ไสยศาสตร์ดีอย่างไร ?


เมื่อเรือแตกกลางทะเล คนทั้งหลายพากันมัวแต่ร้องไห้คร่ำครวญ อ้อนวอนขอให้เทพเจ้าช่วยบ้าง ก็ตายกันหมด แต่มหาชนกเอาเวลาระหว่างนั้นมาใช้สติปัญญาพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โดยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะว่ายนำ จึงรอดมาได้

การสะเดาะเคราะห์เป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความเชื่อถือเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เรื่องไสยศาสตร์  หรือเรื่องอำนาจบันดาล  ซึ่งเวลานี้เเพร่หลายมากในประเทศไทย  เราควรจะวิเคราะห์ดูข้อเสีย

คนที่สะเดาะเคราะห์นั้น  สิ่งที่ได้อย่างหนึ่งคือความสบายใจ  ทำให้เกิดความอุ่นใจขึ้น  หรืออาจจะมีความหวังและคนก็มองว่าการสะเดาะเคราะห์และเรื่องศักดิ์สิทธิหรืออำนาจบันดาลทั้งหมดนี้เป็นเรื่องศาสนา  ก็มีคนพูดว่า  ศาสนานั้นมีความหมายว่าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจช่วยปอลบประโลมจิตใจ  บำรุงขวัญ  มองในแง่นี้ก็เป็นประโยชน์อยู่  แต่ต้องพิจารณาหลายชั้น

เรื่องของไสยศาสตร์และความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารนี้  ทางพระพุทธศาสนาให้มองในแง่ของการปฏิบัติ  คือไม่สนใจว่าจริงหรือไม่จริง  คนทั่วไปมักจะเถียงกันในแง่ว่าจริงหรือไม่จริง  แต่พระพุทธศาสนาสอนในแง่ความเชื่อและการปฏิบัติในเรื่องจำพวกนี้  มีคุณมีโทษอย่างไรมากกว่า  เพราะถ้าเถียงกันว่าจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้จักจบ  และไม่มีใครแพ้ชนะเด็ดขาด  นอกจากนั้นถึงแม้เป็นจริงแต่ถ้าโทษมากกว่าคุณ  ก็ไม่ควรเอาด้วย

ข้อพิจารณาที่สำคัญก็คือมองในแง่คุณและโทษในแง่นี้ทางพระพุทธศสนาให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกลางๆ  คือมองทั้งแง่ดีและแง่เสียทั้งคุณและแง่ของโทษ

ขอยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างเช่นเรื่องพระมหาชนก  เมื่อเรือแตกกลางทะเล  คนทั้งหลายพากันมัวแต่ร้องไห้คร่ำครวญ  อ้อนวอนขอให้เทพเจ้าช่วยบ้าง  ก็ตายกันหมด  แต่มหาชนกเอาเวลาระหว่างนั้นมาใช้สติปัญญาพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โดยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะว่ายนำ  จึงรอดมาได้

วันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับเดี๋ยวว่างๆจะว่ากันถึงเรื่องไสยศาสตร์กันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 108750เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท