การแก้ปัญหาความไม่รับผิดชอบ โดยการกำกับ ติดตาม ดูแลช่วยเหลืออย่าง ใกล้ชิด


การแก้ปัญหาความไม่รับผิดชอบ โดยการกำกับ ติดตาม ดูแลช่วยเหลืออย่าง ใกล้ชิด

กระบวนการทำงานที่เป็นเลิศ(Best  Practice)เรื่อง   การแก้ปัญหาความไม่รับผิดชอบ  โดยการกำกับ  ติดตาม  ดูแลช่วยเหลืออย่าง  ใกล้ชิดจัดทำโดยนางปิยาพัชร์  ยังมี  ตำแหน่ง  ครูชำนาญการ

โรงเรียนสวายวิทยาคารตำบลสวาย  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  1   

1.       บทนำจากการที่ผู้วิจัยเป็นครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/4  ได้ประสบปัญหาที่นักเรียนทั้ง  3  คนไม่ทำความสะอาดบริเวณ  เข้าแถวบ้าง ไม่มาบ้างทั้งตอนเช้าและตอนบ่าย  และไม่เข้าเรียนโดยเฉพาะชั่วโมงที่  1  และชั่วโมงที่  3  ปัญหานักเรียนที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่  เช่น  มาโรงเรียนสาย  ไม่ทันเข้าแถว  และหนีเรียนบ่อยมาก  มีผลทำให้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ผลการเรียน  มส   หลายวิชา  จำนวน  3  คน  ซึ่งผู้วิจัยพยามยามที่จะแก้ไขปัญหาความไม่รับผิดชอบของนักเรียนทั้ง  3  คน  ซึ่งบางครั้งผู้ปกครองจะโทรศัพท์มาถามว่าลูกเข้าเรียนหรือหนีเรียนบ้างไหม  ครูที่ปรึกษาจึงคิดหาวิธีที่จะแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนทั้ง  3  คนให้ดีขึ้น  โดยการกำกับ  ติดตาม  ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด   ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง  เช่น  การเข้าแถวหน้าเสาธง  การทำความความสะอาดบริเวณ  และการเข้าเรียน2.       ผลสำเร็จ1.       นักเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้น  เช่น  มาโรงเรียนแต่เช้าช่วยทำความสะอาดบริเวณ  เข้าแถวหน้าเสาธง  และไม่หนีเรียน2.       ผลการเรียนไม่มี  มส  เพราะเข้าเรียนทุกครั้ง3.       ผู้ปกครองไม่ต้องเสียเวลาติดตามพฤติกรรมของลูก3.       ผลการได้รับการยอมรับนักเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้น  ไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนเหมือนเมื่อก่อน  บางครั้งผู้วิจัยก็ให้การเสริมแรงโดยการให้ขวัญและกำลังใจนักเรียนทุกครั้งที่มาร่วมกิจกรรม  จากการสอบถามนักเรียนและการสังเกตนักเรียนทั้ง  3  คน  นักเรียนพึงพอใจ  เพราะว่าไม่ถูกว่ากล่าวตักเตือนจากครูที่ปรึกษา  ครูประจำวิชา  เพื่อน ๆ ก็ให้กำลังใจ  พึงพอใจทั้งผู้วิจัยและผู้รับการวิจัย4.       กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนที่สำคัญแนวทางการกำกับ  ติดตาม  ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด                1.  นำนักเรียนทั้ง  3  คนมาพูดคุย  สอบถามสาเหตุ  การมาสาย  การไม่เข้าเรียน                2.  ขอความเห็นจากนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่                3.  ทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งจะไม่หนีเรียนด้วย4.  ครูที่ปรึกษาบันทึกพฤติกรรมนักเรียนการมาร่วมกิจกรรม  โดยใช้แบบสำรวจ                5.  ให้หัวหน้าห้องสำรวจการเข้าเรียนในแต่ละวัน  โดยใช้แบบสำรวจ                6.  เก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลการมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนชายทั้ง  3  คน                7.  ให้ขวัญและกำลังใจนักเรียนทุกครั้งที่มาร่วมกิจกรรม                 8.  สอบถามความรู้สึกของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม  เช่น  การมาทำความสะอาดบริเวณ     การมาเข้าแถว  และการเข้าเรียนโดยการสัมภาษณ์วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล           ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและให้หัวหน้าห้องช่วยสำรวจการเข้าเรียน  โดยใช้แบบ สำรวจ  แบบบันทึกการสอบถามนักเรียน  ข้อตกลง  คำมั่นสัญญา  ในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่  เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/4  โรงเรียนสวายวิทยาคาร  ตำบลสวาย  อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  จำนวน  3  คน คำสำคัญ(Keywords)                การแก้ปัญหาความไม่รับผิดชอบ 
หมายเลขบันทึก: 108592เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท