ปฐมฤกษ์ท่องเที่ยวแม่กลอง


งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาร่วมเรียนรู้และร่วมตัดสินในในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง ความกังวลคือทำอย่างไรเราจะเก็บข้อมูลให้เนียนไปกับวิถีชีวิตและไม่เป็นงานวิจัยตามความเข้าใจเดิมชของชาวบ้าน และทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้และเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนจบกระบวนการ

ได้ฤกษ์ซะทีกับโครงการวิจัยแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองแม่กลอง งานนี้ได้ทัตตแพทย์มานะชัย ทองยัง แห่งสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามและแฝดผู้พี่ เภสัชกรภานุโชติ  ทองยังมาเป็นหัวเรือใหญ่ขับเคลื่อนพามวลสมาชิกอันประกอบด้วยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ชมรมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มรักษ์บางคนที หอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มแม่กลองดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งนำโดยอาจารย์จิตศักดิ์   พุฒจร (อัจริยะข้ามคืนผู้พิชิตอนุสรณ์สถาน) และเจ๊ฝน ลูกศิษย์คนสนิทและพี่น้องอีกหลายเครือข่ายที่มาร่วมกันพูดคุยในเชิงภาพรวมสถานการณ์การท่องเที่ยวในเมืองแม่กลอง บรรยากาศการพูดคุยนัดแรกของโครงการคุณหมอมานะชัย ออกตัวแบบเกรงใจว่างานนี้เป็นงานที่ทุคนมาร่วมกันทำด้วยความหวังดีที่จะให้เกิดแนวทางในการพัฒนาที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม โดยในเบื้องต้นคุณหมอพยายามเล่าสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ว่ากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและรุนแรง ตลอดจนมีผุ้ที่สนใจการท่องเที่ยวแม่กลองเป็นจำนวนมาก นอกจากกลุ่มนักท่องเที่ยวแล้วยังมีการเข้ามาศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัยหลายแห่งจนสถานการณ์ปัจจุบันนั้นชาวบ้านหรือผู้ประกอบการเคยชินกับการตอบแบบสอบถามการถูกสัมภาษณ์ และในเวลาอีกไม่นาดราก็จะเป็นอีก ๑ โครงการวิจัยที่ต้องไปรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวิจัย เนื่องจากประเด็นสำคัญคืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาร่วมเรียนรู้และร่วมตัดสินในในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง ความกังวลคือทำอย่างไรเราจะเก็บข้อมูลให้เนียนไปกับวิถีชีวิตและไม่เป็นงานวิจัยตามความเข้าใจเดิมชของชาวบ้าน และทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้และเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนจบกระบวนการ ถึงตรงนี้ทุกคนก็อึ้ง อาจารย์จิตศักดิ์ แนะนำว่าเราควรที่จะลองดูข้อมูลที่มีอยู่ก่อนและตั้งหลักของข้อมูลนำไปขยายผลตลอดจนเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากส่วนที่เกี่ยวข้อง จากนั้นค่อย ๆ มาลองดูว่าเราจะเริ่มตั้งต้นในการเก็บข้อมูลอย่างไรต่อกันดี ซึ่งในเบื้องต้นคงไปจัดเวทีในระดับพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลและความต้องการของชุมชนควบคู่ไปกับการลองดูงานวิจัยที่มีอยู่ในพื้นที่ว่ามีใครทำอะไรอยู่บ้าง ทั้งนี้เพ่อทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจการเคลื่อนงานและเตรียมข้อมูลในระดับพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระดับจังหวัดต่อไป โดยครั้งแรกพี่หมอมานะชัยคงจะไปพุดคุยกับชึมชุมชนกระดังงา อ.บางคนที ซึ่งเริ่มคิดจะพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการเข้าร่วมพูดคุยเพื่อค้นหาทุนของชุมชนและมุมมองของคนในชุมชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อนำมาต่อจิ๊กซอร์ในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 111247เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท