IBNUFUAD
อับดุรเราะฮ์มาน ฟูอัด อาลมูฮัมมัดอามีน

รายวิชา ปท 101 ปรัชญาแห่งท้องทุ่ง


เมื่อมาไกล...สังคมเป็นหน่วยที่ไม่จำกัด ขนาด ชนิด จำนวน แต่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์กัน มีความสนใจร่วมกัน และมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน หากเป็นในนิยามและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2548) ได้ให้ความหมายไว้ เมื่อกล่าวถึงสังคม ก็มักจะมองที่สังคมมนุษย์ ที่หมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่มีขอบเจตแน่นอน มีระยะเวลาการอยู่ร่วมกันยาวนานพอสมควร มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยที่นักสังคมวิทยาได้จำแนกสังคมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือสังคมชนบท(Rural Society) และสังคมเมือง (Urban Society)

เมื่อมาไกล            สังคมเป็นหน่วยที่ไม่จำกัด ขนาด ชนิด จำนวน แต่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์กัน มีความสนใจร่วมกัน และมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน หากเป็นในนิยามและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2548) ได้ให้ความหมายไว้ เมื่อกล่าวถึงสังคม ก็มักจะมองที่สังคมมนุษย์ ที่หมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่มีขอบเจตแน่นอน มีระยะเวลาการอยู่ร่วมกันยาวนานพอสมควร มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  โดยที่นักสังคมวิทยาได้จำแนกสังคมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือสังคมชนบท(Rural Society) และสังคมเมือง (Urban Society) และในขณะเดียวกัน สังคมได้ถูกนำมาใช้ในความหมายที่ไม่จำกัดเพียงเฉพาะแก่มนุษย์เท่านั้น และสังคมก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป ไม่จำกัดพื้นที่แน่นอนอย่างเช่นในอดีต แต่ยังคงมุ่งให้ความหมายในเชิงของการอยู่ร่วมกันระยะเวลาหนึ่ง ที่สำคัญคือมีอัตลักษณ์ ของตนเอง มีปฏิสัมพันธ์กัน สนใจร่วมกัน และรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

เมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไม่เพียงกับสมาชิกในสังคมเท่านั้น สังคมเองก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมอื่น เพื่อรับเอา ปรับใช้ วิทยาการต่างๆ ที่แต่ละสังคมสั่งสมมา เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต จึงทำให้สังคมหนึ่งๆมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมแก่การอยู่รอด และรักษาสมาชิกในสังคม โดยที่มีโครงสร้างสถาบันขึ้นมาทำงาน ได้แก่ (1) สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐาน ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม วิถีปฏิบัติ และบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่สมาชิก (2) สถาบันศาสนา ซึ่งมีหน้าที่เป็นหน่วยขัดเกลาและควบคุมทางศีลธรรม ช่วยทำให้สังคมเป็นปึกแผ่น สร้างความเป็นพวกเดียวกัน และ (3) สถาบันการศึกษา ซึ่งทุกสถาบันข้างต้นฝากความหวังไว้  ซึ่งมีบทบาทในการให้ความรู้และพัฒนาบุคคลให้เกิดความจำเริญ ทั้งทางกาย สมอง และสังคม ทำให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข โดยมุ่งขจัดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์(ของผู้เรียน)ให้หมดไป ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน เพื่อให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้น(Facilitator)/ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้แก่เด็กสังคมโลกปัจจุบัน มาไกลเกินกว่าที่นักสังคมวิทยา นักวิชาการที่เขียนหนังสือให้เราเรียนได้เขียนไว้มากแล้ว หากแต่ทำไม? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ? ที่เราจะเป็นผู้พินิจวิเคราะห์ชุมชน สังคม เราแล้ว ทำความเข้าใจ... สถาบันยอดนิยม ที่ทุกสังคมมักให้ความหวัง ก็คือ สถาบันการศึกษา รวมถึงสังคมมุสลิม หากแต่ปัจจุบันหน้าที่ของ 2 สถาบันคร่อมกันอยู่ ก็คือ ระหว่าง สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา ในอดีตสังคมไทยวัดเป็นผู้จัดการศึกษาขึ้นเองก่อน ก่อนที่จะมีการปฏิรูปให้มีสถาบันการศึกษาแยกออกมา และมีหลักสูตรระบุ ซึ่งคล้ายกันกับกรณีของ ปอเนาะต่างกันก็กรณีที่ถือว่าวัดมีสภาพเป็นนิติบุคคล/สาธารณกุศลอยู่แล้ว แต่ปอเนาะที่ดั้งเดิมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของ บาบอ-มามอ ที่ดำเนินการเพื่อหวังภาคผลในหนทางของอัลลอฮฺ จึงจำเป็นต้องแปลงสภาพให้ ปอเนาะ/รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม ดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นมูลนิธิกัน ซึ่งเมื่อ รร.เลิกกิจการ ทรัพย์สิน/กิจการก็จะเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิ และถ้ามูลนิธิเลิกดำเนินการก็จะต้องโอนให้กิจการสาธารณกุศลอื่นๆ

มาถึงปัจจุบัน ก็ยังมีหลายสถาบันเป็นกิจการที่ทางวัดดูแลอยู่ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้จัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ก็เริ่มมี ภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน ให้ความสนใจกับการจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ตลอดถึงสถาบันฝึกอบรมต่างๆ กรณีที่สถาบันศาสนาจัด เราก็พอเบาใจได้ เกี่ยวกับมิติทางคุณธรรมจริยธรรม และพ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้เรียนก็มักตัดสินใจไปเรียนกับสถาบัน คร่อม เหล่านี้ ด้วยเป็นโอกาสในการมีงานทำด้วย จากผลการสำรวจซึ่งเป็นข้อมูลจาก ศอ.บต ประจำปี 2549 ว่า ร้อยละ 70 ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงชั้นที่ 3-4 (ม.1-6) จะอยู่ในสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งจากข้อมูลที่มีก็พอจะเห็นว่าอันที่จริง หากพ่อแม่ผู้ปกครอง และรัฐต้องการหวังผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ก็จำเป็นต้องปฏิรูปทั้งระบบ และควรมีระบบส่งต่อที่ดี สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันให้มาก โดยเฉพาะระหว่างรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่(เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์)เป็นผู้จัดการศึกษาในช่วงชั้น 1-2 (ป.1-6) กับเอกชน ที่ผ่านมารัฐเองก็พร้อมเปิดโอกาสให้เอกชนได้มีโอกาสในการเข้ามาจัดการศึกษาในระดับประถมเช่นกัน หลายโรงเรียน(เอกชน)ในพื้นที่เริ่มขยายไปเปิด ตั้งแต่อนุบาล เพื่อต้องการสร้างมาตรฐาน(ตามเกณฑ์ชี้วัดผลสัมฤทธิ์ ของ สมศ)ให้ดีขึ้น รวมทั้งต้องการเตรียมผลผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ ให้อยู่ในมาตรฐาน ซึ่งเพราะปัญหาความไม่สงบ การเผาโรงเรียนทำให้ นักเรียน(ซึ่งโรงเรียนที่โดนเผาร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นโรงเรียนรัฐ)ได้รับผลกระทบโดยตรง รวมทั้งปัญหาการหวาดกลัวของข้าราชการไทยพุทธ และข้าราชการนอกพื้นที่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาลดลงอย่างเห็นได้ชัดหากย้อนไปคุยกันตรงที่แก้ปัญหาให้เหตุการณ์สงบลง ดูว่าจะเป็นเรื่องที่กินเวลานาน แต่วันนี้เด็กกำลังถูกทำร้าย วันนี้ในพื้นที่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมตลอดถึง พรบ.คุ้มครองเด็ก ได้ถูกกระชากฉีกขาดวิ่น ซึ่งเป็นผลเพิ่มกำลังความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากการปฏิรูปการปกครอง 19 กันยา 49 รวมถึงการที่ รัฐ/คมช.ตามไล่ล่าเช็คบิลทักษิโณมิกส์ สิทธิเด็กไม่เคยมีใครพูดถึงกันอีกต่อไป... ในการสภากาแฟครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ขึ้น และองค์กรอย่างเช่น UNISAF ซึ่งเห็นและรู้สึกเป็นกังวลมาก ก็กำลังเคลื่อนงานอยู่ในพื้นที่ และเรื่องนี้ได้กลายเป็นประเด็นโลกไปโดยปริยาย แต่ก็มีผู้ที่พยายามจะปลอบตนเองว่าจะไม่ทำให้เรื่องสามจังหวัดเป็นประเด็นโลก ด้วยเกรงว่าจะถูกกลุ่มก่อการดึงไปเป็นประเด็นโลก แต่หารู้ไม่ว่าอันที่จริงดินแดนมลายูปตานีที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ถูกยึดเป็นที่มั่นของคณะทำงานเพื่อเด็กตั้งมากมาย ซึ่งรัฐควรทำความเข้าใจว่าอันที่จริง กลุ่มอุดมการณ์เองก็ทำงานโดยให้เหตุผลเพื่อเด็ก เพื่อลูกเพื่อหลาน และก็ทำโดยใช้เด็กมีส่วนร่วม นอกจากนั้นก็ยังมีองค์กรเอกชน อย่างของไทยก็มีอย่างเครือข่ายครอบครัว กลุ่มเยาวชนจิตอาสา(ซึ่งเป็นผลจากการทำงานของเครือข่ายครอบครัว โดย คุณโสภณ สุภาพงษ์) ฯลฯ ต่างชาติ ก็มีอย่างมูลนิธิเอเชีย(The Asia Foundation) ตลอดจนองค์กรอื่นๆอีกมากมาย ไม่นับรวมพวกที่เคลื่อนงาน เพื่อสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เช่น TCMD (Thailand Center for Muslim Democracy and Development) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหลากหลายแหล่ง ที่ให้ความสนใจประเด็น นิติธรรม ประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม เป็นต้น และโรงเรียนเอกชนต่างๆ  ซึ่งอันที่จริงก็คือ องค์กรเอกชนที่มุ่งพัฒนาเยาวชน และมักมีผู้กล่าวถึงอยู่บ่อยๆถึงผู้ทำงานหาข่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกเรียกกันว่า “CIA” (Chief Intelligent Agencies) ที่ทำงานเชิงการเก็บข้อมูล ที่มักถูกมองว่าเป็นการเข้ามาแทรกแซง การเมืองภายในประเทศ ตลอดจนอาจมีการใช้อภิสิทธิ์ ในการนำการเปลี่ยนแปลงด้วยอำนาจภายในรัฐอื่นแบบไม่เกรงใจ จึงทำให้ฐานะของรัฐบาลเจ้าของพื้นที่ไม่เป็นที่พอใจอยู่บ่อยๆครั้ง แม้จุดประสงค์ของซีไอเอ กับผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agencies หรือ CA) ทีเราจะพูดถึงมันจะไม่เกี่ยวกัน แต่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของโครงการพัฒนาต่างๆ ในหลากหลายพื้นที่ มักถูกเป็นเป้ามองว่าเป็น ซีไอเอ และก็ถูกอคติมากๆในยุคๆหนึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะ ต่างก็ทำงานโดยการใช้กระบวนการ และมวลชน รวมทั้งต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ซึ่งวิธีการอาจใกล้เคียงกัน อีกทั้งวิธีการที่ใช้ก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คุ้นเคย

ไกลกว่าที่จะย้อนกลับไปเริ่มที่จุดเริ่มต้นได้ บางทีเราก็ต้องรู้จักที่จะมองอะไรแง่บวกไว้บ้าง แน่นอนว่าอันที่จริงจะนักวิจัย ซีไอเอ หรือเช้นเอเจ้นท์(CA)ต่างก็มีจรรยาบรรณในอาชีพ และมีระเบียบวิธีในการทำงานของเขา ก็พอจะมีพวกที่แตกแถว อาจนำความโกรธเคือง/อคติต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพตามมา แน่นอนที่มองกันว่า ซีไอเอ ก็มีบทบาทในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งถ้าเราดูหนังตะวันตกกันอยู่บ้างก็พอจะรู้ว่า กว่าจะมาเป็นซีไอเอได้ต้องถูกฝึกเป็นอย่างดี ทั้งในเชิงรบ และเชิงการหาข่าว อาจรวมไปว่าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่ง หรืออาจจะนับว่าเป็นการวิจัยและพัฒนา แต่หากผลของการพัฒนาที่ตามมาในภายหลัง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้ที่ทำงาน เป็นไปโดยลักษณะที่ไม่ยอมรับวิถีชาวบ้านแล้วละก็ อาจไม่ได้รับความร่วมมือมากนัก และสำคัญที่การนำการเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามความต้องการของพื้นที่ก็จะถูกกระแสกดดัน และเกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่า ผลัก ข่าวสาร นวัตกรรม และรูปแบบของการพัฒนานั้นๆไป แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะถาวร เช่นนั้นเสมอไป เมื่อเวลาผ่านไปรุ่นลูกลูกหลานอๆอาจจะยอมรับก็ได้ ฉะนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องอดทน อดกลั้น รวมทั้งจะต้องมีจรรยาบรรณในการทำงาน เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลเพียงพอ(แก่ความต้องการ)แล้ว ก็สามารถตัดสินใจได้ และเนื่องจากมนุษย์มีหลายจำพวก ข้อจำกัดในการรับรู้ข้อมูลก็แตกต่างกันไปด้วย แต่ขั้นสุดท้ายมนุษย์ทุกคนต่างๆก็มีการตัดสินใจ โดยแสดงออกในลักษณะการยอมรับ ไม่ยอมรับ เพิกเฉย ฯลฯ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวาระและโอกาส ที่สำคัญถ้าหวังผลการนำการเปลี่ยนแปลง (หรือในนามของการพัฒนา) ควรที่จะต้องพูดถึงทุกๆกรณี ทั้งด้านบวกและด้านลบ ข้อดีและข้อเสีย แล้วให้เขาได้มีโอกาสตัดสินใจ ถ้าไม่พอก็ต้องสามารถให้เพิ่มได้ แต่ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เลือกใช้วิธีนำโดยอำนาจ ก็อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนบ้างในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิด และความเป็นมา ก็อาจนำไปสู่การเข้าใจผิดภาครัฐได้ง่ายมากขึ้นตามไปด้วย...เมื่อถึงบรรทัดนี้แล้วลองคิดย้อนกลับไปที่บรรทัดแรกๆดูว่า ท่านผู้อ่านทุกท่าน รู้สึกได้ไหม ถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเอง(เวลาที่อ่านคอลัมน์) ด้านร่างกาย อารมณ์ เชื่อว่าคงมีบางท่านอ่านไปส่ายหัวไป บางท่านก็พยักหน้าบ้าง (จนคนข้างๆเกิดสงสัยว่ากำลังอ่านอะไรอยู่) ท่านมีการจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นของท่านอย่างไรบ้างครับ ท่านที่ไม่เห็นด้วยครับ ท่านกรุณาเขียนความรู้สึก ความคิดเห็น หรือไอเดียอื่นใดของท่านที่มี มาเถิดครับ....เจตนาของรายวิชา ปท 101 ก็เพื่อกู้ความคิดของท่าน คืนมาให้เข้าใจ เห็นใจกัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร นับถือศาสนาใด จะซุนนีย์ หรือชีอะห์ และทำงานอยู่กระทรวงใด กรมไหน บริษัทใด สถาบันไหนๆ ในสายงานเกี่ยวกับอะไร ??? เป็นรายวิชาที่สังคมมุสลิมควรเรียนรู้มากๆ...เรียนรู้เพื่อยอมรับเพื่อนที่คิดเห็นต่างกับเรา มีจรรยาบรรณในการแสดงความคิดเห็น  

หมายเหตุ         บทความเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับทัศนะของหนังสือพิมพ์กัมปง ผู้บริหาร และคณะครูท่านอื่นๆของโรงเรียน

 เอกสารอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 2548. วิถีไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. หน้า 15

ตีพิมพ์อยู่ใน     หนังสือพิมพ์กัมปง (ฉบับ 45-47-2550)    

เปิดรับข้อคิดเห็น-ต่างมุมมอง ทางไปรษณีย์ส่งถึง  พิมาน แม้นมินทร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา หะยีนิเซาะ อาเก็บอุไร-บำเพ็ญ กรือเซะ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000หรือส่งทางอีเมล์ [email protected]

หมายเลขบันทึก: 108684เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท