สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัด km workshop (2)


                 กิจกรรมแรกที่ใช้เริ่มต้น คือ ให้เดินครับ เดินโดยไม่ให้สบตากับผู้ใด เดินไปตรงไหนก็ได้ในห้องประชุม เดินไปเรื่อยๆ ตามจังหวะของเสียงเพลง ผ่านไปสักพักผมก็ให้ทุกคนจินตนาการว่า ถ้าอายุน้อยลงครึ่งหนึ่งจะเดินอย่างไร หลายคนเริ่มสนุก เดินแบบสบายๆมากขึ้น ไม่เกร็งเหมือนตอนเริ่มต้น           

                แล้วผมก็ลองให้ทุกคนลองลดอายุลงอีกครึ่งหนึ่ง แล้วเดินต่อ พี่เตี้ย(คนสวยหน่วยโสต) ลงคลานสี่เท้าเลย (แต่เท่าที่ลองคำนวณอายุดู ไม่น่าจะลดเร็วขนาดนี้นะป้านะ) หลายๆคนเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น และคละเคล้ากันมากขึ้น ไม่นั่งแยกหน่วยงานเหมือนตอนเริ่มต้นแล้ว จึงให้หยุดอยู่กับที่แล้วจับคู่กับคนที่อยู่ใกล้ที่สุด นั่งหันหน้าเข้าหากัน           

                ที่เลือกการเดินบวกกับจินตนาการให้ลดอายุตัวเองลง ก็เพื่อเป็นการปูพื้นเข้าสู่กิจกรรมที่สองครับ          

               กิจกรรมที่สอง คือ reflective dialogue ฟังอย่างเป็นกระจกเงา กิจกรรมนี้กำหนดให้ผู้อาวุโสกว่าเล่าเรื่องก่อน (ต้องซื่อสัตย์กับตัวเองหน่อยครับ) และให้ผู้อาวุโสน้อยกว่าเป็นฝ่ายตั้งใจฟัง หัวข้อคือ ชีวิตวัยเด็กครับ ให้เล่าได้ตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่กำหนดให้ โดยยังไม่บอกกติกาอะไรมากกว่านี้ ตีระฆังเต้ง! เริ่มได้           

              เมื่อหมดเวลา ก็ให้ฝ่ายตั้งใจฟัง สะท้อนสิ่งที่ตัวเองได้ยินทั้งหมดให้ผู้อาวุโสฟังว่า ตนเองได้ยินอะไรบ้าง จากนั้นก็สลับกันเล่าและฟังบ้าง รอบสองนี้ผู้อาวุโสบางท่านถกแขนเสื้อฟังกันเลยทีเดียว กะว่าเดี๋ยวชั้นจะเก็บให้ละเอียดยิบเลยทีเดียว หูไม่ตึงแน่นอน          

              เมื่อหมดเวลาก็ให้สะท้อนกลับเช่นเดียวกัน จากนั้นก็ให้รวมกันเป็น 6 คนต่อกลุ่มครับ คราวนี้ให้แนะนำคู่ของเราให้เพื่อนในกลุ่มฟังบ้างว่า คู่ของเรานี่เค้าโตมายังไง ชีวิตวัยเด็กเป็นยังไง กติกาคือห้ามเจ้าของเรื่องพูดเอง (แต่ถ้าเล่าผิดก็แก้ได้) บรรยากาศสนุกสนานดีครับ แต่ละกลุ่มเล่าไปหัวเราะไป ทุกคนคงมีช่วงชีวิตวัยเด็กที่มีความสุข          

               กิจกรรมฟังอย่างเป็นกระจกเงานี้ มีหลายวัตถุประสงค์ครับ

  • เป็นการทดสอบเครื่องฟังของแต่ละคนว่ายังใช้การได้อยู่มั้ย
  • ปูพื้นก่อนที่จะเข้าสู่สุนทรียสนทนาในกิจกรรมต่อๆไป
  • ได้เล่าเรื่องอย่างอิสระ ไม่มีถูก ผิด และคนฟังก็ฟังอย่างตั้งใจ
  • ได้ทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานมากขึ้น รู้จักตัวตน ที่มาที่ไปของกันและกันมากขึ้น
            ต่อบันทึกหน้านะครับ 
หมายเลขบันทึก: 111044เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้ครับ
  • ขอบคุณมาก
  • อ่านแล้วได้สัมผัสถึงความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมครับ
  • วันที่สองไม่เห็นได้เดินเป็นเด็กเลยอ่ะ อ.พิชิต
  • แต่ได้เป็นวาทิน และไอริสาแทน
  • แต่สนุกค่ะ เมื่อวานยังไปวิ่งกับกลุ่ม อาจารย์เลยเพราะว่า อยู่ฝ่ายลงทะเบียนต้องไปทุกวัน

ฮั่นแน่ มีแซวคนสวยซะด้วย

ก็ฟังไม่ค่อยถนัด... นึกว่าให้ลดอายุลูก อิ อิ

  • P  เค้ารู้กันหมดเลยว่ามีลูกแล้ว 555
  • แล้ว P  เป็นวาทิน หรือ ไอริสา อ่ะค่ะ

สุดๆเลยพี่คนสวยหน่วยโสตฯ  พี่คิดได้ไงนี่ ลงทุนดีเนอะ 555++

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท