โรคหาย แต่คนไม่หาย


ในการมาหาแพทย์ของผู้ป่วย เขาจะมาด้วยอาการสำคัญของโรและสิ่งสำคัญที่ทำให้เขามามาแพทย์ จะต้องรักษาให้ได้ทั้งสองเรื่อง คนไข้จึงจะหาย

               ในการดูแลรักษาผู้ป่วย มีบ่อยครั้งที่เรารักษาโรคไป ให้ยาไปทาน คนไข้ก็หายไปพักหนึ่งแล้วก็กลับมาด้วยโรคเดิมอีก บางทีก็พบว่ามีคนไข้หลายคนที่มาด้วยโรคหนึ่งแต่ลึกๆแล้วโรคไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เขามาหาแพทย์ โรคไม่ได้เป็นอาการสำคัญที่แท้จริงของเขาที่ทำให้เข้ามาตรวจ เมื่อเรารักษาโรคหาย แต่ผู้ป่วยก็ยังคงป่วยอยู่ เช่น

                ผม ได้รักษาผู้ป่วยคนหนึ่ง มาด้วยเรื่องปวดท้องแน่นท้อง เป็นมานานแล้วหลายเดือน เป็นๆ หายๆ แต่ก็ซื้อยาทานเอง ไม่ได้มาหาหมอ (แสดงว่าทานยาแล้วโรคเขาหายเขาจึงไม่มาหาเรา) แต่มาช่วง 1 สัปดาห์นี้เขามีปวดท้อง แน่นท้องบ่อยจึงมาหาเรา ครั้งแรก ผมก็ได้ตรวจรักษาแล้ววินิจฉัยว่าเป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร ได้อธิบายเกี่ยวกับโรค อาการของโรค การทานยา การดูแลตนเองต่างๆแล้วก็จ่ายยาให้คนไข้กลับไป

                อีกสัปดาห์ต่อมา คนไข้ก็มาอีก บอกว่าทานยาก็หายไม่นาน ยังมีอาการเป็นๆหายๆอยู่ ผมก็คิดในใจ จะอาไงดี สงสัยว่าคนไข้กินยาไม่ถูก หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นกินไม่ตรงเวลาหรือเครียดอะไรหรือเปล่า เขาก็บอกว่ากินยาและก็ทำตามที่หมอพูด มันก็ยังไม่หาย  ผมก็ชวนคุยเรื่องอื่นๆไปเพื่อจะดูว่ามันจะมีอะไรอีกหรือเปล่า คุยไปคุยมาก็พบว่าป้าของเขาเสียชีวิตเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนด้วยโรคมะเร็งในตับ แล้วอาการก็คล้ายๆกับที่เขาเป็น เขาก็เลยกลัวว่าจะเป็นมะเร็งแบบป้า เพราะก่อนๆที่เขาเป็นเขาก็คิดว่าเขาเป็นโรคกระเพาะนั่นแหล่ะก็เลยไม่ได้สนใจอะไรมาก กินยาเองก็ทุเลาไปได้ แต่พอป้าเขาตาย ใจเขาที่เคยคิดว่าตนเองเป็นโรคกระเพาะก็เริ่มไม่แน่ใจ ว่ามันจะเป็นมะเร็งไหม เขาก็เลยต้องมาพบแพทย์

                ผมก็คิดในใจว่า เรารักษาให้เขานั้นทำให้เขารู้ว่าเขาเป็นโรคกระเพาะ ให้ยาไปเป็นการรักษาโรค แต่ผมไม่ได้สร้างความมั่นใจว่า ที่ผมตรวจเขาแล้วเขาไม่ได้เป็นมะเร็งตับเพราะได้ตรวจตับ ตรวจร่างกายเขาแล้ว พอจับจุดได้ ผมก็อธิบายใหม่แล้วเชื่อมโยงเข้าไปสู่อาการสำคัญที่เขามาพบแพทย์คือการกกลัวเป็นมะเร็งตับ เป็นการอธิบายที่เฉพาะเจาะจงและตรงจุด ตรงใจเขา  หลังพูดคุยกัน เขามี่ทาทางสบายใจขึ้น และหลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้มาตรวจอีก คาดว่าเขาคงหายกังวลแล้ว แม้จะมีอาการโรคกระเพาะอยู่ เขาก็รู้ว่าจะทานยาอะไรและทำตัวอย่างไร

                ดังนั้น การซักประวัติคนไข้แบบเร่งรีบเพราะเวลารีบเร่งแบบการตรวจผู้ป่วยขอกปัจจุบัน ทำให้เราจับได้แต่โรคแต่ยังไม่ถึงคน แต่หากมัวแต่ตรวจคนอย่างละเอียด คนไข้ที่รออาจจะบ่นหรือตรวจไม่ทันอีก หากจะให้ดี ประเทศเราควรจะต้องมาปรับปรุงระบบตรงนี้ ให้แพทย์ตรวจคนไข้ในจำนวนที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่แค่เพิ่มจำนวยแพทย์ แต่ต้องจัดการใหม่ทั้งระบบบริการ แพทย์(ทั้งจำนวน คุณภาพ จรรยาบรรณ)และตัวคนไข้ด้วย จึงจะสำเร็จได้
หมายเลขบันทึก: 11085เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2005 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเป็นโรคกระเพาะร่วมปีครึ่งแล้วกินยาสาระพัดแล้วมิราสิดเอยอะไรต้่ออะไรไปหาหมอมาสี่ห้าคลินิค

ไปรพแถวนนท์แล้วก็ไ้ด้ยาพวกเดียวกันอีก กินแล้วก็เงียบไป พอหยุดยาวันเดียวเป้นอีกแล้ว

ทำงัยดีเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท