วิจัย กับ ศิลปะ


เวิอร์คชอปการวิจัยทางศิลปะ
คำถามเพื่อต่อยอดความคิดในการอภิปรายเกี่ยวกับการวิจัยทางศิลปะของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2550  

วิจัย กับ ศิลปะ เป็นที่ถกเถียงกันว่า การนำกระบวนการในแนวทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับศิลปะ จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จริงหรือ

 การสร้างงานศิลปะขึ้นมาหนึ่งชิ้น เราจะสามารถวิเคราะห์ จัดระบบ ที่มาที่ไป ได้ครอบคลุมจริงหรือ: ศิลปินคิดมากขนาดนั้นหรือไม่ในขณะสร้างงานขึ้นมา การเอาระเบียบวิธีวิจัยมาใช้กับศิลปะ จะสามารถวิเคราะห์จนได้ผลลัพธ์ คลอบคลุมรอบด้านหรือไม่   

การวิจัย เมื่อนำมาใช้กับศิลปะ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะ โดยเฉพาะในประเทศไทยศิลปะกับวิทยาศาสตร์ถูกมองเป็นขั้วตรงข้าม แบบเหตุผล กับ อารมณ์ความรู้สึก ทั้งที่จริงแล้วอาจจะมีกระบวนการบางส่วนที่คล้ายกันอย่างมาก แม้วิธีหาคำตอบในแบบวิทยาศาสตร์อาจยังไม่สามารถหาคำตอบที่สมบูรณ์รอบด้านเกี่ยวกับศิลปะได้ในทรรศนะของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเองก็ตาม

 

วิจัยจึงกลายเป็นฝันร้ายของนักวิชาการจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นทั้งผู้สอนและผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ อีกจำนวนหนึ่งต้องพยามกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิธีวิจัย แต่เมื่อเอาวิธีวิจัยมาใช้ก็เกิดคำถามตามมามากมาย ว่าผลที่ออกมานั้น เที่ยงตรง เพียงใด ยังเป็นแค่การเก็บข้อมูล ประมวลข้อมูล ทดลองใช้(ในวงแคบ หรือ สมมุติการนำเครื่องมือไปใช้ลงในรายงานแล้วนั่งเทียนคาดเดาความน่าจะเป็น)  

 

คำถามต่อไปคือ ใคร จะเป็นผู้ตัดสินว่าวิจัยในทางศิลปะนั้นมีคุณภาพ หรือไม่  นักวิชาการไทยในฐานะศิลปินผู้กรุยทางขึ้นไปนั่งแท่นได้กลุ่มแรกอย่างนั้นหรือ  นอกจากกลุ่มคนเพียงกระหยิบมือในประเทศแล้วมีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่

 

ในส่วนตัวผู้เขียนเห็นด้วยกับความพยามที่จะส่งเสริมให้เกิดการวิจัยทางศิลปะ เพราะอย่างน้อยที่สุดจะได้เป็นการกระตุ้นการตั้งคำถาม และหาคำตอบ เกี่ยวกับศาสตร์ที่เป็นกึ่งนามธรรมอย่าง ศิลปะ ทั้งยังจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการหาคำตอบด้านศิลปะกับองค์ความรู้อื่น จนเกิดเป็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับศิลปะในมิติที่หลายหลายและลึกซึ้งยิ่งขึ้น  การอธิบายหาเหตุผลความงามและคุณค่าของศิลปะอาจกลายเป็นสิ่งท้าทายยิ่งขึ้น  อีกทั้งหากสามารถมุ่งไปสู่การวิจัยทางศิลปะที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ อย่างการวิจัยเชิงพัฒนา ศิลปะในประเทศไทยก็ไม่ถูกมองว่าเป็นสิ่งเกินจำเป็นอีกต่อไป จะเป็นผลดีโดยตรงกับผู้อยู่ในแวดวงศิลปะทุกแขนง

 

อย่างไรก็ตามอาจจะต้องเริ่มจากการเปิดมุมมองว่า วิจัย จริงจริงแล้วในเบื้องต้นก็คือ การหาคำตอบ และศิลปะก็ไม่ใช่สิ่งซึ่งอธิบายไม่ได้ หรือ ว่าเกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

การเรียนรู้ วิธีวิจัย น่าจะเป็นเครื่องมือ ที่นำไปสู่การหาคำตอบ มากกว่า การพยามทำให้ดูเป็นเรื่องเขย่าขวัญ น่าสะพรึงกลัว

 

วิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ อาจจะเป็นความเหมือนที่แตกต่าง หรือ แตกต่างแต่ก็มีแกนบางส่วนที่เชื่อมกันได้

                                                                                    M.UTAIRAT

Pic Ref: Michael Angelo Cartoon from www.Cartoonstock.com 

หมายเลขบันทึก: 109241เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจนะ ว่าวิชาศิลป....จะวิจัยอย่างไร

อาจวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นไปได้ไหม

เพื่อให้รู้ถึง..แนวคิดถึงศิลปะนั้นๆ

สวัสดีค่ะ

P
สามารถทำได้ทั้งเชิงคุณภาพ รวมไปถึงการวิจัยเชิงพัฒนาด้วยค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการศึกษาอะไร และวิธีการศึกษารูปแบบใดน่าจะเหมาะสมในการหาคำตอบ
ทั้งนี้ประเภทชนิดงานของศิลปะก็มีส่วนในการกำหนดเช่นกัน ว่างานศิลปะนั้นเป็นศิลปะประเภทใด จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะการแสดง ดุริยงคศิลป์ ฯลฯ ก็มีรูปแบบงานที่แตกต่างไป การจะหาคำตอบจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของศิลปะนั้นๆด้วยค่ะ
ขณะนี้ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า การวัดคุณค่า หรือ การศึกษาในรูปแบบวิจัยทางศิลปะนั้น ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือ วัดได้จริงหรือ ที่มีอยู่ล้วนเป็นวิธีการหาคำตอบที่ยังต้องพัฒนาต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท