กลุ่มสาธร ศูนย์การเรียนรู้อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มสาธร ศูนย์การเรียนรู้อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา นครราชสีมา

เสื่อกกบ้านท่าอ่าง


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เสื่อกกบ้านท่าอ่าง ประวัติความเป็นมาผลิตภัณฑ์   เสื่อกกบ้านท่าอ่าง หมู่ที่ 3  บ้านตำบลท่าอ่าง  อำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมาเสื่อกก บ้านท่าอ่าง   มีการทอเสื่อกก เพราะบริเวณหมู่บ้านมีกกขึ้นกระจายอยู่ริม   หนอง  คลอง   บึง   ทำให้คนในบ้านนี้เก็บเกี่ยวเอามาทำเสื่อ    ตั้งสมัย  ปู่   ย่า  ตา    ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา   ทำไร่ การทอเสื่อกกถือเป็นกิจกรรมในยามว่าง  ที่ทอไว้ใช้เองบ้าง  ไปถวายวัด  ทำบุญ  ผ้าป่า  กฐิน  หรือฝากญาติที่มาเยี่ยมบ้าง  การท่อสื่อกก  จะเริ่มตั้งแต่เก็บเกี่ยวกกจากหนองน้ำมาจักเป็นเส้น แล้วนำไปตากแดดสัก  3 -5  วัน  เมื่อแห้งแล้วจึงนำมาทอได้  งานทอเสื่อของบ้านท่าอ่าง เป็นงานที่ชาวบ้านได้นำภูมิปัญญามาใช้โดยนำวัสดุที่มีอยู่ภายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์วิธีการทอเสื่อ การทอเสื่อกก จะใช้คนผลิต 2 คนต่อ 1 ฟืม คือ คนที่ 1 เป็นผู้สอดกก  และคนที่ 2 จะเป็นผู้ทอเสื่อกก เริ่มจากการนำไม้กี่มาวางซ้ายขวาห่างกันประมาณ   1.5   เมตร    (แล้วแต่ว่าเราจะทอเสื่อขนาดกว้างเท่าไร)  แล้วตีไม้หลักลงไปในดินทั้ง  4  มุม    นำไม้หัวกี่  ท้ายกี่มาใส่ทั้งสองข้าง  นำฟืมมาวางทางด้านท้ายกี่แล้วนำปอมาร้อยรูฟืม  เริ่มต้นจากด้านใดด้านหนึ่ง ฟืม  แล้วใช้ปออีกเส้นที่เตรียมไว้มัดด้านหัวท้ายกี่  แล้วตัดปอออกแล้วนำมาร้อยฟันฟืมต้องเว้นฟันฟืมเพื่อให้เสื่อเป็นลอน  เว้นระยะห่าง  1  ฟันฟืม    การร้อยฟันฟืมโดยด้านริมฟืมทั้ง  2  ด้าน  ต้องร้อยปอในฟันฟืม  จำนวน   2   เส้น จากริมเข้าไปข้างใน   5  ฟันฟืม  เมื่อร้อยปอเสร็จก็ดึงหัวกี่ท้ายกี่ให้ปอตึง   แล้วนำไม้โป้งเป้งมาสอดใต้ปอ   แล้วนำกกที่ชุบน้ำที่เตรียมไว้มาวางข้างกี่ด้านขวามือ   การวางกกต้องวางเป็น  2   กอง   โดยวางสลับด้านโคนด้านปลายต้น   แล้วเริ่มต้นทอโดยการนำฟืมมาไว้หน้าโป้งเป้งโดยงายฟืมขึ้นแล้วนำเส้นกกสอดเข้าไปในเส้นปอ  โดยนำเส้นกกด้านโคนต้นมาพับกับไม้ชะนัดแล้วสอดเข้าไปในเส้นปอ  (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า   กระทุ่งเสือ)  แล้วกระทบเข้ามาชิดริมปลายกี่   (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า   ตีนเสื่อ) เมื่อกระทบเส้นแรกยังไม่ต้องพับริมเสื่อ  เส้นต่อไปนำฟืมมาไว้หน้าโป้งเป้งโดยคว่ำ ฟืม  แล้วสอดกกด้านปลายเข้ากระทบฟืม   แล้วพับริมเสื่อ   (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า  (เหม็นริมเสื่อ)  โดยนำเส้นกกที่ทอด้านโคนพับทับเส้นที่เป็นปลายแล้วสอดไต้ปอเส้นริมพับกลับมาแล้วดึงให้แน่น   ทำอย่างนี้สลับกันไป   ซ้าย   ขวา  ทอไปเรื่อย ๆ  จนสุดแขน  ก็นำกระดาษขึ้นไปรองเพื่อนั่งทอบนกระดาษเมื่อสุดแขนก็ขยับไม้ไปเรื่อย ๆ  จนใกล้ตลอดผืนเสื่อเหลือประมาณ 6  เส้นต้องทอโดยไม่ต้องพับริม    เมื่อครบหกเส้นก็มัดเป็นจุกไว้  ซ้าย   ขวา    เมื่อทอเสร็จแล้วก็ตัดริมทั้ง  2  ข้าง   แล้วตัดหัวตัดท้ายเสื่อ  แล้วนำไปตากแดดให้แห้งเพื่อไม่ให้เสื่อขึ้นรา
ระยะเวลาในการผลิต      การทอเสื่อ   1  วันจะสามารถทอได้ประมาณ    2   ผืนเทคนิคพิเศษในการผลิต  เสื่อกก  เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้   มีจุดเด่นที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทำด้วยมือทั้งผืน  แสดงออกถึงภูมิปัญญา
 การจำหน่าย ารจำหน่ายส่วนมากไม่ค่อยจำหน่ายมักสื่อใช้กันในครัวเรือน 
            
    
ยายสมหมาย   ปิดกระโทก.(9 กรกฎาคม 2550)สัมภาษณ์ 

หมายเลขบันทึก: 109892เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท