เอกลักษณ์


ไตลื้อ คือ กลุ่มชนที่มาจากแคว้นสิบสองปันนาในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง

ชาวไตลื้อบ้านออนหลวยนี้นั้น มีนิสัยรักหมู่คณะ รักความสงบ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีวัฒนธรรมอันดีงามเช่น การตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ๆ การแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายทอมือ การหุงหาอาหาร ที่แตกต่างกับคนพื้นเมือง การพูดเป็นภาษาถิ่นคล้ายคนยองแต่มีสำเนียงเหน่อๆ หนัก ๆ สำเนียงพูดของคนพื้นเมืองและคนยองที่ออกเสียงสามัญนั้น ไทยลื้อจะออกเสียงเป็นสียงจัตวา เช่น ปืนเบอร์สิบสอง=ปื๋นเบ๋อสิบสอง  รถยนต์ยางแบน=รถยุนย๋างแบ๋น  ตกกะได=ต๊กกะได๋ เป็นต้น ส่วนภาษาเขียนเป็นแบบคล้ายตัวขอม แต่ เขียนกลมๆ เรียกว่าอักขระไทยลื้อหรือต้วเมืองล้านนา เขียนในใบลาน(ร้อยเรียงหน้าให้ติดกันด้วยเชือกปอหรือเชือกป่านมีตลับไม้แบนๆแนบประคองสองข้างไว้)และปั๊บสา(สมุดพับหลาย ๆ ชั้น ที่ทำด้วยกระดาษสา)นำไปเก็บรักษาไว้ในตู้ ที่หอพระไตรปิฏก(หอธรรม) เพื่อสะดวกต่อการนำมาศึกษาเล่าเรียน โดยการสอนของผู้รู้คือพระภิกษุ สามเณร และปราชญ์ชาวบ้านกับศิษย์วัด หรือลูกหลาน สามัญชนทั่วไป

คำสำคัญ (Tags): #ศิษยานุศิษย์
หมายเลขบันทึก: 110498เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คงจะมีโอกาสได้ไปแอ่วซักเตื้อน่อเจ้า.

ขอขอบคุณ สำหรับ nokvinok ที่มาเยี่ยมถึงบ้านครับ

สวัสดีครับท่านกำนัน

คุณภาวะจิตร

ขอบคุณที่เข้ามาทักทาย แต่ไม่รู้ว่าท่านต้องการให้ช่วยเหลืออะไรบ้าง

หวัดดีคะ อาจารย์สนั่น และท่านพ่อกำนัน

เข้ามาทักทายและร่วมแสดงความยินดีกับตำแหน่งพ่อกำนันด้วยค่ะ เอาใจช่วยในการทำงานเพื่อส่วนรวมค่ะ

ฟ้อนไตลื้อ(ฟ้อนม่าน)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท