AAR:ซ้อมแผนรองรับอุบัติเหตุหมู่ 26 ธันวา 48


หลังจากเสร็จการซ้อมแผนได้มีการประชุมพูดคุยกันถึงการซ้อมที่ผ่านไปเพื่อนำเอาข้อคิดเห็นต่างๆมาปรับปรุงระบบซึ่งทำทุกครั้ง ทุกปีเป็นการทำAfter action review

          เมื่อวานได้โทรศัพท์คุยกับอาจารย์ทีจังหวัดนครปฐม บอกว่าได้ดูทีวีช่อง 5 ออกข่าวเรื่องการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ของโรงพยาบาลบ้านตากด้วย ก็ต้องขอขอบคุณทางคุณชูชัย นักข่าวช่อง 5 ตากที่ได้มาทำข่าวให้ฟรีแก่ทางโรงพยาบาลบ้านตาก

          เมื่อ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลบ้านตากโดยมีพี่จอย หัวหน้าERเป็นแม่งานหลัก จัดซ้อมแผนรองรับอุบัติเหตุหมู่ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับเทศกาลวันหยุดปีใหม่ โดยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายทั้งอำเภอ ตำรวจ อปพร. เทศาบาล สสอ. สอ.และ อสม.ที่มาร่วมเป็นหุ่นแสดงเป็นผู้บาดเจ็บให้ ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

          สมมุติเหตุการณ์รถคว่ำในเส้นทางหลวง ห่างจากโรงพยาบาล 4 กิโลเมตร มีผู้บาดเจ็บ 20 คน ในเวลาราชการ(แต่ผู้อำนวยการไม่อยู่ ไปประชุม) หลังจากเสร็จการซ้อมแผนได้มีการประชุมพูดคุยกันถึงการซ้อมที่ผ่านไปเพื่อนำเอาข้อคิดเห็นต่างๆมาปรับปรุงระบบซึ่งทำทุกครั้ง ทุกปีเป็นการทำAfter action review ได้ผลดังนี้ครับ

ผู้ประเมิน
1.        เจ้าหน้าที่ รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
2.        เจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาก
3.        เจ้าหน้าที่ รพ.บ้านตาก

คะแนนการประเมิน 76.29 %

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทีมประเมิน
จุดเกิดเหตุ

1.        รถพยาบาลไปรับผู้บาดเจ็บรวดเร็วสามารถออกภายหลังประกาศใช้แผน 5 นาที แต่ควรระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถ
2.        การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการรักษาเบื้องต้นและอุปกรณ์ช่วยชีวิตมีความพร้อม
3.        อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่กระดูกสันหลังควรเป็นกระดานรองหลังหรือ spinal bord ที่ lock คอได้
4.        key man .ในที่เกิดเหตุควรเป็นแพทย์หรือไม่
5.        มีการแยกผู้ป่วยและมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนในการดูแลผู้บาดเจ็บแต่ละกลุ่ม
6.        การสื่อสารระหว่างจุดเกิดเหตุกับสถานบริการผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารควรเป็นเจ้าหน้าที่ ที่มีความชำนาญทางการสื่อสารพยาบาลควรทำงานทางการพยาบาล
7.        การกำหนดพื้นที่ปลอดภัย การ clear เส้นทางจราจรได้รับความร่วมมือจากตำรวจดี
8.        การขนส่งผู้บาดเจ็บไปยังสถานบริการมีการขาดตอน ควรมีการเฉลี่ยระดับผู้บาดเจ็บที่สามารถไปด้วยกันได้ให้มาด้วยกัน
9.        ได้รับความร่วมมือจากกู้ภัยของอำเภอดี
10.     การป้องกันการติดเชื้อควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อให้แก่ อพปร.บ้าง เช่น ถุงมือ
11.     การขนส่งผู้บาดเจ็บสีเขียว รถของหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ ควรนำส่งผู้บาดเจ็บได้ เช่น รถตำรวจ
12.     อพปร. ขาดทักษะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบางราย

จุดคัดกรองในโรงพยาบาล
1.        ความกระฉับกระเฉงในการช่วยเหลือ
2.        ช่วงที่มีจำนวนผู้จำนวนมาก เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่เพียงพอ
3.        ทางขึ้นเข็นผู้ป่วยสูงชันทำให้เข็นผู้บาดเจ็บลำบาก
4.        ใช้ริบบิ้นสีติดข้อมือผู้ป่วย ทำให้ไม่มีป้ายติดหมายเลขที่ข้อมือผู้ป่วยที่ตรงกับหมายเลขบัตรอุบัติเหตุ อาจจะทำให้เกิดการสับเปลี่ยนผู้บาดเจ็บได้ถ้ามีผู้บาดเจ็บที่ไม่รู้สึกตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
5.        การคัดกรองผู้บาดเจ็บไม่ครอบคลุมทุก case

พื้นที่สีแดง
1.        มีการจัดสถานที่ clear เตียงให้เป็นพื้นที่ว่างเพื่อรองรับผู้บาดเจ็บได้เป็นอย่างดี
2.        เครื่องมืออุปกรณ์เพียงพอและทันสมัย พยาบาลมีทักษะในการใช้เครื่องมือ
3.        จำนวนบุคลากรเพียงพอ ,การแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน  มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
4.        ระบบประสานงานมีพยาบาล mornitor อยู่ สามารถประสานงานรพ.ในเครือข่ายได้
5.        การบันทึกรายละเอียด บันทึกไม่ครอบคลุม บันทึกไม่ละเอียด
6.        ควรมีการประเมิน V/S , GCS ซ้ำ
7.        การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรเป็นแบบ one way
8.        กรณีที่เจ้าหน้าที่มีเพียงพอและไม่มีผู้บาดเจ็บสีแดงแล้ว หากจุดอื่น ๆ ยังมีผู้บาดเจ็บอยู่ควรแบ่งเจ้าหน้าที่ไป


พื้นที่สีเหลือง
1.        จำนวนบุคลากรเพียงพอ
2.        สถานที่มีความเหมาะสม อุปกรณ์พร้อม
3.        การซักประวัติยังไม่เป็นระบบ ดูวุ่นวาย
4.        ผู้บาดเจ็บอยู่ปนกันไม่มีการแยกเป็นกลุ่ม ( ตรวจแล้ว , รอ film เป็นต้น )
5.        การบันทึกรายละเอียดผู้ป่วยบันทึกได้ดี มีการประสานงานดี
6.        การประสานงานขอความช่วยเหลือจากจุดอื่นเมื่อมีผู้บาดเจ็บมามาก ควรขอความช่วยเหลือจากจุดที่ยังไม่มีผู้บาดเจ็บมา , จุดที่เสร็จสิ้นการรักษา , จุดที่ผู้บาดเจ็บเหลือน้อย

พื้นที่สีเขียว
1.        มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากร แบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.        สถานที่เหมาะสม อุปกรณ์เพียงพอ
3.        ระบบการสั่งการและการประสานงานเป็นระบบ

4.    การบันทึกข้อมูลละเอียด ครบถ้วน

          บรรยากาศของการซ้อมแผนและประชุมสรุปผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยดี สามารถติชมกันได้ เพราะเราต้องการการพัฒนาระบบงานให้ดีขึ้น จึงเป็นการติชมกันแบบกัลยาณมิตร และเพื่อนำเอาข้อแนะนำเหล่านี้ไปปรับปรุงเพื่อการปฏิบัติจริงหากมีเหตุการณ์ รวมทั้งปรับปรุงการซ้อมแผนในครั้งต่อไปในเดือนเมษายน 2549 ก่อนเทศกาลวันสงกรานต์

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 10970เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2005 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังหาตัวอย่างแบบประเมินการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่อยู่อ่ะค่ะ

รบกวนขอดูเป็นแนวทางหน่อยได้มั้ยค่ะ

ร.พ.มีแผนที่จะซ้อม กำลังต้องการข้อมูลอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท