เล่นอย่างไรให้สร้างสรรค์


เล่นอย่างไรให้สร้างสรรค์
 
     
 
+ ความสำคัญของการเล่น
  ตอน  การเลือกของเล่น
  การเล่นเป็นการทำงานของเด็ก การเล่นจะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะต่าง ๆ เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการเล่น เช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่เริ่มรู้จักการทำงาน ซึ่งความรู้ทั้งหลายจะสั่งสมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในวันหน้า
  ของเล่นที่เด็กเล่นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ควรเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สร้างปัญญา สร้างสรรค์ ความชำนาญในการใช้มือเท้า และร่างกายส่วนอื่น ๆ ของเด็ก ในขณะที่เด็กเล่น พ่อ แม่ ครู – อาจารย์ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรแนะนำวิธีเล่น พูดคุยถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดค้นหาคำตอบ
 

การเลือกของเล่นให้เด็ก มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรจะต้องคำนึงถึงหลัก 4 ป. คือ
ประโยชน์ ประหยัด ประสิทธิภาพ และปลอดภัย

  ประโยชน์  เป็นของเล่นที่พัฒนาด้านร่างกายและสติปัญญา มีคุณค่าก่อให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นให้อยากเล่น อยากสนุก และได้ความรู้จากการเล่น
  ประหยัด  มีความคงทน แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องเป็นของเล่นที่แพง
  ประสิทธิภาพ  มีคุณค่าสร้างสรรค์ ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ
 

ปลอดภัย  ไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายในการเล่น เช่น ไม่แหลมคม หรือมีดินระเบิดที่อาจเข้าตา หรือทำให้ตาบอดได้

 
  การเลือกของเล่นที่ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย  
  สมองของเด็กเจริญเติบโตได้ดี จะต้องพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือและเท้า ซึ่งเป็นศูนย์รวมประสาท เราจึงต้องพยายามกระตุ้นพัฒนาการการใช้มือและเท้าให้มาก เช่น เด็กกำลังหัดคลาน  ของเล่นควรเป็นของเล่นมีเสียง กระตุ้นให้เด็กคลานไปหยิบ หรือ เด็กที่อายุ 1 – 2 ปี ควรฝึกสายตาและมือให้สัมพันธ์กัน ของเล่นที่ช่วยฝึก เช่น ค้อนตอกบนหมุดไม้ จะทำให้เด็กพัฒนากล้ามเนื้อมือในการเขียนหนังสือได้ดี การเล่นเครื่องเล่นสนาม เช่น ชิงช้า กระดานลื่น ม้าหก หรืออื่น ๆ จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง และใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์กันมากขึ้น  
     
 
 
   
     
  การเลือกของเล่นที่ช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา  
  อาจเริ่มให้เด็กสังเกต รูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือรูปทรงอื่น ๆ ง่าย ๆ และการประกอบรูปทรงหลาย ๆ รูปทรง มาเป็นรูปทรงใหม่ เช่น บ้าน รถไฟ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัว นอกจากนี้เรื่องของความแตกต่างของสี จำนวนที่มากกว่าหรือน้อยกว่า แตกต่างกันที่ น้ำหนัก หรือมูลค่าของ ซึ่งเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่อไป ของเล่นที่แยกแยะความแตกต่าง เช่น รูปต่อไม้ ที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน หรือเด็กต้องหาตำแหน่งเพื่อเอาชิ้นส่วนสวมกลับเข้าไปใหม่ เด็กจะรู้จักการแก้ปัญหา ซึ่งจะส่งเสริมให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  
     
 
 
   
     
 

ในครั้งหน้าโปรดติดตามของเล่นที่เหมาะสมกับเด็ก 1-12 เดือน และของเล่นสำหรับวัย 1 – 2 ขวบ

คำสำคัญ (Tags): #สร้างสรรค์
หมายเลขบันทึก: 110812เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท