โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

เบาหวาน


เบาหวานไม่หวานอย่างที่คิด
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้เป็นเบาหวานที่ถูกตัดขา 40,000 คนต่อปี ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดขา รักษาและดูแลแผลในโรงพยาบาลสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และมีแผลที่เท้าซึ่งจำเป็นต้องตัดขา จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1 ล้านบาท



ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคแผลเรื้อรังจากเบาหวาน

การนำนวัตกรรม "สเต็มเซลล์" รักษาแผลผู้ป่วยโรคเบาหวานหายในเวลา 2-3 เดือน เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคแผลเรื้อรังจากเบาหวาน โดยฉีดสเตมเซลล์ อันเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ให้กับผู้ที่เป็นเบาหวานและเป็นแผลที่เท้า เป็นแผลเรื้อรังและรักษาไม่หาย พบว่าแผลที่เท้าที่เป็นอยู่ดีขึ้นมากในเวลาอันรวดเร็วอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะสร้างเนื้อเยื่อของเซลล์และส่วนของเส้นเลือดขึ้นใหม่ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ผลการรักษาแผลเบาหวานโดยใช้สเตมเซลล์ พบว่าจากเดิมแผลของผู้ป่วยขนาดกว้าง 4.5 ซม. มีหนองและอักเสบ แต่เมื่อใช้สเตมเซลล์ฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว 15 วันต่อมา พบว่าแผลดีขึ้นมากและขนาดของแผลค่อยๆ ลดลงจนหายไปได้ในเวลา 2-3 เดือน

ประหยัดค่าใช้จ่าย

การรักษาโรคแผลเรื้อรังจากเบาหวานด้วยสเต็มเซลล์ จะช่วยลดภาวะความพิการและลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 32,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้เป็นเบาหวานที่ถูกตัดขา 40,000 คนต่อปี

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดขา รักษาและดูแลแผลในโรงพยาบาลสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และมีแผลที่เท้าซึ่งจำเป็นต้องตัดขา จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1 ล้านบาท เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการเก็บสเต็มเซลล์และฉีดกลับเพื่อรักษา ค่าใช้จ่ายประมาณ 200,000 บาท การรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 32,000 ล้านบาทต่อปีและผู้เป็นเบาหวานไม่ต้องถูกตัดขา ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


แนวความคิดของวิธีรักษาแบบใหม่

1. ปัจจุบันการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้มากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้รักษาเพื่อให้เกิดเส้นเลือดใหม่ เรียกวิธีรักษาดังกล่าวว่า angiogenesis therapy

2. ในช่วงแรกได้มีการทดลองนำมาใช้กับโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย peripheral vascular disease พบว่าได้ผลดีและเป็นวิธีที่ปลอดภัย

3. ผู้ป่วยได้รับการฉีด recombinant human G-CSF ในขนาด 600 ไมโครกรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน เพื่อกระตุ้น stem/progenitor cells

4. นำเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด PBMNCs มาฉึดเข้าไปในกล้ามเนื้อบริเวณแผลดังกล่าว

5. ติดตามผลการรักษาด้วย laser Doppler blood perfusion และวัดความดันเฉลี่ย mean ankle-brachial pressure

6. ปัจจุบันจึงเกิดเป็นแนวทางการรักษาใหม่ ที่ว่า autologous transplantation of G-CSF-mobilized PBMNCs สามารถนำมาใช้รักษาโรคแผลเรื้อรังจากเบาหวานได้ผลดี เป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย

7. รายงานในวารสารทางการแพทย์ต่างประเทศ พบมีการรักษาด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี 2005 โดยแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนได้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย
คำสำคัญ (Tags): #เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 109035เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท