ฝนดาวตกที่น่าสนใจในรอบปี


ฝนดาวตก
   ฝนดาวตกที่น่าสนใจในรอบปี
   
  โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  1 รอบ  ในเวลา  1 ปี เส้นทางวงโคจรของโลกจะตัดกับกับวงโคจรของดาวหางหลายดวง มีทั้งที่มนุษย์รู้จักธรรมชาติของดาวหางดวงนั้นซึ่งมักเป็นดาวหางที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์  คาบสั้น (ชื่อของดาวหางพวกนี้ตามหลักการตั้งชื่อของดาวหางจะมีอักษร P คือ Periodic นำหน้า) และมีวงโคจรของดาวหางที่มนุษย์ไม่รู้จักอยู่ด้วย เรารู้แล้วว่าเมื่อโลกเคลื่อนผ่านเข้าไปในวงโคจรของดาวหางจะพบกับสายธารอุกกาบาตคงที่ในรอบปี จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงมีดาวตกตกสู้โลกใกล้เคียงกันในช่วงเวลาเดิม ๆ  ในทุกรอบปี  และทิศทางของดาวตกที่ตกมาจากท้องฟ้าเมื่อเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์จึงมีทิศทางเดิมเมื่อสังเกตจากโลกเกิดเป็นดาวตกที่คาดคะเนได้ล่วงหน้า  ที่เรียกกันว่าฝนดาวตก  ดังนั้นฝนดาวตกแต่ละชุดที่เกิดขึ้น  จึงเป็นการเคลื่อนตัดผ่านวงโคจรของดาวหางแต่ละดวงและบางชุดก็เป็นวงโคจรของดาวหางดวงเดียวกันที่โลกตัดผ่านคนละฟากของวงโคจรของดาวหางเช่นวงโคจรของดาวหางแฮลลีย์ (P/Halley)  ส่วนฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่  (Geminids)  ไม่ได้เกิดจากสายธารอุกกาบาตของดาวหาง  แต่จากดาวเคราะห์น้อย  3200  Phaethon  
     
 
จำนวนฝนดาวตกมีมากเกือบ  30  ชุดในรอบปี  แต่ฝนดาวตกที่น่าสนใจ  คือฝนดาวตกที่มีดาวตกมาก ๆ  ดูแล้วเกิดความประทับใจไม่น่าเบื่อ  ยิ่งถ้าเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมาก ๆ  ด้วยแล้วก็เพิ่มความสนใจยิ่งขึ้น

ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุมร้อนขึ้น  มักมีเมฆ  มีฝน  ทำให้การสังเกตฝนดาวตกที่เกิดในช่วงฤดูฝนต้องพบกับอุปสรรคในการสังเกตคือมีเมฆมาบดบังท้องฟ้า  ปัจจัยแวดล้อมอีกทางหนึ่งที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละปีก็คือดวงจันทร์  ถ้าเป็นคืนที่ดวงจันทร์สว่างพอดีกับฝนดาวตกชุดใด ๆ  ในปีนั้น ๆ  ความประทับใจในการสังเกตฝนดาวตกก็จะลดลง
 
 
  เกณฑ์มาตรฐาน  จำนวนดาวตกของฝนดาวตกแต่ละชุด  
  ข้อมูลเกี่ยวกับฝนดาวตกในหนังสือด้านดาราศาสตร์มักบอกตัวเลขจำนวนของดาวตกเพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้อักษรย่อว่า  ZHR  คือ  Zenith Hourly Rate  คือเกณฑ์มาตรฐานที่บอกว่าจำนวนดาวตกที่น่าจะเกิดขึ้นเมื่อจุดศูนย์กลางของฝนดาวตกชุดนั้นอยู่เหนือศีรษะของผู้สังเกตพอดี  ในบรรยากาศแจ่มใสท้องฟ้าดี  แต่กลุ่มดาวบางกลุ่มไม่มีโอกาสอยู่เหนือศีรษะ  ค่า  ZHR  คือการคาดคะเน
เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่าง  ตามตารางต่อไปนี้จะบอกจำนวนดาวตกของฝนดาวตกชุดต่าง ๆ  ต่อชั่วโมงโดยสังเกตสิ่งแวดล้อมต่างกันและเกณฑ์มาตรฐาน  (ZHR)  คือ
1.  สังเกตในเมืองใหญ่และมีแสงจันทร์เพ็ญ
2.  สังเกตในท้องฟ้าชนบทแต่ละดวงจันทร์สว่าง เศษ1 ส่วน4 ดวง
3.  สังเกตในท้องฟ้าชนบทไม่มีแสงจันทร์เพ็ญรบกวน
4.  เกณฑ์มาตรฐาน  (ผลการคำนวณ)  ZHR
 
     
 
วันที่ ชื่อฝนดาวตก (1) (2) (3) (4)
3-4  ม.ค.

Quadrantids

5

10

25

60

4-5  พ.ค.

Eta Aquarids

4

6

10

40

12-13  ส.ค.

Perseids

10

20

40

75

21-22  ต.ค.

Orionids

5

10

25

25

3-13  พ.ย.

Taurids

4

6

10

10

16-17  พ.ย.

Leonids

5

10

15

15

3-4  ม.ค.

Quadrantids

5

10

25

60

13-14  ธ.ค.

Geminds

18

35

85

85

21-22  ธ.ค.

Ursids

3

5

10

20

 
     
  ตามตารางเห็นว่า  ZHR  จะมีค่ามากที่สุดและฝนดาวตกบางชุดมีค่า  ZHR  เท่ากับเมื่อสังเกตในชนบทที่ท้องฟ้ามืดสนิทเพราะกลุ่มดาวดังกล่าวมาอยู่ที่จุดเหนือศีรษะของผู้สังเกตพอดี  แต่กลุ่มดาวบางกลุ่มที่เป็นศูนย์กลางของดาวตกไม่มีโอกาสมาอยู่เหนือศีรษะผู้สังเกต  ตัวเลข  ZHR  จึงสูงกว่า  เช่น Quadrantids, Ursids  เป็นต้น  
 
 
     
 
+ ฝนดาวตกควอแดรนติคส์ (Quadrantids) 1-6 มกราคม
เป็นฝนดาวตกเพียงชุดเดียวที่ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวโบราณกลุ่มหนึ่ง  (Quadrantids Muralis)  ปัจจุบันไม่มีกลุ่มดาวนี้แล้ว  ฝนดาวตกดูเสมือนพุ่งออกมาจากกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์  (Bootes)  ที่มีดาวฤกษ์สว่างมากอยู่ดวงหนึ่งคือ  ดาวดวงแก้ว  (Arcturus)  แต่จุดกลางฝนดาวตกอยู่ทางเหนือของดาวดวงแก้วขึ้นไป  ฝนดาวตกชุดนี้เกิดขึ้นในช่วงวันที่  1-6  มกราคมของทุกปี  ถือเป็นฝนดาวตกต้อนรับปีใหม่  ก็คงจะได้  แต่คืนที่มีดาวตกมากอยู่ระหว่างวันที่  4-5  มกราคม  ศูนย์กลางดาวตกจะขึ้นมาในเวลาประมาณ  02.00  น.  เศษ ๆ  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ถ้าเป็นช่วงที่มีดาวตกมาก  จะมีค่า  ZHR 60  เป็นดาวตกที่มีแสงสีหลากหลายสวยงาม

ความสนใจ : น่าดูพอสมควร  และเกิดในช่วงฤดูหนาว  ท้องฟ้ามักแจ่มใส
 
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวพิณ (Lyrids) 19-25 เมษายน
 
 
เป็นฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางดาวตกอยู่ในกลุ่มดาวพิณ  (Lyra)  ดางฤกษ์ดวงสว่างคือ  ดาววีกา  (Vega)  ศูนย์กลางดาวตกจะอยู่ไปทางใต้ของดาววีกาเล็กน้อย  ช่วงสูงสุดของดาวตกชุดนี้คือวันที่  21  เมษายน  ศูนย์กลางดาวตกขึ้นมาเวลาประมาณ  23.00  น.  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  มีค่า  ZHR  12  ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนัก  แต่ในอดีตเคยมีบันทึกว่ามีดาวตกเป็นจำนวนมากคือในปี  2465  และ  ปี  2525
 
ความสนใจ :  พอใช้
 
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquarids) 24 เมษายน - 20 พฤษภาคม
 
 
ต้นกำเนิดดาวตกคือดาวหางแฮลลีย์  (P/Halley)  จุดศูนย์กลางดาวตกอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ  (Aquarius)  ไม่ค่อยมาดาวดวงสว่าง  ช่วงสูงสุดคือวันที่  5  พฤษภาคม  ศูนย์กลางดาวตกจะขึ้นมา  เวลาประมาณ  03.00  น.  ทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้เล็กน้อย  ค่า ZHR  40  (ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวนี้ยังมีอีกแต่มีดาวตกจำนวนน้อยคือ  Delta Aquarids  ช่วงปลายเดือนมิถุนายน  lota Aquarids ช่วง  ต้นเดือนสิงหาคม)
 
ความสนใจ :  พอใช้  (ฤดูกาลไม่ค่อยเหมาะ)
 
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวเปอร์เซอุส (Perseids) 23 กรกฎาคม – 20 สิงหาคม
 
 
เป็นฝนดาวตกที่มีความสวยงาม  และมีจำนวนคงที่ใกล้เคียงกันในแต่ละปีจึงมีบันทึกการค้นพบและการสังเกต  โดยให้เกียรติกับผู้ค้นพบและอธิบายปรากฏการณ์นี้ไว้  2  คน  คือ  เอ็ดวาร์ด  เฮอร์ริกค์  (Edward Herrick)  และ  อโดลฟี  เควทีเล็ท  (Adolphe Quetelet)  ในปี พ.ศ. 2379  ในช่วงที่รู้จักฝนดาวตกชุดนี้มีดาวทุกสูงสุด (Peak) วันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันแห่งการรำลึกนึกถึงนักบุญลอว์เรนซ์  (Saint Lawrence) ที่ถูกทรมาณและฆ่าตายวันที่ 10 สิงหาคม  ในกรุงโรม  ปีพ.ศ.801 จึงตั้งฉายาฝนดาวตกชุดนี้ว่าเป็นน้ำตาของนักบุญลอว์เรนซ์ (The tear of St. Lawrence)  ปัจจุบันช่วงสูงสุดคือวันที่ 12 สิงหาคม ศูนย์กลางดาวตกขึ้นมาเวลาประมาณ  01.00 น.  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในกลุ่มดาวเปอร์เซอุส  (Perseus)  ZHR  75  ต้นกำเนิดฝนดาวตกชุดนี้คือดาวหาง  สวิฟท์-ทัดเทิล  (P/Swift-Tuttle)
 
ความสนใจ :  มาก  แต่เดือนสิงหาคมเป็นช่วงฤดูฝน
 
 
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพรานโอไรออน (Orionids) 16-27 ตุลาคม
 
 
กลุ่มดาวนายพรานคนไทยรู้จักในนามของกลุ่มดาวเต่า  เห็นเป็น  4  ดวงเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยม  และมีดาว  3  ดวงเรียงเป็นแนวเส้นตรงอยู่ข้างใน  คนไทยเรียกดาว  3  ดวงนี้ว่า  ดาวไถ  ดาวดวงเด่นสว่างสีแดง  ที่เป็นส่วนของขาหน้าเต่าด้านซ้ายชื่อว่า  เบทเทลจุส  (Bettelgeux)  จุดศูนย์กลางของฝนดาวตกชุดนี้อยู่ใกล้กับดวงดาวนี้ขึ้นไปทางทิศเหนือเล็กน้อย  ช่วงสูงสุดคือวันที่  22  ตุลาคม  ศูนย์กลางดาวตกขึ้นเวลาประมาณ  23.00  น.  ทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อย  ค่า   ZHR  25  ต้นกำเนิดฝนดาวตกชุดนี้คือ  ดาวหางแฮลลีย์  (P/Halley)  ซึ่ง  โลกโคจระเข้าไปในวงโคจรของดาวหางดวงนี้  2  ครั้ง  ที่อยู่คนละฟากของวงโคจร  คือ  ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม  (Eta  Aquarids)  และกลางเดือน  ตุลาคม  (Orionids)
 
ความสนใจ :  พอใช้  เป็นช่วงฤดูฝนต้นหนาว
 
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาววัว (Taurids) 20 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน
 
 
เป็นฝนดาวตกที่มีช่วงระยะเวลายาวนานและกลุ่มดาววัวจะอยู่เหนือศีรษะผู้สังเกตทำให้สังเกตดีขึ้น  มีดาวตกหลายรูปแบบ  ต้นกำเนิดดาวตกคือดาวหาง  เองเก  (P/Encke)  ช่วงสูงสุดคือวันที่  3  พฤศจิกายน  จุดศูนย์กลางดาวตกขึ้นมาเวลา  ประมาณ  19.00  น.  โดยจะอยู่ใต้กระจุกดาวลูกไก่  ไปทางทิศตะวันตกของดาวสีแดงที่เป็นเสมือนตาวัวที่มีชื่อว่า  อัลดิบาแรน  (Aldebaran)  ค่า  ZHR  10  เคยสร้างความประทับใจให้ผู้สังเกตในปี  2531
 
ความสนใจ :  พอใช้  (เข้าสู่ฤดูหนาว)
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต (Leonids) 15 – 20 พฤศจิกายน
 
 
เป็นดาวตกต้นตำรับที่ทำให้เกิดการศึกษาดาราศาสตร์  สาขาอุกกาบาตขึ้นสถิติที่มีจำนวนฝนดาวตกสูงสุดจนเป็นพายุฝนดาวตก  เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน  2509  จำนวนถึง  144,000  ครั้ง  ต่อชั่วโมง    ยังไม่ปรากฏการณ์ใดมาทำลายสถิตินี้ได้  การศึกษาที่สำคัญของฝนดาวตกชุดนี้คือเรื่องของคาบการโคจรของดาวหาง  เทมเพล-ทัดเทิล  (P/Tempel-Tuttle)  33  ปี  ที่ทำให้ปรากฏการณ์ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตน่าสนใจอย่างมากในทุกๆ รอบ  33  ปี ครั้งล่าสุดที่อยู่ในช่วงครบรอบการโคจร  คือในปี พ.ศ. 2541  ในดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ วันที่ 28  กุมภาพันธ์ 2541  จึงสร้างความน่าสนใจสูงสุดในช่วงวันที่  17-18  พฤศจิกายน 2541  มีการคาดคะเนจำนวนดาวตกว่า          
 

จะมีมากมาย  ทั่วทั้งโลกเฝ้าติดตามสังเกตปรากฏการณ์ในปีนั้นแต่ปรากฏว่าฝนดาวตกไม่ได้มีมากดังที่คาดคะเนกัน  จึงเป็นข้อแสดงให้เห็นว่าการคำนวณปรากฏการณ์นี้มีโอกาสผิดพลาดได้อย่างมาก  ผลของการเฝ้าติดตามปรากฏการณ์นี้  ในปี  พ.ศ.  2541  มีประมาณ  350-400  ครั้งต่อไปชั่วโมงในช่วงสูงสุดปี  พ.ศ.  2542  ผู้คนยังเฝ้าติดตามสังเกต  มีบันทึกจำนวนดาวตกถึง  3,600  ครั้งต่อชั่วโมงในช่วงสูงสุด  แต่ปีพ.ศ.  2543  จำนวนดาวตกลดน้อยลงเหลือประมาณ  500  ครั้งต่อชั่วโมงในช่วงสูงสุด  มีการคาดคะเนกันว่าในปี  พ.ศ.  2544  จะมีดาวตกประมาณ  5,000-8,000  ครั้ง  ต่อชั่วโมงในช่วงสูงสุด  (หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ก่อนปรากฏการณ์ในปี  2544  ดังนั้นจึงไม่รู้ผลของปรากฏการณ์ว่าเป็นอย่างไร)

ศูนย์กลางฝนดาวตกอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตที่มีดาวฤกษ์เรียงกันเหมือนเคียวเกี่ยวข้าว  ขึ้นมาจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อย  ในเวลาประมาณ  01.00  น.  มีค่า  ZHR  ช่วงปกติ  15  แค่ถ้าเป็นช่วงครบรอบคาบการโคจรของดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล  และระยะใกล้เคียง  มีโอกาสที่จะเห็นดาวตกจำนวนมาก

  ความสนใจ :  มาก  โดยเฉพาะถ้าเป็นช่วงมีดาวตกมาก ๆ  เป็นพิเศษจะได้พบกับปรากฏการณ์ที่น่าประทับใจ
   
+ ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ (Geminids) 7-16 ธันวาคม
 
 
มีคนจัดอันดับฝนดาวตกชุดนี้ให้เป็นชุดที่น่าดูที่สุดด้วยเหตุผลหลายประการ  เช่น  มีดาวตกเฉลี่ยใกล้เคียงกันทุกปี  ดาวตกมีความสว่างสวยงามปรากฏให้เห็นเป็นระยะ ๆ  ทำให้ไม่น่าเบื่อ  และเป็นช่วงฤดูหนาวที่ท้องฟ้าแจ่มใส  ฯลฯ  กลุ่มดาวคนคู่เป็นกลุ่มดาวที่เกี่ยวข้องกับเดือนมิถุนายน  มีดาวฤกษ์สว่าง  2  ดวงคือ  พอลลักซ์  (Pollux)  กับคาสเตอร์  (Castor)  จุดศูนย์กลางดาวตกอยู่ใกล้กับดาวคาสเตอร์ขึ้นมาทางทิศตะวันออกในเวลาประมาณ  22.00  น.  ช่วงที่มีดาวตกสูงสุดคือวันที่  13-14  ธันวาคม  ค่า  ZHR  85

ฝนดาวตกชุดนี้เกิดจากดาวเคราะห์น้อย  เฟธัน  (3200  Phaethon)  ถูกค้นพบในปีพ.ศ.  2526  โดย  J.Davis และ S.Green  จากข้อมูลของดาวเทียมสำรวจดาราศาสตร์ด้วยคลื่นอินฟราเรด  IRAS  (Infrared Astonomy Satellite)  โดยเชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้คงเคยเป็นดาวหาง  แต่ปัจจุบันหมดสภาพหรือเป็นดาวหางที่ตายดับไปแล้ว
ความสนใจ :  มาก
 
 
 
 
     
  ฝนดาวตกบางชุดที่เกิดในรอบปี  
     
 
ฝนดาวตก ช่วงที่เกิด ช่วงสูงสุด ZHR/ความเร็ว  กม./วินาที ดาวหาง จากกลุ่มดาว
Quadrantids

1-6  มค.

4  มค.

60/41

 

คนเลี้ยงสัตว์

Virginids

7-18  เมย.

12  เมย.

7/30

 

หญิงสาว

Lyrids

19-25 เมย.

21  เมย.

10/49

18611 (Thatcher) P/Halley

พิณ

Eta Aquarids

24เมย.-20พค.

5  พค.

40/66

18611 (Thatcher) P/Halley

คนแบกหม้อน้ำ

Dalta Aquarids

15กค.-20สค.

29 กค   และ 6

20/41

 

คนแบกหม้อน้ำ

Piscis Aquarids

15กค.-20สค.

สค.  31  กค.

5/35

 

ปลาทางใต้

Alpha opricornids

15กค.-25สค.

2  สค.

5/23

 

แพะทะเล

Iota Aquarids

1กค-30สค.

6  สค.

10/34

 

คนแบกหม้อน้ำ

Perseids

23กค.-20สค.

12  สค.

85/59

P/swift-Tuttle

เปอร์เซอุส

Piscids

1กย.-1ตค.

8  กย.

10/26

 

ปลา

Orionids

16-27 ตค.

22  ตค.

85/60

P/Halley

นายพราน(เต่า)

Draconids

10 ตค.

10  ตค.

10/20

P/Giacobini-Zinner  P/Encke

มังกร

Taurids

20ตค.-30พย.

3  พย.

25/27

P/Giacobini-Zinner  P/Encke

วัว

Leonids

15-20พย.

17  พย.

15(ปกติ)มาก(พิเศษ)น้อยมาก/72

P/Tempel-Tuttle

สิงโต

Andromedids

15พย.-6ธค.

20 พย.

15(ปกติ)มาก(พิเศษ)น้อยมาก

P/Biela

แอนโดรมีดา

Puppids- Velids

27พย.-30ธค.

9ธค.และ26ธค.

15/40

 

เรือและเรือใบ

Geminids

7-16 ธค.

13  ธค.

85/35

ดาวเคราะห์น้อย3200 P/Tutte

หมีเล็ก(ใกล้ดาวเหนือ)

คนคู่

Ursids

17-25 ธค.

23  ธค.

5/33

 

 

 
คำสำคัญ (Tags): #ฝนดาวตก
หมายเลขบันทึก: 110799เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดี...................................ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท