แนวทางการแก้ไขในการสนับสนุนให้อาจารย์ประจำได้รับเชิญ/กรรมการวิชาการ/กรรมการวิชาชีพ


แนวทางการสนับสนุนให้อาจารย์ประจำได้รับเชิญ/กรรมการวิชาการ/กรรมการวิชาชีพ

สภาพปัจจุบัน 

1.       จำนวนอาจารย์ที่ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน/กรรมการวิชาการ/กรรมการวิชาชีพในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ มีจำนวนน้อยและซ้ำคน

2.       หน่วยงานภายนอกไม่รับทราบข้อมูลความเชี่ยวชาญของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี อย่างแพร่หลาย

3.       อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ยังไม่เฉพาะเจาะจง

pic

      ภาพเจ้าของ

แนวทางการแก้ไข <p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-indent: -0.25in" class="MsoNormal">1.       จัดทำข้อมูลความเชี่ยวชาญของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  เผยแพร่ลง Website ของวิทยาลัยฯและ Website ของสถาบันพระบรมราชชนก และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน</p> 2.       งานพัฒนาบุคลากรภายในสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ประจำของวิทยาลัยฯไปอบรมเฉพาะทางเพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญของอาจารย์ให้มีมากขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 108890เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมว่า อีกประการหนึ่งก็คือ ตัวของอาจารย์เองก็น่าจะพัฒนาตัวเอง ให้ตรงทิศตรงทาง และพัฒนาความชำนาญเฉพาะเรืองให้เป็นที่ประจักษ์ (ได้รับการยอมรับ) ซึ่งประเด็นนี้ตัวอาจารย์เองก็ต้องพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์ และงานวิจัยในสิ่งที่ตัวเองชำนาญ จึงจะทำให้ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะมีการประชาสัมพันธ์ออกไป

สิ่งที่สำคัญทำอย่างไร ผู้ที่เป็นอาจารย์จึงจะไม่หยุดการพัฒนาตนเอง ..........

ทำวิจัย เป็นวิทยากร สร้างผลงานวิชาการ ไม่หยุดตัวเอง พัฒนาตนเอง ถ้าผู้ทำหน้าที่อาจารย์ทำได้แบบนี้ งาน HRD คงมีกำลังใจ แน่ๆๆเลย กลยุทธ์ไหนดีล่ะคะ ที่ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่อาจารย์ บทบาทหน้าที่เหล่านี้ ครบถ้วน ........ใครรู้วิธีเจ๋ง ๆๆๆช่วยแนะบ้าง

อาจารย์ต้องยอมรับว่าตนเองเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ การสอนหนังสือแค่ในชั่วโมงเรียน แล้วไม่ได้หาประสบการณ์เพิ่มหรือรู้แท้ในเรื่องนั้นๆจริง (รวมถึงไม่มีผลงานวิชาการที่ตรงประเด็นในเรื่องที่ตนเองบอกว่าเชี่ยวชาญ หรือมีผลงานวิจัยแต่เป็นหัวข้ออื่นๆ)ก้อไม่ต่างกับการขายขนมที่ขายได้ครั้งแรกเท่านั้น จากนั้นก็ไม่มีใครซื้อกิน แต่สภาพความจริงของเราคือ ไม่ได้ดูจุดนี้ เรามองการออกไปเป็นวิทยากรคือจุดเริ่มต้น การมองว่ารู้แจ้งหรือไม่เป็นจุดที่สอง บางคนเป็นวิทยากรในเรื่องที่ตนเองยังไม่เคยได้ทำจริงด้วยซำ เพียงแค่เคยอ่าน หรือไปประชุมมา อย่างนี้ก็เสร็จ ขนมนั้นก็จะขายได้ครั้งเดียว ลูกค้าไม่บอกต่อ มีอาจารย์กี่คนที่ลูกค้าเราเขาบอกต่อและได้รับเชิญเรื่อยๆ ลองเอามาวิเคราะห์และให้เป็นต้นแบบการถอดความรู้ออกมาดูดิ แต่อย่างว่า อาจารย์จะรับกันได้หรือไม่นะสิ และนี่คือจุดบอดที่ทำให้วิธีการจัดการความรู้เป็นเพียงแค่ของเล่นที่เล่นครั้งเดียวหรือไม่นานก้อเบื่อแล้ว เพราะไม่ได้เล่นของจริง ด้วยความเกรงจายกันงัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท