โรงเรียนที่ไร้เสียงสัญญาณ


"งดใช้สัญญาณ เป็นการพัฒนาคนและชาติ"

      โรงเรียนห้องสอนศึกษา  ได้งดการใช้สัญญาณ(กริ่ง)บอกเวลา ในการเปลี่ยนชั่วโมงเรียน  การเข้าแถว  การรับประทานอาหาร มานานถึง 19 ปี ปีหน้าเราก็จะงดใช้สัญญาณครบ 20 ปีแล้วค่ะ  เพราะจำได้ว่าโครงการนี้เริ่มสมัยที่ตัวเองยังเรียนชั้นมัธยมปลาย  ซึ่งวันหนึ่งท่าน ผอ. ก็ได้บอกว่า  ต่อไปนี้เราจะงดใช้สัญญาณ(กริ่ง)ในโรงเรียน  โดยที่ทุกคนจะต้องดูนาฬิกาเอาเอง  ตอนนั้นคิดว่ามันต้องยุ่งแน่ๆ  สิ่งแรกที่เตรียมคือต้องไปซื้อนาฬิกาข้อมือ  แต่ทางโรงเรียนได้ติดนาฬิกาไว้ที่ห้องเรียนทุกห้องแล้วค่ะ  แต่นาฬิกาข้อมือก็ยังจำเป็นเพราะบางที่ก็ไม่มีนาฬิกาให้ดู  เวลาเข้าแถวตอนเช้าเมื่อใกล้ถึงเวลา 08.00 น  โรงเรียนจะเปิดเพลงมาร์ชของโรงเรียนเป็นสัญญาณว่า ให้ทุกคนเตรียมตัวไปเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมหน้าเสาธง  แต่เมือถึงเวลาเปลี่ยนชั่วโมงทั้งครูและนักเรียนก็จะต้องช่วยกันดูเวลาเอาเอง  โรงเรียนห้องสอนศึกษา  ได้ปฏิบัติเช่นนี้มา 19 ปีแล้ว  วันนี้เลยตั้งใจสืบเสาะหาประวัติที่ไปที่มาของโครงการนี้  จึงได้รับการเล่าเรื่อง"การงดใช้สัญญาณ" จากท่านรองฯวิชัย  จิตสว่าง  ท่านเล่าให้ฟังว่า  ในปี พ.ศ.  2531  ท่าน ผอ. นิคม  เจริญศรี  ท่านได้มีแนวคิดในการงดใช้สัญญาณบอกเวลา  ซึ่งท่านได้ให้ข้อคิดแก่คณะครู นักเรียน นักการภารโรงว่า  "ไก่ที่ออกเสียงขันในยามเช้า  ยามรุ่งสาง  ยังไม่มีใครมาให้สัญญาณกับมัน  ไฉนมนุษย์เราประเสริฐยิ่งกว่าไก่  ควรเตือนตนได้ดีกว่าเป็นแน่แท้"   จากวันนั้นถึงวันนี้เรายังคงใช้แนวปฏิบัตินี้มาอย่างต่อเนื่อง  ทุกคนในโรงเรียนรู้สึกภูมิใจ  การงดใช้สัญญาณในโรงเรียนเราถือว่าเป็นการสร้างนิสัยให้แก่เด็กทุกคน  รวมทั้งบุคลากรในโรงเรียนให้รับผิดชอบช่วยเหลือตนเอง  รู้คุณค่าของเวลา  รู้จักการแบ่งเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดระเบียบวินัย  มีคุณธรรมและตรงต่อเวลา  ส่วนสาเหตุของการงดใช้เสียงนั้นมาจากแนวคิด "ทุกเวลามีค่าต่อชีวิต  ทุกชีวิตจำกัดด้วยเวลา  ทุกเวลามีการเปลี่ยนแปลง  ชีวิตนี้เหลือเวลาน้อยนัก"  นักเีรียนคือทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญยิ่งของประเทศ  โรงเรียนคือสถานที่จุดสว่าง  เป็นสถานที่ที่จะอบรมสั่งสอนเด็กให้เรียนรู้ความเป็นจริงที่ถูกต้องรู้คุณค่าของเวลา (มหาเศรษฐีก็ซื้อเวลาและโอกาสไว้ไม่ได้)  ด้วยธรรมชาติในสังคมเมื่อออกจากโรงเรียนไปแล้วไม่มีใครคอยบอก คอยให้สัญญาณ ความเป็นจริงและแนะนำอะไรมากนัก  ต้องคิดต่อสู้ดิ้นรนหาโอกาสและแก้ปัญหาด้วยความคิดความรู้ประสบการณ์ของตัวเองตลอดเวลา  จึงเป็นการเตรียมเยาวชนให้ออกไปสู่สังคมอีกวิธีหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #erkm edkm
หมายเลขบันทึก: 108982เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอะ เรารุ่นใกล้กันเลยนะครับ ฮ่าๆ ๆ  ยังจำสมัย ผอ.นิคม ได้ เป็นผอ. ที่น่ารักดี บอกกับนักเรียนทุกคนว่า มีอะไรเข้าไปคุยกับครูที่ห้องได้เลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท