต้นจากการที่โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ  ได้รับเลือกให้เป็น  1  ใน  4  ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต  2  ให้เข้าร่วมโครงการ  การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้  ซึ่งจะต้องส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมที่โรงแรม  ทาว์น  อิน  ทาว์น       เมื่อวันที่  1-3  มิถุนายน  2549      นำทีมโดยท่านผู้อำนวยการอัปษรภาธรธุวานนท์  และคุณครูอีก  3  คน  เป็นครั้งแรกที่เพิ่งจะได้ยินคำว่า  “KM”  และพอจะเข้าใจว่า  ทำไมจึงต้อง  “KM”  แต่ยังไม่เข้าใจดีพอว่าจะนำ  KM  ไปใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร  จะทำวิธีไหน  และทำอย่างไร  ในระหว่างการรับประทานอาหารเย็นของการอบรมในแต่ละวัน  ท่านผู้อำนวยการและพวกเรา (3  คน)  ก็จะมานั่งคุยกันถึงการที่จะทำให้คุณครูในโรงเรียนได้เข้าใจ  เห็นคุณค่าและประโยชน์ของ  KM  หากทำได้จริง ๆ  ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวครู  นักเรียน  และโรงเรียนอย่างยิ่ง  แต่ปัญหาก็คือ  จะทำอย่างไรล่ะ  และแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า  เราควรจะเริ่มต้นจากการให้ความรู้แก่คุณครูที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระฯ  หัวหน้างาน  หัวหน้าฝ่ายต่างๆก่อน  เพื่อให้คุณครูเหล่านี้เป็น ครูแกนนำ KM”  นำความรู้ไปขยายผลต่อคุณครูในกลุ่ม-สาระ  กลุ่มงาน  กลุ่มฝ่ายของตนเองต่อไป   วิธีการที่ให้รู้แก่ครูแกนนำกลุ่มนี้  พวกเราได้ตกลงใจกันว่า  จะใช้วิธีการที่ให้ความรู้ทั้งในส่วนที่เป็นทฤษฎี(เล็กน้อย)  และลงมือปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่  โดยใช้โมเดล ปลาทู  เหมือนเช่นที่ได้รับการอบรมมา  ในครั้งนี้มีคุณครู  และผู้บริหารทุกกลุ่ม/งาน  จำนวน  25  คน  เข้ารับการอบรม  2  วัน  เมื่อวันที่  21-22  กรกฎาคม  2549   ศูนย์พัฒนาบุคคลงานทาง จ.ชลบุรี  ข้อดีของการใช้สถานที่นอกโรงเรียน  ก็คือ  เป็นการตัดขาดจากภารกิจ(อันยุ่งเหยิง)  ในโลกส่วนตัวของแต่ละคน  สรุปว่า  ครูแกนนำ  ทั้ง  25  คนนี้  ร่วมทำกิจกรรมด้วยความสบายใจ  มีความสุข  มีความรู้และเข้าใจกระบวนการ  KM  เป็นอย่างดี  ที่พูดได้อย่างนี้ก็เพราะข้อมูลที่ได้จากการประเมิลผลนะคะ(ไม่กล้าสรุปเองหรอกค่ะ)  จากนั้น...ก็ได้มีการประชุมร่วมกัน  คราวนี้ครูแกนนำก็จะมีมากขึ้นจากเดิม  คือ  4  บวก  25  รวมแล้วก็  29  คน  จากการวางแผนไว้ในตอนแรกที่คาดหวังว่า  จะให้ครูแกนนำ  25  คน  เป็นผู้ขยายผลสู่กลุ่มสาระฯ  งาน/ฝ่ายของตนเอง  แต่จากมติที่ประชุม  เห็นว่า  ควรเป็นรูปแบบของการให้ความรู้แก่คุณครูทั้งโรงเรียนไปพร้อมๆกัน  แต่ใช้ระยะเวลาในการอบรม    1  วัน (วันหยุดราชการ)  หลังจากที่ได้ประชุม  วางแผน  แบ่งหน้าที่กันแล้ว  การจัดประชุมปฏิบัติการจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่  20  สิงหาคม  2549  และยังคงใช้รูปแบบในการให้ความรู้  ทั้งในส่วนที่เป็นทฤษฎี  และการลงมือปฏิบัติ  เช่นเดียวกับการที่ได้รับการอบรมมา  เพียงแต่ร่นระยะเวลาของการให้ความรู้แต่ละหัวข้อให้น้อยลง  ครั้งนี้ได้แบ่งผู้เข้าประชุมออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  จำนวน  11  กลุ่ม (ประกอบด้วยคุณครูทุกกลุ่มสาระ/งาน/ฝ่าย)  และมีวิทยากร(ครูแกนนำ)  ประจำทุกกลุ่มทำหน้าที่ให้คำปรึกษา  แนะนำ  และช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มตลอดระยะเวลาของการประชุม  บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน  ไม่เครียด  แต่ค่อนข้างจะเร่งรีบ  เพราะต้องจัดการให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด (เพราะถ้าเกินเวลา  อาจทำให้คิดถึง  และเป็นห่วงคนที่บ้านได้)  ผลการดำเนินงาน  ทำให้ครูและบุคลากร  มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการจัดการความรู้  เกิดเครือข่ายนักจัดการความรู้ของโรงเรียน  นอกจากนี้คุณครูแต่ละกลุ่มสาระยังได้รับรู้  จุดเด่น  จุดด้อย  ของกลุ่มสาระของตนเอง  และรู้ว่าจะต้องไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มสาระใด  อันนี้เป็นผลและความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมใน หัวข้อ ประเมินตนเองตามตารางอิสรภาพ  และ ธารปัญญาแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ผู้ที่เคยได้รับการอบรม  KM  โดยใช้โมเดล ปลาทู  มาแล้ว คงจะเข้าใจกันดีอยู่แล้วนะคะ)  ซึ่งในส่วนนี้  ก็จะต้องมีการติดตามผลที่เกิดจากการนำ  KM  ไปใช้  เพื่อพัฒนาบุคลากร  และงานของแต่ละกลุ่มสาระฯ  อย่างต่อเนื่องต่อไป  หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ  การเผยแพร่ความรู้ลง  Blog  ในเรื่องนี้  ได้จัดอบรม  2  ครั้ง  โดยครั้งที่  1  จัดขึ้นเมื่อวันที่  4 สิงหาคม  2549 โดยให้ตัวแทนกลุ่มสาระฯ  กลุ่มงานและฝ่าย ๆ  รวม  30  คน  เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ได้มีการจัดทำแบบฟอร์มบันทึกความรู้ ให้ครูเขียนเรื่องเล่าลงในแบบฟอร์มก่อน เพื่อนำใช้ในการบันทึกลง  Blog  จริงอีกครั้งหนึ่ง    เมื่อถึงเวลาที่ต้องนำเรื่องเล่ามาลง   Blog  จะไม่เสียเวลามาก  เพราะได้เตรียมงานมาแล้ว

 

2

                ผลการดำเนินงาน  การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการมี  Blog  ที่ใช้บันทึกความรู้ที่ได้เตรียมมาในแบบฟอร์มคนละ  1  Blog  และมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีสามารถนำไปเผยแพร่ต่อในกลุ่มสาระฯ  งานและฝ่ายต่าง ๆ ได้                ครั้งที่  2  จัดประชุมปฏิบัติการในวันที่  13-16  พฤศจิกายน  2549  โดยแยกตามกลุ่มสาระ รวม  90  คน  ดังนี้                -  13  พฤศจิกายน  2549  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และภาษาต่างประเทศ       จำนวน 24  คน-  14  พฤศจิกายน  2549  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สุขศึกษาพลศึกษา  ศิลปะดนตรี         และสนับสนุน  จำนวน  26  คน-  15  พฤศจิกายน  2549  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน  17  คน-  16  พฤศจิกายน  2549  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษาฯจำนวน 26  คนผลการดำเนินงาน  การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการมี  Blog  ที่ใช้บันทึกความรู้ที่ได้เตรียมมาในแบบฟอร์มคนละ  1  Blog  และมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี  จึงทำให้นักเรียนมีคุณครูที่มี  Blog  เป็นของตนเองที่ใช้เผยแพร่ความรู้เป็นคลังความรู้หมดทั้งโรงเรียนซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมาก

 

3

                ทีนี้พอมีเรื่องอะไร  ก็อยากจะเล่าสู่กันฟังให้มากขึ้น  เพื่อจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น  และมากขึ้น  ก็เพราะเชื่อมั่นในทฤษฎีและหลักการของ  KM  ที่ให้รู้จัก  แบ่งปัน  และความเป็น  กัลยาณมิตร  จึงได้จัดให้มี  กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ขึ้น  2  ครั้งครั้งที่  1  ในหัวข้อ    สื่อสร้างสรรค์….นวัตกรรมชิ้นเอก    โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม      รับฟังการเล่าประสบการณ์ในการผลิตและใช้สื่อ-นวัตกรรมการเรียนการสอนของคุณครูที่ส่งสื่อ-นวัตกรรมฯเข้าประกวด   (ตามโครงการของโรงเรียน)   ทั้งนี้ให้คุณครูที่มีความสนใจ    ลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความสมัครใจ  และคุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ให้ความเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์     ผู้เล่าประสบการณ์มีความสามารถในการนำเสนอได้ชัดเจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อ-นวัตกรรมได้หลากหลายมากขึ้นครั้งที่  2  ในหัวข้อ  เรื่องเล่างานวิจัย...สร้างความเข้าใจกับเกณฑ์การประเมิน  โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม  รับฟังการเล่าประสบการณ์การดำเดินงานวิจัยของตัวแทนครูแต่ละกลุ่มสาระฯ  รวมทั้งสิ้น  8  กลุ่มสาระฯ  ทั้งนี้ให้คุณครูที่มีความสนใจลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความสมัครใจ  และคุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ให้ความเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์  ได้ความรู้เกิดความเข้าใจและมีแนวคิดที่จะนำไปใช้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ชัดเจนขึ้นนอกจากนี้  ทิมงาน  KM  ของโรงเรียน  ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมปฏิบัติการการจัดการความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ  เมื่อวันที่  24-25  พฤศจิกายน  2549    ห้องโสตทัศนศึกษาของโรงเรียน  โดยได้วางแผนจัดประชุมปฏิบัติการไว้  2  วัน  และยังคงใช้วิธีการและโมเดล ปลาทู  เหมือนเดิม  และในช่วงเวลา  18.00-20.00  น.  ของการอบรมวันแรก  เป็นการให้ความรู้แก่คุณครูในการเผยแพร่ความรู้ลง  Blog  ของตนเอง  ส่วนในวันที่สอง  ก็ดำเนินการให้ความรู้และทำกิจกรรมในหัวข้อที่เหลือต่อไปจนจบ  การอบรมครั้งนี้  ทีมวิทยากรให้สมาชิกผู้เข้าร่วมการประชุม อันประกอบด้วย คุณครูทุกท่านและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ ได้แบ่งกลุ่มย่อย ๆ เพื่อทำกิจกรรม และมีวิทยากรแกนหลัก KM ของโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มตลอดเวลาของการทำกิจกรรมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ  และอีกเพียง  2  สัปดาห์ต่อมา  ทีมงาน  KM  ของเราก็ได้รับจดหมายขอบคุณพร้อมกับการแจ้งสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดความรู้ของโรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ  ที่เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรม  มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างกระบวนการจัดการความรู้  มีความสุข  ความประทับใจ  และความพึงพอใจในเนื้อหาสาระที่ได้รับในการอบรม  ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปฏิบัติงานจริง  มีการซักถาม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และแสดงความคิดเห็น  โดยดูได้จากผลการประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการ  ของโรงเรียนกระทุ่มแบน  วิเศษสมุทคุณ ซึ่งมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และมากเป็นส่วนใหญ่                เห็นผลลัพธ์แบบนี้แล้ว...พวกเราก็หายเหนื่อยกันทุกคน  และรู้สึกดีใจที่ความตั้งใจของพวกเราในการนำความรู้  KM  ไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนครู  ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันไม่สูญเปล่า........

4

ก็แอบหวังไว้ว่า...เพื่อนครูทุกท่านคงจะนำ  KM  ไปขยายผลต่อ     และนำไปใช้จนคุ้นเคย      จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิธีปฏิบัติ  ในการดำเนินชีวิต  ในการทำงานเพื่อมิให้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวทุกท่าน.............สูญหายไป...ยังคงอยู่...และถูกนำไปใช้ให้เกิดคุณค่าและมีประโยชน์ต่อไปนะคะ  และแน่นอนที่สุด...กิจกรรม  KM  ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย  ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการอัปษร  ภาธรธุวานนท์  และท่านรองผู้อำนวยการทั้ง  4  ท่าน  แต่อย่างไรก็ตาม  KM  ในการเรียนจะประสบความสำเร็จ  มีคุณค่า  และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงได  ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ  ความพร้อมใจ  การเปิดใจรับของ คุณกิจ  ซึ่งก็คือคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนทุกคนค่ะ

                ก็คงจะจบเรื่องเล่าเกี่ยวกับ  KM  ของพวกเราชาวสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญไว้เพียงเท่านี้ก่อนอาจจะยังไม่ครบถ้วนดีนัก  คงเพราะ  KM  ของแต่ละกลุ่มสาระฯ  งาน/ฝ่าย  กำลังดำเนินการอยู่จะเห็นผลคงต้องใช้เวลา  หากมีความคืบหน้า...ก็จะเขียนเล่าสู่กันฟังเป็นระยะนะคะ

คุณครูดุษดี นามสกุล  สุขสวัสดิ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา
หมายเลขบันทึก: 111307เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท