การเพิ่มประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กด้วยการจัดการความรู้


โรงเรียนขนาดเล็ก

การจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก มักจะมีปัญหาโดยเฉพาะระดับประถมศึกษา จากผลการประเมินของสมศ. ทั้งรอบแรกและรอบที่สองจะพบว่าโรงเรียนที่ยังต้องปรับปรุงอยู่มากคือโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก แต่ยังมีโรงเรียนขนาดเล็กบางโรงที่สามารถแก้ปัญหาที่ขาดแคลนได้ และยังสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสมศ. ได้ด้วยการใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management)เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ

   คำถามต่อไป เราจะจัดการความรู้อย่างไรในโรงเรียน  จากการที่ดิฉันศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติ จนได้คำตอบสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก คือ ใช้กระบวนการจัดการความรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) การบ่งชี้และกำหนดเป้าหมาย 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดระบบ จัดเก็บ จัดคลังความรู้ 4) การแลกเปลียนเรียนรู้และถ่ายโอนความรู้ 5) การนำความรู้ไปใช้ และ 6) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความรู้

     โดยเฉพาะการนำโมเดลของ โนนากะและทาเกอูชิ และโมเดลปลาทูของสคส. ของศ.นพ.วิจารณ์ พานิชและอาจารย์ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด มาปรับใช้จะพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กสามารถบริหารจัดการจนเกิดประสิทธิผลในโรงเรียน

ซึ่งต่อมา ดิฉันให้ชื่อโมเดล KM สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กว่า แก้วโมเดล (KAEW 's Model)

 

หมายเลขบันทึก: 109674เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2007 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท